การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่าง ๆ

1. Routine laboratory tests

  • การตรวจความสมบูรญ์ของเลือด CBC พบว่าผู้ป่วยมโลหิตจางเซลล์เม็ดแดงมีขนาดเล็ก( MCV มีขนาดเล็ก) บ่งว่าผู้ป่วยอาจมีขาดธาตุเหล็ก iron deficiency anemia จากโรคกระเพาะอาหาร หรือเนื้องอก หรือมะเร็งในทางเดินอาหาร
  • การตรวจอุจจาระอาจพบพยาธิ์ parasite ที่ทำให้เกิดอาการของ dyspepsia เช่นพยาธิ์ไส้เดือนตัวกลม ascaris, strong yloides, หรือ giardia lambia ส่วนการตรวจอุจจาระแล้วพบว่ามเลือดี occult blood เป็นบวก บ่งว่าผู้ป่วยอาจมีโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการหาสาเหตุของอาการ dyspepsia ่

  1. ตรวจระดับ Calcium ในเลือด การมแคลเซี่ยมในเลือดสูงี hypercalcemia สามารถทำให้เกิดอาการอาการอาหารไม่ย่อย dyspepsia ได้เนื่องจากผู้ป่วย hypercalcemia มีโอกาสเกิด peptic ulcer ได้มากกว่าคนทั่วไป หรือเกิดแน่นท้อง dyspepsia จาก การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากการมี hypercalcemia แต่ในทางปฏิบัติพบว่าภาวะ hypercalcemia พบได้น้อยมากในผู้ป่วยแน่นท้อง dyspepsia การตรวจหาระดับ Ca+ ในผู้ป้วยป่วยทุกรายอาจจะไม่คุ้มค่า
  2. ตรวจการทำงานของตับ Liver function tests การตรวจพบว่า bilirubin, SGOT, SGPT, หรือ AP มีระดับสูงกว่าปกติ บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีความผิดปกติของตับ หรือทางเดินน้ำดี เช่น นิ่วในท่อน้ำดีCBD stone, หรือมีก้อนที่ตับ ซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการที่คล้ายกับอาการอาหารไม่ย่อย dyspepsia ได้
  3. ความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ ทั้งต่อมไทรอยด์เป็นพิษ hyperthyroid หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย hypothyroid สามารถทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยdyspepsia ได้โดยเฉพาะผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษ hyperthyroid มักมาพบแพทย์บ่อย ๆ ด้วยอาการของอาหารไม่ย่อย dyspepsia และน้ำหนักลด ดังนั้นในกรณีที่สงสัยควรส่งตรวจดูการทำงานของต่อมไธรอยด์
  4. ผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง chronic pancreatitis,เนื้องอกตับอ่อน pancreatic tumor, sphincter of oddi dysfunction, โรคกระเพาะที่มีโรคแทรกซ้อน สามารถมีระดับของ amylase และ lipase ในเลือดสูงขึ้นร่วมกับอาการอาหารไม่ย่อย dyspepsia ได้ ดังนั้นการเจาะตรวจ serum amylase หรือ lipase ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว
  5. การทดสอบการตั้งครรภ์Pregnancy test ในผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย dyspepsia เป็นมาไม่นาน ควรนึกถึงการตั้งครรภ์เสมอ ในกรณีที่สงสัยควรส่งตรวจตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ pregnancy test
  6. การตรวจBreath test Hydrogen breath test มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อ H pylori ในกระเพาะ
  7. ผู้ที่มีการดูดซึม lactose หรือ fructose ผิดปกติ อาจมาด้วยอาการของอาหารไม่ย่อย dyspepsia ได้โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นท้อง bloating เป็นอาการเด่น

การตรวจทางรังสีวิทยา

  1. การกลืนแป้งตรวจกระเพาะอาหาร Barium UGI study มีความไวน้อยกว่าการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร endoscopy ในการตรวจหาแผลในทางเดินอาหารส่วนบน การตรวจโดยการทำ barium stustudy ไม่สามารถนำชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยาได้ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันจึงถือว่าการทำส่องกล้อง เป็นการตรวจมาตรฐานในการวินิจฉัย peptic ulcer (PU) ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอาหารไม่ย่อย dyspepsia
  2. สวนสีดูลำไส้ใหญ่หรือ Barium enema หรือการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ colonoscopy เพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะผู้ป่วยมะเร็งของลำไส้ใหญ่บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นท้องอาหารไม่ย่อย dyspepsia โดยเฉพาะมะเร็งของ ลำไส้ใหญ่ด้านขวา หรือบริเวณส่วนกลางของลำไส้ใหญ่ การทำ barium enema หรือ colonoscopy สามารถช่วยในการวินิจฉัยภาวะนี้ได้
  3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงส่วนบนของท้อง Ultrasound of upper abdomem บางครั้งการมีก้อนในตับอาจทำให้เกิดอาการอึดอัดแน่นท้องคล้ายอาการอาหารไม่ย่อย การทำ ultrasound สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยนี้ได้ ส่วนการพบนิ่วในถุงน้ำดีในผู้ป่วย ที่มีอาการของ dyspepsia บ่งว่าแพทย์ควรทำการประเมินอาการของผู้ป่วยใหม่ว่าเป็นปวดท้องจากท่อน้ำดีบีบตัว biliary colic หรือไม่ โดยประวัติที่จะช่วยแยกได้มากคือความรุนแรงของอาการปวดท้องและลักษณะของอาการปวดท้อง ผู้ป่วย biliary colic มักปวดรุนแรง และอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน โดยบางวันอาจปวดมากแต่บางวันไม่มีอาการเลย ส่วน dyspepsia มักปวดท้องไม่รุนแรงและอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ แบบเป็นช่วงๆ คือช่วงที่มีอาการมักเป็นติดต่อกันหลายวัน และเมื่ออาการดีขึ้นมักดีขึ้นเป็นระยะเวลานานหลายวันเช่นกัน
  4. การตรวจ CT scan ในผู้ป่วยสูงอายุที่มาด้วยอาการของอาหารไม่ย่อย dyspepsia และมสัญญาณเตือน เช่น น้ำหนักลด, ซีด, ปวดท้องมาก, แต่การตรวจโดยวิธีอื่น เช่น การส่องกล้องแล้วไม่พบความผิดปกติ การทำ CT scan ของช่องท้องสามารถช่วยวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่างที่เป็นสาเหตุของอาการผู้ป่วยได้

การตรวจกรดในหลอดอาหาร24 hr esophageal pH monitoring

ผู้ป่วย dyspepsia จำนวนหนึ่งจะมีอาการของ GERD  ร่วมด้วย ซึ่งเรามักเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า reflux like dyspepsia ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่เป็น GERD แม้ว่าผู้ป่วย reflux like dyspepsia จะตอบสนองดีต่อการให้ยาลดกรด (2 ใน 3 ของผู้ป่วยอาการดีขึ้นเมื่อได้ยาลดกรด) แต่ก็พบว่าผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย แม้อาการจะดีขึ้นแต่ก็ไม่หายสนิท หรือในบางรายอาการไม่ดีขึ้นเลย ซึ่งถ้าผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็น GERD จริง อาจจำเป็นที่จะต้องได้รับยาลดกรดขนาดสูงขึ้น ในกรณีที่แพทย์ไม่ทราบการวินิจฉัย อาจจะไม่มีความมั่นใจในการปรับยา หรือให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย การมำ 24 hr pH monitoring สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัย และช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยมั่นใจในแนวทางการรักษาภาวะ GERD ซึ่งมักเป็นเรื้อรังนี้มากขึ้น
ในปัจจุบันการตรวจ 24 hr esophageal pH monitoring ถือเป็นการตรวจมาตรฐานในการวินิจฉัย GERD ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในรายที่ไม่แน่ใจในการวินิจฉัย และเพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยาลดกรดในบางราย เช่น รายที่ทราบการวินิจฉัยว่าเป็น GERD แล้ว แต่ผู้ป่วยได้ยาลดกรดในขนาดสูง แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือในรายที่มีภาวะ Barrett’s esophagus ซึ่งมีความจำเป็นในการประเมินว่ายาที่ให้เพียงพอในการลดกรดหรือไม่



การส่องกล้องตรวจภายในทางเดินอาหารส่วนบน  (upper endoscopy)

การส่องกล้องดูภายในทางเดินอาหารส่วนบน ถือเป็นการตรวจมาตรฐานในการตรวจหาความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนบนในผู้ป่วยแน่ท้องอาหารไม่ย่อย dyspepsia เนื่องจากมีความแม่นยำสูง และในกรณีที่จำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา ก็สามารถที่จะทำได้โดยมีความแม่นยำสูงมากในการวินิจฉัยโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น, หลอดอาหารอักเสบ (erosive esophagitis), และภาวะ Barrett’s esophagus รวมทั้งมะเร็งภายในทางเดินอาหารส่วนต้น
ดังนั้นผู้ป่วย dyspepsia ทุกรายที่มลักษณะดังต่อไปนี้ ควรได้รับการส่องกล้องตรวจดู

  1. มีสัญญาณอันตราย ได้แก่
  • กลืนลำบาก
  • มีประวัติอาเจียนเป็นเลือด,ถ่ายอุจจาระสีดำ หรือมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
  • น้ำหนักลดโดยไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้
  • อาเจียนต่อเนื่อง
  1. อายุเมื่อเริ่มมีอาการมากกว่า55ปีขึ้นไป และไม่มีประวัติให้สงสัยว่ายาหรืออาหารอาจเป็นสาเหตุ เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารจะสูงขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น
  2. ผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่มีสัญญาณอันตรายแต่อาการไม่ดีขึ้นหรือกลับเป็นซ้ำบ่อยๆหลังได้รับการรักษาด้วยยาแบบครอบคลุม ควรพิจารณารับการส่องกล้อง
  3. ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ที่มีอาการ dyspepsia มาไม่นาน และไม่เคยเป็นมาก่อนควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้อง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งภายในกระเพาะอาหารมากขึ้น
  4. นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีความกังวล หรือกลัวว่าจะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก การส่องกล้องก็เป็นการตรวจที่สามารถช่วยยืนยันให้ผู้ป่วยคลายความกังวลดังกล่าว

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อตกลงแน่นอนถึงแนวทางในการส่องกล้องผู้ป่วย dyspepsia ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ที่ไม่มี alarm feature ซึ่งมีแนวทางในการดูแลได้ 3 แนวทางคือ

  1. ให้การรักษาไปก่อนEmpiric antisecretory therapy
  2. ตรวจหาเชื้อ H.pylori
  3. ให้ส่องกล้องตรวจ Early endoscopy

1.ให้การรักษาไปก่อน Empiric antisecretory therapy

การให้ยาลดกรด เช่น H2 blocker หรือ PPI ในการรักษาผู้ป่วยอาการอาหารไม่ย่อยโดยที่ไม่ได้ตรวจหาสาเหตุ พบว่าสามารถลดอาการของผู้ป่วยได้ดี ผู้ป่วยแน่นท้อง dyspepsia ที่ตอบสนองดีต่อยาลดกรดมักจะได้แก่ผู้ป่วยที่เป็นแผลที่กระเพาะ peptic ulcer, GERD ข้อเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้คือผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะที่เกิดจากเชื้อ H pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะจะไม่ได้รับการรักษาที่ต้นเหตุ

2. ตรวจหาเชื้อTest and treat for H. pylori

เชื้อ H. pylori สัมพันธ์กับการเกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นและแผลที่กระเพาะมากกว่า 80% และ 50% พบว่าการรักษา H. pylori infection ในผู้ป่วย dyspepsia ที่ยังไม่เคยสืบค้นหาสาเหตุมาก่อนสามารถลดอัตราการส่องกล้อง และอาการในผู้ป่วย dyspepsia ลงได้

3.การส่องกล้อง Early endoscopy

การส่องกล้องตรวจภายในทางเดินอาหารเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูง และมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ ซึ่งถือเป็นการตรวจมาตรฐานในการตรวจหาความผิดปกติภายในทางเดินอาหารส่วนบน สามารถวินิจฉัยสาเหตุของอาหารไม่ย่อย dyspepsia เช่นโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน และมะเร็ง

การวินิจฉัย การรักษา