มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยในผู้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่านใหญ่รักษาหายขาด ถ้าสามารถวินิจฉัยได้เร็วและรักษาเร็ว มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เช่นกัน ดังนั้นท่านผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis คลิกดูภาพ

โครงสร้างของลำไส้ใหญ่และทวารหนักคลิกดูภาพ

ระบบทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่ช่องปาก [oral cavity] หลอดอาหาร [esophagus] กระเพาะอาหาร[stomach] ลำไส้เล็ก [jejunum] ส่วนลำไส้ใหญ่เริ่มตั่งแต่ ascending colon, transverse colon,descending colon,sigmoid colon ไปสิ้นสุดที่ ทวารหนัก rectum และเปิดที่รูทวาร anus หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือกักอาหารที่เหลือจากการดูดซึม ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 6 ฟุต ส่วน rectum ยาว 8-10 นิ้ว

การค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่แรกเริ่ม

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแต่มักจะพบร่วมปัจจัยต่างๆดังนี้

  • พบมากในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี แต่สามารถพบในอายุน้อยได้
  • อาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และใยอาหารน้อย
  • polyps เนื้องอกในลำไส้ใหญ่หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็ง คลิกดูภาพ
  • ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก เต้านม มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
  • ผู้ป่วยที่มีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
  • ผู้ป่วยทีเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ulcerative colitis
  • โรคทางพันธุกรรมเช่น familial adenomatous polyposis และ hereditary nonpolyposis colon cancer

ปัจจัยเสี่งมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

จากการค้นคว้าพบว่า การวินิจฉัยและการตัด polyps การหยุดสูบบุหรี่ การที่ได้รับ aspirin การงดสุรา และการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงลงได้

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย

  • อุจาระเหลวกับอุจาระแข็งสลับกัน บางครั้งเหมือนถ่ายไม่หมด
  • เลือดปนอุจาระ เลือดจะออกสีแดง
  • อุจาระลำเล็กกว่าปกติ
  • ท้องอืดแน่นท้องตลอดเวลา เหมือนอาหารไม่ย่อย
  • น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ และยังมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • ปวดจุกเสียดท้อง
  • อาเจียน
  • โลหิตจาง อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่

เมื่อแพทย์ทราบอาการของผู้ป่วยและสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แพทย์จะซักประวัติครอบครัว ประวัติส่วนตัว หลังจากนั้นจะตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจพิเศษเพิ่มเติมดังนี้

  • ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก โดยแพทย์จะสวมถุงมือและทาครีมหล่อลื่นแล้วตรวจเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่
  • ตรวจหาเลือดในอุจาระ โดยให้งดเนื้อสัตว์และเลือดรวมทั้งวิตามินบำรุงเลือด3 วันแล้วนำอุจาระตรวจหากผลตรวจให้ผลบวกแสดงว่ามีเลือดทางเดินอาหาร
  • การส่องกล้องมีทั้งการส่อง sigmoidoscope คือส่องดูแค่ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น และ colonoscopy ส่องดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
  • การสวนสี barium enema โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าในลำไส้ใหญ่แล้ว x-ray ดูลำไส้ใหญ่
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ biopsy อาจจะตัดชิ้นเนื้อขณะส่องกล้อง หรือตรวจหลังจากทราบผล x-ray

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จะแบ่งระยะของโรคโดยแบ่งตามการแพร่กระจายของโรคดังนี้

  1. Stage 0 คุณเป็นคนที่โชคดีเป็นโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้
  2. Stage 1 มะเร็งอยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้
  3. Stage 2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง
  4. Stage 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่น
  5. Stage 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด
  6. Recurrent เป็นมะเร็งซ้ำหลังจาการรักษา

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

มีการรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสุขภาพ ตำแหน่ง ขนาด และระยะของโรค

  1. การผ่าตัด แพทย์จะตัดเนื้อร้ายทั้งหมดร่วมกับเนื้อดีบางส่วน โดยมากแพทย์สามารถต่อลำไส้ได้แต่บางรายไป่สามารถต่อลำไส้ได้แพทย์จะเปิดลำไส้ไว้ที่ผนังหน้าท้อง ถ่ายอุจาระทางหน้าท้องโดยมีถุงรองรับอุจาระ
  2. การให้เคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เหลือจากการผ่าตัด
  3. การให้รังสีรักษา โดยมากจะให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเนื้อร้าย หรือให้หลังการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์เนื้อร้ายที่เหลือ
  4. Biological therapy คือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

หลังการรักษาควรไปตรวจตามแพทย์นัดเพื่อตรวจดูว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่เพื่อที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยแพทย์จะตรวจร่างกาย ตรวจหาเลือดในอุจาระ x-ray เจาะเลือดตรวจ

ผลของการรักษาขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. ระยะของโรคว่ามะเร็งได้แพร่กระจายหรือยัง
  2. มะเร็งได้อุดทางเดินอาหารหรือไม่
  3. การผ่าตัดว่าตัดเอาเนื้อมะเร็งออกหมดหรือไม่
  4. มะเร็งเป็นซ้ำหรือไม่
  5. สุขภาพผู้ป่วย

 

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ แอสไปรินป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

  ปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่