การตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์

แพทย์จะตรวจพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แพทย์มักตรวจประเมินความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานด้วยวิธีต่อไปนี้  

  • ตรวจคัดกรอง แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และวัดค่าดัชนีมวลกายว่ามากกว่า 30 หรือไม่ เพื่อคัดกรองความผิดปกติและประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล กรณีที่แพทย์ตรวจพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล โดยแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จากนั้นให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายกลูโคสแล้วตรวจเลือดซ้ำอีก 2-3 ครั้งใน 2 ชั่วโมง เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่

สำหรับหญิงตั้งครรภ์รายที่มีความเสี่ยงไม่สูงมาก แพทย์จะตรวจวินิจฉัยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกครั้งในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ หากตรวจพบว่าเป็นเบาหวานอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและอาจให้ผู้ป่วยเฝ้าระวังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันร่วมด้วย

การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์[Gestational Diabetes:GDM]

เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักพบความผิดปกติได้หลายแบบ เช่นเด็กตัวโตมีน้ำหนักมากกว่า4000กรัม [macrosomia] หรือพบความพิการแต่กำเนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทราบว่า คนที่ตั้งครรภ์กลุ่มไหนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

แบ่งผู้หญิงขณะตั้งครรภ์เป็น3กลุ่มดังนี้

  1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์[GDM]ได้แก่  
  • ความอ้วน
  • อายุมากกว่า 25ปี
  • มีน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์
  • มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
  • เคยคลอดเด็กที่มีน้ำหนักมาก
  • เคยคลอดเด็กที่เสียชีวิตในครรภ์
  1. กลุ่มที่เสี่ยงปานกลาง คือกลุ่มที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสองกลุ่ม
  2. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่

  • อายุน้อยกว่า25ปี
  • น้ำหนักของหญิงก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนปกติ
  • ไม่พบความผิดปกติในการตรวจน้ำตาล
  • ไม่พบผู้ป่วยเบาหวานในครอบครัวสายตรง
  • พบ [GDM] ในชุมชนต่ำ

ในกลุ่มเสี่ยงสูงให้ตรวจหากลูโคสในเลือดให้เร็วที่สุด หากปกติให้ตรวจอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์

ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางให้ตรวจหากลูโคสเมื่อตั้งครรภ์24-48สัปดาห์

ในกลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ต้องตรวจหากลูโคส

วิธีการตรวจ  

ให้เจาะวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] > 126มก.% หรือ การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร >200 มก.%ให้วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน หากน้ำตาลต่ำกว่านี้ให้ทดสอบว่าเป็น GDM หรือไม่

  1. ทดสอบความทนทานกลูโคส [oral glucose tolerance test:OGTT] โดยการกินกลูโคส 75 กรัมแล้วเจาะหากลูโคสที่ 1 ,2,3 ชั่วโมง ต้องงดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลต้องเท่ากับหรือเกินค่าในตาราง
ตารางแสดงการตรวจ oral glucose tolerance test:OGTT
  มก.% mmol/l
กลูโคสหลังงดอาหาร8- ชม. 92 5.1
1-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

180

10.0

2-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

153

8.5

3-ชั่วโมงหลังกินกลูโคส

140

7.8

ข้อแนะนำ

  1. สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เมื่อคลอดบุตรแล้ว แม้ว่าน้ำตาลจะกลับสู่ปกติจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะต้องมีการตรวจเลือดทุก 3 ปีแม้ว่าผลเลือดจะปกติ
  3. สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อผลเลือดออกมาว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และได้รับยา metformin เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน

เวลาที่ควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรทำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
  • หากมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะตรวจคัดกรองโรคเบาหวานตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์

แพทย์จะวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างไร

แพทย์จะนำเลือดไปตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยจะมีการตรวจอยู่สองแบบ คือ แบบ 1 ขั้นตอน และ แบบ 2 ขั้นตอน ดังนี้

แบบ 1 ขั้นตอน ประกอบด้วยการทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคสขนาด 75 กรัม (75-g oral glucose tolerance test)

แพทย์จะให้ผู้ป่วยอดอาหารเช้ามาก่อน และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาล จากนั้นให้ดื่มสารละลายที่มีน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม และเจาะเลือดหลังจากดื่มไปแล้ว 1 และ 2 ชั่วโมงตามลำดับ จะถือว่าเป็นเบาหวานเมื่อเจาะน้ำตาลได้

  • น้ำตาลอดอาหาร8ชั่วโมงได้เท่ากับหรือมากกว่า 92 mg/dL
  • น้ำตาลหลังดื่มน้ำตาลหนึ่งชั่วโมงเท่ากับหรือมากกว่า 180 mg/dL
  • น้ำตาลหลังดื่มน้ำตาลสองชั่วโมงเท่ากับหรือมากกว่า 153 mg/dL

แบบ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วยการคัดกรองด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และกลูโคส 100 กรัม

  1. การทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม  (Glucose Challenge Test)
    • เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ในการทดสอบนี้ แพทย์จะให้คุณดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และเจาะเลือดหลังรับประทาน 1 ชั่วโมงเพื่อไปตรวจ  โดยไม่ต้องงดน้ำและอาหาร  
    • ถ้าระดับน้ำตาลที่ตรวจพบสูงกว่า 140 mg/dL  คุณจะต้องได้รับการตรวจซ้ำโดยวิธีการทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส ซึ่งการทดสอบนี้จะต้องอดอาหารก่อนการตรวจ (มาตรวจในวันอื่น)  
    • ถ้าระดับน้ำตาลที่ตรวจมีค่าตั้งแต่ 200 mg/dL  คุณอาจกำลังเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่แล้ว (overt diabetes mellitus)
  2. การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
    • การทดสอบนี้จะวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากที่อดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง 
    • วิธีการตรวจ แพทย์จะเจาะเลือดก่อน 1 หลอดแรก เพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 
    • จากนั้นจะให้รับประทานสารละลายน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม และเจาะเลือดซ้ำที่ 1, 2 และ 3 ชั่วโมง หลังรับประทานน้ำตาลเข้มข้นนี้ เพื่อนำผลระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหมดมาประกอบการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงอย่างน้อย 2 ค่าขึ้นไปจากทั้งหมด (ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร และระดับน้ำตาลหลังรับประทานน้ำตาลกลูโคสที่ 1, 2 และ 3 ชั่วโมง) จะถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์  ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้อธิบายผลการทดสอบทั้งหมดกับผู้ป่วย
    • จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เมื่อระดับน้ำตาลตามเกรฑืตั้งแต่สองค่าขึ้นไป
      • น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารเท่ากับหรือมากกว่า 95 mg/dL หรือ 105 mg/dL
      • น้ำตาลในเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลแล้วหนึ่งชั่วโมงเท่ากับหรือมากกว่า180 mg/dL หรือ 190 mg/dL
      • น้ำตาลในเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลแล้วสองชั่วโมงเท่ากับหรือมากกว่า155 mg/dL หรือ 165 mg/dL
      • น้ำตาลในเลือดหลังจากดื่มน้ำตาลแล้วสามชั่วโมงเท่ากับหรือมากกว่า 140 mg/dL หรือ 145 mg/dL

 

   

โรคเบาหวานและสุภาพสตรี

โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี | การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวตั้งครรภ์ | อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | โรคแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง