แผลเบาหวานที่เท้า

เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานกังวลเมื่อทราบว่าเป็นเบาหวานคือ

  • กลัวการเป็นโรคไต
  • กลัวการถูกตัดขา
  • กลัวตาบอดจากโรคเบาหวาน
  • กลัวเป็นอัมพฤต
  • กลัวโรคหัวใจ

ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะกลัวความพิการมากกว่าการเสียชีวิต มาเรามาร่วมกันป้องกันการถูกตัดขาดีกว่า ก่อนอื่นท่านผู้อ่านต้องมีความรู้เรื่องต่างๆดังต่อไปนี้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าได้แก่

  • ประวัติเคยถูกตัดเท้าหรือตัดนิ้ว
  • ประวัติเคยเกิดแผลที่เท้า
  • มีโรคปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน
  • เท้าผิดรูป
  • โรคหลอดเลือดแดงตีบ
  • มีปัญหาเรื่องสายตา
  • โรคไตจากเบาหวานโดยเฉพาะผู้ที่ต้องฟอกเลือด
  • โรคเบาหวานคุมไม่ดี
  • สูบบุหรี่

เท้าของท่านเสี่ยงต่อการถูกตัดขาหรือไม่

การประเมินว่าเท้าของท่านเสี่ยงต่อเกิดแผลหรือการถูกตัดขาหรือไม่ท่านจะต้องตรวจดูเท้าของท่าน ประวัติการเกิดแผลหรือการถูกตัดเท้า รูปเท้ามีความผิดปกติหรือไม่ ผิวหนังที่เท้า เล็บ การรับความรู้สึก หลังจากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วประมวลเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเป็น 3 ระดับ

ความเสี่ยงระดับต่ำ

จะมีลักษณะดังนี้

  • ไม่เคยมีแผลหรือถูกตัดขา
  • รูปเท้าปกติ
  • ผิวหนังและเล็บปกติ
  • คลำชีพขจรที่เท้าปกติ(ABI>9 คลิกอ่านที่นี่)

ความเสี่ยงระดับปานกลาง

ลัษณะเท้าที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง

  • เท้าไม่มีแผลขณะประเมิน
  • การรับความรู้สึกลดลง
  • ชีพขจรเบาลง

หรือมี

  • มีเท้าผิดรูป
  • ผิวหนังที่เท้าและเล็บผิดปกติ

เท้าที่มีความเสี่ยงระดับสูง

ลักษณะเท้าที่มีความเสี่ยงระดับสูงมีลักษณดังนี้

  • เท้าไม่มีแผลขณะประเมิน
  • การรับความรู้สึกลดลง
  • ชีพขจรเบาลง
  • มีเท้าผิดรูป
  • ผิวหนังที่เท้าและเล็บผิดปกติ

การดูแล้วตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกท่านจะต้องดูแลตัวเองไม่ว่าจะเกิดแผล หรือมีความเสี่ยงของการเกิดแผลที่ระดับใดท่าจะต้องมีความรู้หรือการปฏิบัติดังต่อไปนี้

หากท่านมีความเสี่ยงต่ำจะตรวจเท้าอย่างละเอียดปีละครั้ง แต่หากว่าเสี่ยงปานกลางถึงเสี่ยงสูงจะต้องตรวจเท้าปีละอย่างน้อยสองครั้ง และหากมีเท้าผิดรูปอาจจะต้องไปตัดรองเท้าเฉพาะ

แผลเบาหวานที่เท้า

โรคแทรกซ้อนที่เท้า

โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต  |โรคตา  |โรคปลายประสาทอักเสบ |โรคเบาหวานกับเท้า