หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

หลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน: อาการ สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน Gastro-esophageal reflux disease

คำจำกัดความ

กรดไหลย้อน Gastro-oesophageal reflux disease (GERD) หมายถึง อาการ และ/หรืออาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการไหลย้อนของกรดในกระเพาะขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร จนถึงการเกิด Barrett’s oesophagus

อาการของกรดไหลย้อน GERD

อาการหลาย ๆ อย่างพบในผู้ป่วย GERD มากกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ อาการเหล่านี้เกิดจากการมีกรดไหลย้อนเพราะเมื่อได้ยากดการหลังกรดแล้วอาการดีขึ้น อาการที่จัดว่าเป็นอาการของGERD มีดังนี้

จุกหน้าอก Heartburn:

เป็นความรู้สึกแสบ อึดอัดแน่น หรือปวด ที่บริเวณหน้าอก หรือใต้กระดูกหน้าอก เป็นมากหลังรับประทานอาหาร เวลานอนหงาย หรือเวลาก้มตัวไปข้างหน้า เป็นอาการที่พบบ่อย อาการนี้พบเกิดทุกวันร้อยละ 4-9 ของคนทั่ว ๆ ไป หรือเกิดทุกสัปดาห์ร้อยละ 20

เรอเปรี้ยว Regurgitation:

ผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนบ่นเรื่องมีกรดจากกระเพาะไหลย้อนออกมาในลำดับคอโดยไม่ต้องใช้แรงขย้อนออกมา มีเรอเปรี้ยว ซึ่งอาการนี้แยกออกจากการอาเจียน

กลืนลำบาก Dysphagia:

อาการของGERD อาจมีอาการรู้สึกมีอาการติดอยู่ที่หน้าอกได้บ่อย ผู้ป่วยGERD ที่มีอาการกลืนอาหารลำบากมักเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งเกิดจากการมีการเกร็งของหลอดอาหาร เนื่องจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา ถ้าอาการเกิดตลอดเวลาหรือเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจแสดงถึงอาการแทรกซ้อนซึ่งได้แก่ peptic stricture หรือเป็นมะเร็งหลอดอาหาร

เจ็บเวลากลืน Odynophagia:

เป็นอาการเจ็บบริเวณกลางหน้าอกเวลากลืนอาหาร ผู้ป่วยมักจะอธิบายว่ามีอาการเวลากลืนอาหารหรือรับประทานน้ำร้อนแล้วรู้สึกเจ็บหรืออึดอัด บริเวณหน้าอกลงไปถึงยอดอกในช่องท้อง

น้ำลายสอ:

เป็นอาการที่รู้สึกว่ามีน้ำลายมากในปากและคอจากการที่มีกรดไหลย้อน ผู้ป่วยอาจสับสนว่ากรดที่ไหลย้อนขึ้นมาเป็นน้ำลายในปาก ซึ่งถ้าเป็นน้ำลายในปากจะไม่มีรสขมของกรด และเป็นน้ำที่อยู่ในปาก ไม่ขมเหมือนกับกรดที่ไหลออกมาจากหลอดอาหารด้านล่าง

ข้อเท็จจริง อาการใดอาการหนึ่งของกรดไหลย้อนไม่ค่อยมีความไว ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่มีพยาธิสภาพที่รุนแรง เช่น มีการอักเสบรุนแรงหรือมี Barrett’s oesophagus อาจมีอาการน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้ ดังนั้นในทางคลินิกผู้ที่ไม่มีอาการของกรดไหลย้อนไม่สามารถบอกได้ว่าไม่ได้เป็นโรคนี้

Extraesophageal Manifestation of GERD

Gastroesophageal reflux disease (GERD) คือการที่มีกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารแล้วทำให้เกิดอาการ หรือความผิดปกติของเยื่อบุผิวของหลอดอาหาร คอหอย หรือทางเดินหายใจส่วนบนตามมา ในคนปกติหลังรับประทานอาหารจะมีโอกาสเกิดภาวะดังกล่าวได้ประมาณ 1-4 ครั้ง โดยไม่ทำให้เกิดอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่ในผู้ป่วย พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดเนื่องจากหลายปัจจัย ได้แก่



ภาวะกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร สามารถให้อาการทางคลินิกได้หลากหลายรูปแบบ โดยอาจพบได้ในคนปกติ จัดเป็นลักษณะปกติทางสรีรวิทยาของหลอดอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีกรดไหลย้อนช่วงสั้น ๆ หลังทานอาหาร ซึ่งโดยทั่วไปอาการดังกล่าวมักไม่ส่งผลกระทบต่อการคุณภาพชีวิต มักไม่เป็นในช่วงกลางคืน ต่างจากกลุ่มที่เกิดเป็นพยาธิสภาพร่วมด้วย ที่มักทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น heartburn ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่เด่นชัดของภาวะกรดไหลย้อน อีกทั้งยังเป็นอาการหลักที่ใช้ในการศึกษาด้านระบาดวิทยาเกี่ยวกับกรดไหลย้อนอีกด้วย

อาการนอกทางเดินอาหารได้แก่

สรุปการรักษาภาวะกรดไหลย้อนนอกหลอดอาหาร

1การปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle Modification)

รูปแบบการปรับการดำเนินชีวิตเพื่อรักษาและป้องกันภาวะกรดไหลย้อน ดังนี้

2การรักษาโดยการใช้ยา

1 ยาในกลุ่ม H2 receptor Antagonist

กลไกหลักในการออกฤทธิของยากลุ่มนี้คือ ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร โดยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย โดยยาแต่ละตัวในกลุ่มสามารถใช้ได้ผลไม่แตกต่างกันในขนาดยาที่เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงน้อยใช้ได้ในทุกอายุของผู้ป่วย

2 ยากลุ่ม Prokinetic

โดยทั่วไป ยาที่ปรับการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่เพิ่มความดันของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย เพิ่มความสามารถของหลอดอาหารในการเคลียร์กรด หรืออาหาร ตลอดจนทำให้ gastric emptying time สั้นลง ดูเหมือนจะเป็นยาที่ดีที่สุดในการรักาภาวะกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นการแก้ไขที่สาเหตุหลักโดยตรง แต่ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้บ่อยในปัจจุบัน เช่น metoclopramide และ cisapride ยังให้ผลไม่น่าพอใจ โดยพบว่าการใช้ cisapride 40 มก./วัน ได้ผลเท้ากับการใช้ยากลุ่ม H2 receptor Antagonist
ผลข้างเคียงสำคัญของ metoclopramide คือ ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ซึม สับสน หรือมีอาการของ extrapyramidal ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ขระที่ cisapride ไม่ผ่าน blood-brain barrier จึงไม่เกิดผลข้างเคียงดังกล่าว จึงมีการใช้แพร่หลายกว่า metoclopramide อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของ cisapride ที่พบได้ เช่น ท้องเสีย พบได้ประมาณ 10% คลื่นไส้อาเจียน หรือในกรณีที่ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolides (เช่น erythromycin) อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงในระบบหัวใจ เช่น QT interval prolongation หรือ ventricular arrhythmia ได้
ผลการรักษาของยากลุ่มนี้ต่อภาวะกรดไหลย้อนนอกหลอดอาหารยังมีข้อมูลไม่มากนัก อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ Khoury และคณะ เปรียบเทียบการใช้ cisapride 40 มก./วัน กับยาหลอก ในผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง พบว่ากลุ่มที่ได้ cisapride สามารถเพิ่ม FEV, และ FVC ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนับสำคัญ แต่อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยและผลการตรวจวัดความเป็นหรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมงทั้งสองกลุ่มให้ผลไม่แตกต่างกัน

3 ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors

ยานี้สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่น ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้รวดเร็ว
โดยทั่วไป ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิได้ดีที่สุดเมื่อให้ทานก่อนอาหาร ในกรณีที่ต้องใช้มากกว่าวันละหนึ่งครั้ง นิยมให้ทานเป็นก่อนอาหารเช้าและเย็น ยากลุ่มนี้มึวามปลอดภัยในการใช้สูง ผลข้างเคียงพบได้น้อยมากที่มีรายงาน เช่น ปวดศีรษะ ท้องเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มนี้ถูกผลิตออกมาใช้ได้ไม่นาน ความปลอดภัยของการใช้ยาในระยะยาวยังต้องการการศึกษาและเฝ้าติดตามต่อไป
และแม้ว่ายากลุ่มนี้ในขนาดที่สูง จะสามารถลดกรดได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นชัดเจน แต่พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อนที่ทานยาวันละ 2 ครั้ง ยังมัชาวงเวลาที่ pH ในกระเพาะลดลงต่ำกว่า 4 ได้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงในระหว่างนอน และในช่วงเวลาที่ pH ลดต่ำลงนี่เอง ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ 30-50%ในผู้ป่วยที่เป็นปัญหาเหล่านี้อาจต้องใช้ขนาดยาสูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป หรือใช้ยาร่วมกันมากกว่าหนึ่งกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงผลดีที่จะได้เพิ่มขึ้น ยังคงต้องการการศึกาเพิ่มเติมต่อไป อ่านยา omeprazole

ยาลดกรด

กรดไหลย้อน อาการทางระบบหูคอจมูก อาการหอบหืด อาการแน่นหน้าอก อาการนอนกรน

 

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน