อาการและการรักษาไขมันพอกตับ

 

อาการของไขมันพอกตับ

อาการของไขมันพอกตับทั้ง NAFLD และ NASH จะเหมือนกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาจจะมีอาการปวดแน่นชายโครงข้างขวาค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนั้นอาจจะพบว่าเป็นเบาหวาน อ้วน ไขมันในเลือดสูง แต่เมื่อกลายเป็น ตับแข็งก็จะเกิดอาการของตับแข็ง อาการทั่วไปมีดังนี้ดีซ่าน

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับทำได้อย่างไร

ส่วนใหญ่พบโดยบังเอิญเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีค่า SGPT, SGOT สูงโดยที่ค่าอื่นปกติ และเจาะเลือดตรวจไม่พบหลักฐานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือมีประวัติการดื่มสุรา ประวัติการใช้ยาอย่างต่อเนื่องของยากลุ่ม prednisone, amiodarone (Cordarone), tamoxifen (Nolvadex), methotrexate (Rheumatrex, Trexall), and nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS) การตรวจ ultrasound ก็จะช่วยในการวินิจฉัย



สรุปการวินิจฉัยไขมันเกาะตับต้องประกอบไปด้วย

  1. มีอาการหรืออาการแสดงว่าเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น อ้วนโดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ,รอบเอวมากกว่า90 เซนติเมตร ในชาย80 เซนติเมตรในหญิง, triglyceride >150 mg%,ความดันโลหิตสูงมากกว่า130/85 มิลิเมตรปรอท HDL,40,50 ในชายและหญิง
  2. การตรวจการทำงานของตับพบว่าค่า SGOT,SGPT สูง
  3. ตรวจ ultrasound CT Scan MRI พบว่ามีไขมันเกาะที่ตับ
  4. ต้องแยกโรคอื่นเช่นตับอักเสบบี สุรา ยา
  5. การเจาะตับเพื่อการวินิจฉัยยังไม่เป็นที่ตกลงว่าสมควรจะทำเมื่อใดเพราะการรักษายังไม่มียาเฉพาะ

การรักษาไขมันพอกตับ

  • การควบคุมน้ำหนักให้เข้าสู่เกณฑ์ปกติ
  • การออกกำลังกาย
  • การรักษาไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา

การใช้ยารักษา

จนถึงปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ผลดีจริงแพทย์จะรักษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ เช่นการออกกำลังกาย การควบคุมอาหารสำหรับคนอ้วน แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ

เท่าที่มีการทดลองและพอจะได้ผลดีได้แก่

  • ยาที่เพิ่มความไวต่ออินซูลิน Insulin-sensitizing agents, เช่น pioglitazone และ rosiglitazone (Avandia), และ metformin (Glucophage)
  • Anti-TNFa agents , such as infliximab (Remicade)
  • ยาเพิ่มการไหลเวียนของเลือด such as pentoxifylline (Trental)
  • ยาต้านอนุมูลอิสระ, เช่น vitamin E ในทางทฤษฎีน่าจะช่วยได้แต่ต้องมีการวิจัยเพิ่ม แต่ผลเสียของการรับวิตามินคือมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก, betaine, and s-adenosylmethionine (SAMe).
  • มีการศึกษาว่าผู้ที่ดื่มกาแฟน้อยหรือไม่ดื่มจะเป็นไขมันพอกตับสูงกว่าผู้ที่ดื่ม สำหรับผู้ที่ไม่ดื่มไม่แนะนำให้ดื่ม

การรักษาทั่วๆไป

การป้องกันภาวะไขมันพอกตับ

  • การดื่มสุรามากจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ทาง CDC จึงแนะนำว่าผู้ชายไม่ควรจะดื่มสุราเกิน 2 หน่วยสุรา ผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 หน่วยสุรา
  • ออกกำลังกายวันละ 30นาที
  • รักษาเบาหวานเพื่อควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
  • รักษาภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ลดน้ำหนัก โดยการลดพลังงานอาหารที่เรารับประทาน โดยควบคุมให้มีดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง18-23 การคำนวณดัชนีมวลกาย
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพิ่มผัก ผลไม้ และธัญพืชครบส่วน
  • หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อตับ

ผู้ป่วยที่มีไขมันเกาะตับควรทานอะไรบ้าง?

อาหารที่ควรทาน:

  • อาหารที่มีไขมันต่ำ: เน้นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ขาว ถั่ว เต้าหู้
  • อาหารที่มีกากใยสูง: ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง
  • อาหารที่มีไขมันดี: น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วต่างๆ
  • อาหารต้านอนุมูลอิสระ: ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ชาเขียว

ตัวอย่างอาหารที่ควรทาน:

  • ข้าวกล้อง
  • อกไก่ไม่ติดมัน
  • ปลานึ่ง
  • ไข่ต้ม
  • ต้มยำกุ้ง
  • แกงจืดเต้าหู้
  • ผัดผักต่างๆ
  • ผลไม้ เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล กล้วย

ผู้ป่วยที่มีไขมันเกาะตับควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง?

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง:

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง: เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เนย ชีส กะทิ
  • อาหารที่มีไขมันทรานส์: อาหารทอด อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง: น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมหวาน
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง: อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง

ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง:

  • หมูสามชั้น
  • ไก่ทอด
  • ขนมขบเคี้ยว
  • น้ำอัดลม
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • อาหารหมักดอง

ผู้ป่วยที่มีไขมันเกาะตับควรควรงดอาหารอะไรบ้าง?

อาหารที่ควรควรงด:

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักของโรคตับแข็ง ควรเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
  • อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง: ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ควรจำกัดปริมาณการทาน

ข้อควรระวัง:

  • ผู้ป่วยที่มีไขมันเกาะตับควรปรึกษาแพทย์หรือโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม
  • ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดน้ำหนักและควบคุมระดับไขมันในเลือด
ไขมันพอกตับ  

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน