การตรวจมะเร็งตับ Alpha – fetoprotein (AFP)

Alpha – fetoprotein (AFP)  คืออะไร

Alpha – fetoprotein (AFP) เป็นสารชีวเคมีที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเป็นสารที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ตับที่ยังโตไม่เต็มวัย และเป็นโปรตีนที่สร้างมาจากรก ใช้ค่านี้ในการตรวจสอบความผิดปกติของรก และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับรก และยังสามารถตรวจพบในผู้ป่วยมะเร็งตับ

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ระดับ Alpha – fetoprotein (AFP) ในเลือดจะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ และจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 28-32 สัปดาห์ หากทารกมีความผิดปกติของสมอง(Neural tube defect) จะตรวจพบ AFP ในเลือดของมารดาและในน้ำคร่ำสูงกว่าปกติ 2-3.5 เท่า
  • บุคคลทั่วไปที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ คือไม่เกิน 20 ng/mL

alpha fetoprotein

ข้อบ่งชี้ในการเจาะเลือดตรวจ AFP

  • ใช้ตรวจหาความผิกปกติในระหว่างตั้งครรภ์
  • ใช้ตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมาก
  • หญิงตั้งครรภ์ที่บุตรก่อนหน้านี้มีความผิดปกติของโครโมโซม
  • ประวัติครอบครัวมีความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม
  • คัดกรองและติดตามมะเร็งตับ

วิธีการตรวจ Alpha – fetoprotein (AFP)

วิธีการตรวจโดยการเจาะเลือดดำส่งตรวจ ไม่ต้องอดอาหาร จะทราบผลหลังจากห้องปฏิบัติการแลปได้รับเลือดแล้วสองชั่วโมง การรายงานผลรายงานเป็นตัวเลข มีหน่วยเป็น IU/ml โดยใช้ค่าอ้างอิงในคน 0 - 5.8 IU/ml

(ในกรณีต้องการปรับหน่วยเป็น ng/ml ให้ใช้ conversion factor: IU/ml x 1.21 = ng/ml)

ค่าปกติของ AFP

  • ค่า alfa-fetoprotein ในผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชายอยู่ระหว่าง 0 ng/ml - 40 ng/ml.
  • ค่า Alpha – fetoprotein ในหญิงตั้งครรภ์จะเริ่มขึ้นสัปดาห์ที่14จนสัปดาห์ที่32 ระหว่างสัปดาห์ที่15-20ค่า Alpha – fetoprotein จะอยู่ระหว่าง 10 ng/ml - 150 ng/ml
  • ค่า Alpha – fetoprotein ที่เพิ่มมากกกว่า 200 ng/ml ในผู้ป่วยตับแข็งให้สงสัยว่าอาจจะมีมะเร็งตับ

ค่าปกติของคนทั่วไป AFP=<15 ng/ml

ความผิดปกติที่พบ

ค่า AFP สูงมาก อาจจะมีโรค

  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งรังไข่
  • มะเร็งอัณฑะ
  • มะเร็งชนิดอื่นดังกล่าวข้างต้น
  • อาจจะเป็นโรคอื่นที่ไม่ใช่มะเร็ง
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจมีโรคแทรกซ้อนหรือมีความผิดปกติของทารกเกิดขึ้นเกิด

AFP เป็น tumor marker ที่ได้รับการยอมรับให้นำมาใช้ตรวจหามะเร็งตับ ในกลุ่มที่เสี่ยง (high-risk population) ซึ่งได้แก่

    • ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis), 
    • ผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี (hepatitis B carrier),
    •  ผู้ป่วยโรคตับแข็ง (cirrhosis) เป็นต้น 

โดยแนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 3 - 6 เดือน และ/หรือ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasound) ของตับ AFP มักมีค่าสูงกว่าปกติมากในผู้ป่วย มะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma)  และมะเร็งของรังไข่ และ/หรือ อัณฑะ ชนิด embryonal cell carcinoma   รวมทั้งยังอาจพบระดับสูงขึ้นได้ในมะเร็งปอด และมะเร็งของระบบทางเดินอาหาร  โดยระดับ AFP ที่ตรวจพบมักจะสัมพันธ์กับระยะของโรคมะเร็งด้วย นั่นคือ ในมะเร็งระยะต้นมักพบ AFP สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่จะสูงมากขึ้นเป็นลำดับในมะเร็งระยะท้าย  นอกจากนั้นยังอาจพบ AFP สูงขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคตับอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่ระดับมักไม่สูงมากนัก โรคมะเร็งชนิดไหนที่มีค่า AFP สูง


โรคที่ไม่ใช่มะเร็งแต่มีค่า AFP สูง

หญิงตั้งครรภ์ที่มีค่า AFP สูงอาจจะเกิด

  • Neural tube defects (e.g., spina bifida, anencephaly)
  • Omphalocele
  • Gastroschisis

ค่า AFP ในทางต่ำ

หากตรวจพบค่า AFP ในเลือดในทางต่ำ อาจแสดงผลในด้านสุขภาพได้ว่า

  • อาจถือว่าปกติ เพราะคนส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบหรือตรวจพบได้ค่าที่ต่ำ
  • อาจอยู่ในกลุ่มผู้มีสภาวะของโรคมะเร็งตับ (หรือมะเร็งอื่น) แล้วก็ได้ เพียงแต่ค่า AFP ที่ตรวจได้ไม่สำแดงค่าสูงขึ้นให้เห็นความผิดปกติ ในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งอาจจะต้องใช้การตรวจอื่นเพิ่ม
  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีค่า AFP ต่ำอาจจะเกิดจากบุตรเป็นโรค Down syndrome

ปัจจัยที่มีผลต่อค่า AFP

  • ค่า AFP จะสูงหลังจากได้รับการตรวจด้วยรังสี
  • ครรภ์แฝด
  • เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • คนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่อ้วน

การตรวจค่า AFP ในคนท้อง

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430750/