การเจาะเลือดเพื่อประเมิน | วิธีเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง  |  การตรวจปัสสาวะ | Hemoglobin A1c | การเจาะหาไขมันในเลือด

วิธีตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง

เป็นวิธีที่สะดวกแต่ไม่นิยม มีข้อจำกัดในการประเมินผล เพราะน้ำตาลจะถูกขับออกมา เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 180 มก.% สำหรับผู้สูงอายุ อาจจะพบน้ำตาลในปัสสาวะ เมื่อน้ำตาลในเลือดเกิน 220 มก.% ดังนั้นการตรวจน้ำตาลในเลือดจึงบงบอกน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีนัก นอกจากนั้นหากมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ หรือเก็บปัสสาวะไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้การแปรค่าผิดไป

โรคเบาหวานและการดูแลตัวเอง แถบตรวจปัสสาวะ

มีขั้นตอนปฏิบัติในการตรวจสอบปัสสาวะดังนี้

  1. ถ่ายปัสสาวะให้หมด
  2. ดื่มน้ำสะอาด 1-2 แก้ว
  3. ให้ถ่ายปัสสาวะลงในภาชนะที่สะอาด
  4. ตรวจสอบหาน้ำตาลในปัสสาวะโดยจุ่มแทบลงในภาชนะที่เก็บปัสสาวะแล้วยกขึ้นทันที
  5. ถือแผ่นทดสอบไว้ 30 วินาทีถึง 1 นาที
  6. เทียบสีกับข้างขวด
แถบแสดงภาวะน้ำตาลในปัสสาวะ มก.%
 

0

 

50

 

100

 

300

 
1000
  • ถ้าหากน้ำตาลในปัสสาวะเป็น 50-100 มก.% คุณควรจะทบทวนและปรับปรุงการดูแลตัวเองในการควบคุมเบาหวาน
  • ถ้าผลตรวจน้ำตาลในปัสสาวะเป็น 300-1000 มก.%แสดงว่าควบคุมเบาหวานไม่ดี ควรปรึกษาแพทย์

ข้อแนะนำสำหรับการตรวจปัสสาวะด้วยแทบ

  • ต้องปิดฝาขวดให้แน่ เพราะแผ่นทดสอบอาจจะชื้นทำให้เสีย
  • แผ่นที่จุ่มในปัสสาวะแล้วควรเทียบสีทันที ถ้าหากทิ้งไว้นานเกิน 2 นาทีห้ามนำไปเทียบสีอ่านผล เพราะเป็นผลที่คลาดเคลื่อน
  • ห้ามเก็บขวดบรรจุแผ่นทดสอบไว้ในที่ร้อนจัด หรือถูกแสงแดด
  • ภาชนะที่ใช้เก็บปัสสาวะต้องล้างให้สะอาด ปราศจากผงซักฟอก เพราะอาจจะทำให้คลาดเคลื่อน
  • ต้องตรวจดูวันหมดอายุทุกครั้ง

การตรวจหาสารคีโตนในปัสสาวะ

สารคีโตนเป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาล หรือเมื่อเราอดอาหาร ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันในเนื้อเยื่อมาใช้ทำให้เกิดสารคีโตน และกรดแลคติกเกิดขึ้น หากขาดอินซูลินนานๆจะมีสารคีโตนและกรดแลคติกมากที่เรียกว่า คีโตอะซีโดซีส ( Ketoacidosis ) ดังนั้นการตรวจหาคีโตนในปัสสาวะจะทำให้ทราบว่าร่างกายขาดอินซูลินหรือไม่ ควรตรวจหาสารคีโตนในปัสสาวะเมื่อไร

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 300 มก.%ขึ้นไป หรือมีระดับน้ำตาลในปัสสาวะ 3บวกถึง 4บวก
  • เมื่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1ไม่สบาย
สิ่งที่เกิด การอ่านผล การปฏิบัติ
ไม่เปลี่ยนสี ไม่มีคีโตน ทำเหมือนปกติ
สีชมพู เริ่มมีคีโตน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ
  • ออกกำลังกายได้ตามปกติ
สีม่วงอ่อน มีคีโตนเล็กน้อย
สีม่วง มีคีโตนปานกลาง
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ
  • งดออกกำลังกาย
  • โทรปรึกษาแพทย์
สีม่วงแก่ มีคีโตนมาก

ข้อดีของการตรวจสารคีโตน

  • สามารถป้องกันภาวะคีโตอะซิโดซิส
  • สามารถแก้ไขภาวะเกิดคีโตอะซีโดซีสได้ทันท่วงที
  • สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
  • สามารถเข้าเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัย
  • ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 มีชีวิตยืนยาวอย่างมีความสุข
   

การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ

การตรวจเลือดและปัสสาวะด้วยตัวเอง

วิธีเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง  |  การตรวจปัสสาวะ | Hemoglobin A1c |

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง