ภาวะกรดไหลย้อน และ นอนกรน Obstructive Sleep Apnea(OSA)

ภาวะนอนกรน เป็นภาวะที่มีการหยุดหารหายใจชั่วขณะระหว่างนอนหลับ โดยพบว่า OSA จะสัมพันธ์กับการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจห้องด้านล่างซ้าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร ถูกเสนอให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิด OSA

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด OSA อื่น เช่น ความอ้วน ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้ง OSA และภาวะกรดไหลย้อนเช่นกัน และยังเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าเมื่อผู้ป่วย OSA เมื่อใช้เครื่องช่วยหายใจในเวลากลางคืนแล้ว อาการดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะความดันในช่องอกสูงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วความดันในช่องท้องลดลง โอกาสที่จะเกิดกรดไหลย้อนจึงเป็นได้น้อยลง รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น ในช่วงนอนราบ ไม่มีแรงโน้มถ่วงของโลกที่คอยป้องกันกรดที่ไหลย้อนขึ้นไป จึงเพิ่มโอกาสที่กรดจะไหลย้อนง่ายขึ้นหรือในช่วงกลางคืน ประมาณ 04.00 น. ระดับ serum epinephrine จะอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบวัน จึงไม่สามารถควบคุมการหดตัวของหลอดลมได้
ในปี ค.ศ.2001 Senior และคณะ ได้ทำการศึกษาถึงการให้ยาลดกรดในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น OSA พบว่าทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น เมื่อวัดจาก apnea index พบว่าทดลอง 31% ขณะที่ Respiratory distress index ลดลง 25%, Hypopnea index ลดลง 12% โดยสรุปพบว่าผู้ป่วย OSA 30% จะดีขึ้นเมื่อได้ยาลดกรดในปริมาณที่สูง อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังรวบรวมผู้ป่วยได้ค่อนข้างน้อย (26 ราย) ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์นี้

กรดไหลย้อน อาการทางระบบหูคอจมูก อาการหอบหืด อาการแน่นหน้าอก อาการนอนกรน

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน