การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate-Specific Antigen(PSA)


การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate-Specific Antigen(PSA) เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในต่อมลูกหมาก (ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง) PSA การตรวจนี้จะเป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ PSA ในเลือด ส่วนใหญ่จะพบ PSA ในน้ำอสุจิ แต่มีจำนวนน้อยในเลือด ผู้ชายส่วนใหญ่มีระดับต่ำกว่า 4 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (ng / มิลลิลิตร) ในเลือด โอกาสของการมีมะเร็งต่อมลูกหมากขึ้นไปเป็นระดับ PSA ขึ้นไป

เมื่อมะเร็งต่อมลูกหมากโตขึ้นค่า PSA มักจะมากกว่า 4 แต่ผู้ที่มีค่า PSA ต่ำกว่า 4 ก็มิได้หมายความว่าจะไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจาก 15% ของผู้ชายที่มี PSA ต่ำกว่า 4 จะมีมะเร็งต่อมลูกหมากในการตรวจชิ้นเนื้อ ผู้ชายที่มีระดับ PSA เส้นเขตแดนระหว่าง 4 และ 10 มีประมาณ 1 ใน 4 คนมีโอกาสของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หาก PSA เป็นมากกว่า 10 โอกาสของการมีมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากกว่า 50%

PSA เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก การตรวจนี้จะตรวจจากเลือด ค่าที่ได้จะรายงานเป็น nanograms of PSA per milliliter(ng/mL) ของเลือด ค่า PSA จะสูงในภาวะดังต่อไปนี้

ต่อมลูกหมาก

กลุ่มที่เสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลุกหมาก

  • อายุมากกว่า 50 ปี
  • คนผิวดำ
  • มีพ่อ พี่หรือน้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

คำแนะนำในการตรวจหาค่า PSA

คำแนะนำการตรวจหาค่า PSA แนะนำโดยสมาคมมะเร็งแห่งประเทศอเมริกา สมาคมโรคระบบทางเดินปัสสาวะอเมริกา

  • การตรวจค่า PSAให้พิจารณาเป็นรายๆโดยพิจารณาจาก อายุ ปัจจัยเสี่ยง และ life expectancy
  • สำหรับผู้ที่สูงอายุไม่แนะนำให้คัดกรอง(มากกว่า 75 ปีหรือผู้ที่คาดว่าจะมีอายุไม่เกิน 10 ปี)
  • สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากจะตรวจหาระดับ PSA ตั้งแต่อายุยังไม่มาก แพทย์จะต้องปรึกษาถึงผลดีผลเสียและตัดสินใจร่วมกัน


การตรวจ PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากเหมาะสมหรือไม่

  • อายุที่เริ่มคัดกรองควรจะเริ่มต้นที่50ปีขึ้นไป และคาดว่าจะมีอายุอีกอย่างน้อย 10 ปี สำหรับคนทั่วไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่ ผู้ที่มีญาติสายตรงเช่น พ่อ พี หรือน้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก่อนวัยอันควร(น้อยกว่า 65 ปี)ชาวอเมริกาเชื้อสายอาฟริกัน ควรได้รับการคัดกรองเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสองคน ควรได้รับการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป

แต่ปัจจุบันก็มีหลายสถาบันไม่แนะนำให้เจาะ หากจะเจาะจะต้องพิจารณาข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของการตรวจ


PSA

ค่าปกติของ PSA

ยังไม่ค่าที่กำหนดว่าเป็นค่าปกติ แต่ที่นิยมใช้คือหากค่า PSA ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 4 ng/mL จะถือว่าปกติ และแนะนำว่าหากค่ามากกว่า 4 ให้ตัดชิ้นเนื้อลูกหมากเพื่อส่งตรวจหามะเร็งแต่อย่างไรก็ตามพบว่ายังพบผู้ที่เป็นมะเร็งมีค่า PSA ต่ำกว่า 4 และพบว่าผู้ที่มีค่าสูงกว่า 4 ไม่เป็นมะเร็ง มีปัจจัยที่ทำให้ค่า PSA ผันผวน เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การใช้ยา finasteride and dutasteride ค่า  PSA ที่สูงโอกาศเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สูง และหากค่าสูงมากขึ้นก็เสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่ม

ค่า PSA ตามอายุ

ค่าจะแสดงเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น แพทย์หรือสถาบันแต่ละแห่งอาจจะไม่เท่ากัน ค่าปกติจะต้องน้อยกว่า

  • 3 ng/ml สำหรับผู้ชายอายุ 50-59
  • 4 ng/ml สำหรับผู้ชายอายุ 60-69
  • 5 ng/ml สำหรับผู้ชายอายุ มากกว่า70

ค่าที่มากกว่าปกติอาจจะเป็นโรคต่อลูกหมากอักเสบ หรือต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะต้องรอการตรวจเพิ่ม

ปัจจัยที่มีผลต่อค่า PSA

ปัจจัยที่ผลทำให้ค่า PSA สูงขึ้น ได้แก่

  • ต่อมลูกหมากโต prostatic hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นขยายตัวไม่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ควรจะรอประมาณ 6 สัปดาห์หลังการรักษาการติดเชื้อแล้วจึงตรวจระดับ PSA
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก เช่นการขี่จักรยาน โดยเฉพาะก่อนการเจาะเลือด 48 ชั่วโมง
  • การมีเพศสัมพันธอาจทำให้เกิด PSA ขึ้นไปเป็นเวลาสั้น ๆ และจากนั้นไปลงอีกครั้ง นี่คือเหตุผลที่แพทย์บางคนแนะนำว่าคนละเว้นจากการพุ่งออกมาเป็นเวลา 2 วันก่อนการทดสอบ
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือการกระตุ้นต่อมลุกหมาก
  • การตรวจต่อมลูกหมากด้วยนิ้วทางทวารหนัก
  • การตรวจ biopsy ต่อมลูกหมาก
  • การตรวจกระเพาะปัสสาวะ หรือการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ
  • อายุ ระดับ PSA ปกติขึ้นไปอย่างช้าๆในขณะที่คุณได้รับเก่าแม้ว่าคุณจะไม่มีความผิดปกติของต่อมลูกหมาก
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ: คำนี้หมายถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบของต่อมลูกหมากซึ่งอาจยกระดับ PSA
  • ขี่จักรยาน การศึกษาบางคนบอกว่าการขี่จักรยานอาจยกระดับ PSA (อาจจะเป็นเพราะที่นั่งทำให้ความดันในต่อมลูกหมาก)
  • ยาบางอย่าง ฮอร์โมนเพศชาย (หรือยาอื่น ๆ ที่เพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย) อาจก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ PSA

บางสิ่งบางอย่างอาจทำให้ระดับ PSA ต่ำลง (แม้ว่ามะเร็งเป็นโรคที่ปัจจุบัน)

หากตรวจเลือดแล้วพบว่าค่า PSA มีค่าสูงต้องทำอะไรบ้าง

หากไม่มีอาการแพทย์จะสั่งให้ตรวจเลือดซ้ำ หากเจาะเลือดแล้วค่ายังสูงแพทย์จะตรวจต่อมลูกหมากทางก้นเป็นระยะ หากค่ายังสูงต่อเนื่อง หรือตวรจพบก้อนที่ต่อมลูกหมากแพทย์จะตรวจเพิ่มเช่นการทำ ultrasound ต่อมลูกหมากผ่านทางทวาร การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ หรือการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจหามะเร็ง ค่า PSA เท่าไรแพทย์จึงบอกว่าสูง

ถ้าระดับ PSA ของคุณจะสูง

แพทย์อาจแนะนำเฝ้าระวังหรือการรอในระหว่างที่จะทำการทดสอบซ้ำหรือตรวจด้วยวิธีอื่น เช่นการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเพื่อดูว่าคุณมีโรคมะเร็งแพทย์ไม่ได้ทั้งหมดใช้จุดตัด PSA เดียวกันเมื่อให้คำปรึกษาว่าจะทำการตรวจชิ้นเนื้อ บางคนอาจให้คำแนะนำถ้า PSA คือ 4 หรือสูงกว่าขณะที่คนอื่นอาจจะแนะนำให้ตรวจซ้ำเมื่อระดับ PSA เท่ากับหรือมากกว่า 2.5

 

ข้อจำกัดของการตรวจ PSA

แม้ว่าการตรวจ PSAจะทำให้วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่มได้โดยก้อนมีขนาดเล็ก และได้รับการรักษาซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากการรักษาโดยการผ่าตัด หรือการใช้รังสีรักษา มีคำถามว่าก้อนมะเร็งที่เจอและรักษานั้นอาจจะไม่อันตรายต่อชีวิตก้อนนั้นอาจจะโตช้าและไม่จำเป็นต้องรักษา

นอกจากนั้นก็ยังพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจำนวนหนึ่งค่า PSA ปกติ และผู้ที่ค่า PSA สูงก็ไม่เป็นมะเร็งพบว่าร้อยละ25เท่านั้นที่ผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง

การตรวจ PSA ในการติดตามผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้ที่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากไปแล้วค่า PSA จะต่ำลง การเจาะเลือดเพื่อติดตามโรคจึงมีความจำเป็น การที่ค่า PSA สูงขึ้นแสดงว่าเกิดกลับเป็นซ้ำ ซึ่งพบผลเลือดสูงก่อนเกิดอาการกำเริบนานเป็นเดือน การที่จะบอกว่าค่าสูงจะต้องตรวจเลือดซ้ำเป็นระยะ

การศึกษาการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีการเจาะเลือด

ศึกษาจากคน 1000 คนที่เจาะเลือดตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากทุก1-4 ปีพบว่า

  • จะป้องกันการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้0-1 คน
  • พบ100-120 คนจะให้ผลบวกหลอกกล่าวคือค่า PSAสูงแต่ไม่เป็นโรค(พิสูจน์โดยการตัดชิ้นเนื้อ และบางส่วนมีผลแทรกซ้อนจากการตัดชิ้นเนื้อ)
  • พบ110คนวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก พบ 50 คนมีโรคแทรกซ้อนจากการรักษาเช่น ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โรคแทรกซ้อนทางดรคหัวใจและหลอดเลือด

ก่อนการเจาะเลือดตรวจควรจะทราบข้อดีข้อเสียก่อน

ข้อดี

  • การตรวจ PSA จะทำให้ทราบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก่อนที่จะมีอาการ
  • การตรวจ PSA จะโดยเฉพาะการตรวจค่า PSAเพื่อเทียบเทียบกันจะทำให้วินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็ว และสามารถให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของมะเร็ง
  • สำหรับค่า PSAที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือ Slow-growing prostate cancer อาจจะทำเพียงแค่ติดตามโรคโดยยังไม่ต้องรักษา
  • การตรวจ PSAเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จะทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็ว

ข้อเสีย

  • ผู้ป่วย3ใน4คนมีค่า PSAสูงแต่ไม่เป็นมะเร็ง ทำให้เกิดความกังวล
  • เมื่อค่า PSAสูงจะต้องได้รับการตรวจเพิ่มคือการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก พบว่า 3 ใน 50 คนที่ตรวจชิ้นเนื้อ จะมีโรคแทรกซ้อนการติดเชื้อที่รุนแรงหลังจากการตรวจชิ้นเนื้อ
  • ค่า PSA ที่ปกติก็เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • สำหรับมะเร็งต่อมลุกหมากที่โตช้าซึ่งมักจะไม่เป็นอันตราย การตรวจพบทำให้เกิดความกังวลและรักาาเกินความจำเป้น
  • การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่รบกวนคุณภาพชีวิตเช่น การขับปัสสาวะ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การตรวจใหม่เกี่ยวกับ PSA

  • การหาค่า Free versus total PSA. เป็นการหาอัตราส่วนของ PSA อิสระ(ไม่ได้จับกับโปรตีน)ในเลือดกับ PSA ทั้งหมดซึ่งพบว่าหากค่าต่ำจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค นอกจากนั้นยังใช้ค่านี้มาพิจารณาในการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากหากค่า PSA อิสระน้อยกว่า 10
  • การหาค่า PSA density of the transition zone.โดยใช้ระดับPSAหารด้วยปริมาณของต่อมลูกหมากที่อยู่รอบท่อปัสสาวะซึ่งพบว่ามีความแม่นยำกว่าการตรวจแบบปกติ
  • การเปรียบเทียบค่า PSA ตามกลุ่มอายุ( Age-specific PSA reference ranges) เนื่องจากค่า PSAจะเพิ่มสูงตามอายุ แต่ไม่นิยมเนื่องจากจะทำให้การวินิจฉัยช้า
  • การหาการเพิ่มขึ้นของค่า PSA (PSA velocity and PSA doubling time) โดยการเพิ่มขึ้นของ PSA ต่อปี (ng/mL per year)การหาระยะเวลาที่ค่า PSA เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เชื่อว่าจะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น
  • การตรวจ Pro-PSA ซึ่งเป็นโปรตีนตั้งต้นของ PSA ค่านี้จะสูงในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
Google
 

แหล่งอ้างอิง

  • http://prostatecanceruk.org/prostate-information/getting-diagnosed/psa-test
  • http://www.cancer.gov/types/prostate/psa-fact-sheet
  • https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003346.htm

 

เพิ่มเพื่อน