การรักษามะเร็งปากมดลูก

การรักษามะเร็งปากมดลูก precancerous

การรักษาขึ้นกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ลักษณะ precancerous ว่าเป็น low หรือ high-SIL ผู้ป่วยมีบุตรพอหรือยัง สุขภาพผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วยและแพทย์ โดยทั่วไม่

  • หากผลการตรวจพบว่าเป็น low-grade SIL ก็แนะนำให้มาตรวจภายในซ้ำ ใน 6 เดือนถึงสองปี แต่แพทย์บางท่านอาจจะตรวจพิเศษแบบ colposcopy โดยการส่องกล้องตรวจ
  • สำหรับผลการตรวจ PAP เป็นแบบชนิด high-SIL แนะนำให้ตรวจพิเศษ colposcopy และตักชิ้นเนื้อตรวจ หากผลชิ้นเนื้อเป็นแบบเดียวกันก็แนะนำผ่าตัดเอาออกเนื้อจนหมด
  • ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประจำปี ถ้าจำเป็นต้องรักษาแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาได้หลายวิธีคือ การใช้ความเย็น (cryosurgery)ใช้ไฟจี้( cauterization) ใช้ laser

การรักษามะเร็งปากมดลูก

หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจต่อเพื่อตรวจว่าโรคมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น หรือยังโดยแพทย์จะตรวจ

  • เจาะเลือดตรวจเลือดทั่วไป( CBC )เพื่อดูว่าซีดหรือไม่ เกล็ดเลือดปกติหรือไม่ ตรวจการทำงานของไต (BUN ,CREATININ) เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกอาจแพร่กระจายอุดทางเดินของปัสสาวะทำให้ไตวาย ตรวจตับ (LFT) เนื่องจากมะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังตับ
  • แพทย์จะส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ cystoscopy ,ตรวจลำไส้ใหญ่ (proctosigmoidoscopy) โดยใช้อุปกรณ์ส่องเข้าไปตรวจ
  • แพทย์จะตรวจสวนสีตรวจลำไส้ใหญ่ barium enema เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่ไปลำไส้ใหญ่หรือยัง
  • แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจไต {intravenous pyelogram,IVP }เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อไตหรือยัง
  • ตรวจ computer x-ray,ultrasound เพื่อตรวจอวัยวะอื่นดูการแพร่กระจายของมะเร็ง

 ก่อนการรักษาใดๆผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจดังตัวอย่าง

  • มะเร็งที่เป็นอยู่นี้แพร่กระจายหรือยัง
  • วิธีการรักษาที่ดีทีสุด แพทย์เลือกวิธีไหน ทำไมจึงเลือกดวิธีนี้
  • โอกาสจะประสบผลสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด
  • มีโอกาสเสี่ยงอะไรบ้าง ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
  • ใช้เวลารักษานานเท่าใด
  • ใช้ค่าใช้จ่ายแค่ไหน
  • ถ้าไม่รักษาจะเป็นเช่นใด
  • จะมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติหรือไม่
  • ต้องตรวจซ้ำบ่อยแค่ไหน

 

วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูก

  1. การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
  2. การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี
  • โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
  • โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์
  1. การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  2. การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งปากมดลูก

  1. การผ่าตัด หลังการผ่าตัดมักจะมีอาการปวด เลือดออก ถ้าต้องตัดมดลูกผู้ป่วยอาจจะปัสสาวะและอุจาระลำบากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ระยะหนึ่ง ผู้ป่วยควรพักระยะหนึ่งเพื่อให้แผลหาย จะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่า 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกยังคงมีอารมณ์ทางเพศปกต ิแต่อาจมีปัญหาทางจิตใจกังวลว่าไม่สามารถมีบุตรได้คู่ครองควรที่จะช่วยกันปลอบใจและให้กำลังใจ
  2. การให้รังสีรักษา ระหว่างการให้รังสีรักษาผู้ป่วยจะเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวบริเวณที่สัมผัสรังสีจะมีสีน้ำตาล ห้ามทาโลชั่น อาการต่างๆจะหายไปหลังหยุดการรักษา การร่วมเพศอาจจะลำบากเนื่องจากช่องคลอดจะแคบและแห้งต้องใช้ครีมหล่อลื่นช่วย นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องปัสสาวะและถ่ายเหลว
  3. การให้เคมีบำบัด จะฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว
  • ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
  • ผมร่วง
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
  • เป็นหมัน
  1. การสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงมีไม่มาก มีอาการคล้ายไข้หวัดปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่ามีหลายปัจจัยเป็นความเสี่ยง

  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ HPV
    • งดการมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุน้อย
    • ไม่สำส่อนทางเพศ
    • ไม่มีเพศสัมพันธุ์กับคนที่มีคู่นอนหลายคน
    • ไม่มีเพศสัมสัมพันธุ์กับคนที่ยังไม่ได้คลิบอวัยวะเพศhaving sex with uncircumcised males
  • การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ18 ปีและการมีสำส่อนทางเพศ เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส human papillomaviruses
  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อจะมีเพศสัมพันธุ์
  • การสูบบุหรี่
  • การได้รับยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol ระหว่างตั้งครรภ์
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • การได้รับวิตามิน A ป้องกันมะเร็งได้แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
  • การออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอเพียงจะช่วยป้องกันโรคได้
  • การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้ท่านเข้าใจและสามารถสอบถามข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจรักษา