การเลือกรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

รองเท้า

โรคเบาหวานจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดการชาของเท้า และเส้นเลือดตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงที่เท้าไม่พอ รองเท้าที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการ ถูกตัดขาจากเท้าเบาหวานแต่หากเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะสมจะเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการที่ทำให้เกิดแผล ลักษณะรองเท้าที่เหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวานคือสวมใส่สบาย น้ำหนัก เบาอากาศถ่ายเทสะดวก ภายในนิ่มไม่มีรอยกดเจ็บต่อฝ่าเท่า ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับ คำแนะนำในการเลือกรองเท้าที่มีรูปแบบและขนาดที่เหมาะสมด้วยตนเองได้โดยมีหลักการดังน การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าลงได้

1 รูปแบบของรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

  • ไม่ควรเลือกรองเท้าหน้าแคบ เพราะจะบีบรัดเท้ามากไป ทำให้เกิดตาปลาที่นิ่วเท้า
  • ห้ามใส่รองเท้าที่เปิดปลายนิ้วเท้า
  • วัสดุที่ใช้ในการรองเท้าควรเป็นหนังหรือผ้าที่มีความยืดหยุ่นสูง ภายในบุด้วยวสัดุที่นุ่น ดูดซับและระบายความชื้นและอากาศได้ดี
  • ควรเป็นรองเท้าแบบหุ้มส้น หรือสายรัดส้นกันเท้าเลื่อนหลุด หรือเป็นรองเท้าชนิดผูกเชือกที่ไม่มีรอยตะเข็บบริเวณหลังเท้าเพื่อให้สามารถปรับขยายได้
  • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่ทำด้วยยางหรือพลาสติก เนื่องจากทำให้มีโอกาสเสียดสีเป็นแผลได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าแตะประเภทที่ใชนิ้วเท้าคีบสายรองเท้า
  • รองเท้าควรจะมีตะเข็บให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันมิให้ตะเข็บกดเท้า
  • พื้นด้านในที่สัมผัสเท้าควรมีความนิ่มยืดหยุ่น และหนาพอ รวมทั้งเข้ารูปกับฝ่าเท้าสามารถประคองเท้าได้ทุกส่วน
  • พื้นด้านนอก ควรมีความแข็งแรงเพียงพอ ไม่หักงอหรือเสียรูปทรงง่าย
  • ไม่ใส่ส้นสูง ส้นเท้าควรทำจากยางเพื่อไม่ให้ลื่นไถลขณะเดิน และควรเป็นส้นเตี้ยเพื่อลดแรงกระทำต่อเท้าส่วนหน้า และไม่ควรเป็นส้นแคบเพราะอาจจะทำให้ข้อเท้าพลิกได้ง่าย

2ขนาดของรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือขนาดของรองเท้าไม่มีมาตรฐาน ขนาดจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและชนิดของรองเท้าดังนั้นการเลือกซื้อจึงไม่ควรยึดเบอร์ของรองเท้าจะมีความแตกต่างกันไปตามยี่ห้อ และแบบของรองเท้า ไม่ควรยึดติดกับขนาด (เบอร์) ของรองเท้า

  • วัดขนาดของเท้าทั้งสองข้างทั้งความกว้าง และความยาวเพราะเท้าทั้งสองข้างมักจะไม่เท่ากัน
  • ตำแหน่งของนิ้วหัวแม่เท้าข้อแรกจะต้องอยู่ส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้า
  • ระยะห่างระหว่างปลายนิ้วที่ยาวที่สุดกับปลายรองเท้าควรมีระยะห่างประมาณ 3/8-1 นิ้ว
  • พื้นที่เท้าส่วนหน้าต้องไม่แคบไป และมีความลึกพอโดยที่นิ้วเท้าสามารถขยับได้
  • บริเวณส้นเท้าควรจะพอดี ไม่คับหรือหลวมไป
  • ตรวจความพอดีของรองเท้าทั้งสองข้างในขณะยืนลงน้ำหนักเสมอ เนื่องจากเท้าส่วนใหญ่จะขยายเมื่อเรายืนลงน้ำหนัก จึงควรลองยืนสวมและเดินหลาย ๆ รอบ เพื่อดูรอยกดทับปกติ

ข้อควรปฏิบัติการใส่รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

  • ใส่ถุงเท้าทุกครั้ง ถุงเท้าควรทำด้วย cotton or wool เพื่อให้ผิวแห้งไม่ควรใช้ไนล่อน
  • ควรตรวจดูสิ่งแปลกปลอมก่อนใส่ทุกครั้ง  
  • ควรใส่รองเท้าทั้งใน และนอกบ้าน  
  • หากซื้อรองเท้าใหม่ ต้องวัดให้มีขนาดพอดีทั้งความลึก ความกว้าง
  • ควรจะใช้เชือกผูกหรือแทบซึ่งจะทำให้รองเท้าพอดีกับเท้า
  • เมื่อสวมรองเท้าใหม่ให้หยุดเดินหรือหยุดพักบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพองที่เท้า
  • หากเท้าท่านผิดปกติเช่นกระดูกงอก ควรจะใส่รองเท้าชนิดพิเศษ
  • หากซื้อรองเท้าใหม่ไม่ควรสวมเป็นเวลานานๆต่อเนื่อง ควรจะมีรองเท่าคู่เก่าเปลี่ยนจนกระทั่งรองเท้าคู่ใหม่เข้ากับเท้า
  • สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าทุกครั้ง และควรเป็นถุงเท้าที่ไม่มีตะเข็บ และควรทำจากผ้าฟ้ายเพื่อซับเหงื่อ
  • สวมถุงเทา้ก่อนสวมรองเทา้เสมอโดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ รองเทา้ในการออกกา ลงักาย
  • ก่อนใส่รองเท้าต้องสำรวจว่าไม่มีวัสดุแปลกปลอมในรองเท้า
  • ควรเปลี่ยนถุงเท้า ทุกวันเพื่อไม่ใหม้ีการหมกัหมมเป็นแหล่งสะสมของเช้ือโรค
  • เลือกถุงเทา้ที่ไม่มีตะเขบ็ (หากมีตะเข็บให้กลับด้านในออก ) และถุงเทา้ควรทา จากผา้ฝ้าย ซ่ึงมีความอ่อน นุ่ม และสามารถซบั เหงื่อไดด้ี ซ่ึงจะช่วยลดความอบั ช้ืนไดแ้ละไม่รัดแน่นเกินไป

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน  

โรคแทรกซ้อนที่เท้า

โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง | โรคไต | โรคตา | โรคปลายประสาทอักเสบ | โรคเบาหวานกับเท้า