ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนทางเส้นประสาท หลอดเลือด การติดเชื้อง่าย ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นความเสี่ยงให้เกิดแผลที่เท้า นอกจากนั้นเท้าที่ผิดรูป เบาหวานที่เป็นมานาน หรือมีประวัติถูกตัดเท้ามาก่อนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลและถูกตัดเท้า

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกดิแผลและถูกตัดขา

ผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกตัดขา

  1. เป็นเบาหวานมานานกว่า 10 ปี
  2. รูปร่างเท้าผิดปกติ
  3. เคยมีแผลหรือถูกตัดขามาก่อน
  4. ภาวะประสาทส่วนปลายเสื่อม
  5. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี
  6. เส้นเลือดส่วนปลายตีบ
  7. เพศชาย
  8. สูบบุหรี่
  9. มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน

  1. มีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือถูกไฟ ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้การรักษาช้า
  2. มีหลอดเลือดแดงที่ขาแข็ง peripheral vascular disease โรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบ การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบมากขึ้น เมื่อมีการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าของผู้ป่วยจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น บางท่านเดินแล้วปวดเท้าคลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้ามีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า(Diabetic foot ulcer) และติดเชื้อ การออกกำลังจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น อ่านที่นี่
  3. การติดเชื้อ(Infection) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล สามารถเกิดได้แม้ว่าจะมีแผลเล็กๆที่เท้า

รูปแสดงการติดเชื้อรูปแรกเล็บขบจนเกิดการติดเชื้อ รูปกลางเป็นเชื้อราที่ซอกนิ้ว รูปขวาเป็นเชื้อราที่เล็บ

เล็บขบและเกิดการติดเชื้อ

เชื้อราที่ซอกนิ้ว

เชื้อราที่เล็บ

ผิวของผู้ที่เท้าขาดเลือดจะมัน และคล้ำ

  1. มีประวัติแผลหรือถูกตัดขา พบว่าผู้ที่มีแผลจะเกิดแผลซ้ำที่เดิมภายใน 2-5 ปี
  2. มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเท้า altered biomechanical อ่านที่นี่
  3. มีจอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน อ่านที่นี่
  4. หนังแข็งใต้ฝ่าเท้า
  5. เล็บผิดปกติ
  6. รองเท้าไม่เหมาะสม

หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกตัดขาท่านต้องดูแลเท้า และหมั่นตรวจเท้า

การจำแนกผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง

จากการการคัดกรองโดยประวัติการเจ็บป่วยและตรวจสภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานสามารถแบ่งผู้ป่วยได้ 4 กลุ่ม ตามระดับความเสี่ยง ดังนี้

ระดับ 0 (ความเสี่ยงต่ำ) : patients who had no distal sensory neuropathy

ลักษณะผู้ป่วยได้แก่ ไม่มีแผลที่เท้าหรือไม่ถูกตัดขา ไม่มีอาการชาเท้า ไม่เคยมีแผลหรือถูกตัดขามาก่อน ไม่มี การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (no loss of protective) ไม่มีเท้าผิดรูป และสามารถรับรู้สัมผัสจากการตรวจด้วย monofilament 5.07 (10 gm.)ครบถูกตำแหน่ง กลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการถูกตัดขาต่า แต่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเป็นความเสี่ยงสูงได้การให้ความรู้เป็นหัวใจสำคัญ ได้แก่

  • ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
  • การป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • การเลิกสูบบุหรี่
  • การดูแลเท้าตามคู่มือการดูแลสุขภาพเท้า
  • และการตรวจเท้าด้วยตนเอง

จึงควรมีการตรวจซ้า ปีละ1 คร้ัง

ระดับ 1 ( moderate risk ) : patients who had only distal sensory neuropathy

กลุ่มที่มีความรู้สึกสัมผัสที่เท้าลดลง มีชาบ้าง และไม่มีแผล แต่สูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย ( loss of protective sensation) ไม่สามารถรับรู้สัมผัสจากการตรวจด้วย monofilament 5.07 (10 gm.) ตั้งแต่ 1 ตำแหน่งขึ้นไป แต่ยังไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ กลุ่มนี้เริ่มมีความเสี่ยงสูงต้องเพิ่มความรู้ในการดูแลสุขภาพเท้ารวมถึงผิวหนังและเล็บทุกวันเพื่อเฝ้า ระวังการบาดเจ็บและให้ความรู้ในการดูแลรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม ห้ามเดินเท้าเปล่า รวมทั้งควรได้รับความรู้และคำแนะนำ เกี่ยวกบัการเลือกซื้อรองเท้าที่เหมาะสมจึงควรนัดตรวจทุก 3 - 6 เดือนโดยเน้นตรวจประเมินเท้า

ระดับ 2 ( high risk) :neuropathic patients who had foot deformity or vascular foot disease

กลุ่มที่สูญเสียความรู้สึกสัมผัสที่เท้า มีอาการชา มีการสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตรายร่วมกับมีจุดรับน้ำหนักผิดปกติไป เช่น เท้าผิดรูป การเคลื่อนไหวของข้อลดลง มีตาปลา และ/หรือการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงมาก ต้องเพิ่มความเคร่งครัดในการดูแลเท้าและการบริหารเท้า ควรระมัดระวัง ไม่ให้เท้าเกิดตาปลาหรือหนังหนาและควรได้รับการขูดหนังหนา ตาปลาโดยเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญหรือปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดรองเท้าเพื่อเลือกใช้อุปกรณ์เสริมฝ่าเท้า หรือสวมรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะและควรมาพบแพทย์ทันทีที่มีปัญหาที่เท้า และอาจจะต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับหลอดเลือดจึงควรนัดตรวจทุก 2 - 3 เดือน โดยเน้นตรวจประเมินเท้า ตัดหนังแข็ง ตาปลา ประเมินกิจกรรมที่ทำและรองเท้า

ระดับ 3 ( very high risk ) : neuropathic Patients who had a history of prior foot ulcer or amputation

กลุ่มที่มีแผลที่เท้าหรือมีประวัติเคยเป็นแผลที่เท้าหรือถูกตัดเท้ามาก่อน กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงที่สุดต่อการเกิดแผลซ้ำ หรือถูกตัดขา ต้องเคร่งครัดในการดูแลเท้าและสวมรองเท้าที่เหมาะสมตลอดเวลาและปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับหลอดเลือด จึงควรนัดตรวจทุก 1 -2 เดือนโดยเน้นเหมือนระดับ 2 แต่เข้มงวดกว่า

 

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน  

โรคแทรกซ้อนที่เท้า

โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต  |โรคตา  |โรคปลายประสาทอักเสบ |โรคเบาหวานกับเท้า