การรักษาไขมันในเลือดสูงสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. ผู้ป่วยเบาหวานอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปหากค่าไขมัน LDL-C มากกว่า 100 มก/ดล ควรเริ่มยา moderate intensity statin ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตโดยมีเป้าหมายคือระดับ LDL-C ต่ำกว่า100 มก/ดล.หรือค่า LDL-C ลดลงจากค่าเริ่มแรกก่อนได้รับยาอย่างน้อยร้อยละ 30 ยกเว้นผู้ที่มีระดับ LDL-C ตั้งแต่ 190 มก./ดล. ขึ้นไปให้เริ่ม statin ที่ทาให้ระดับ LDL-C ลดลงจากค่าเริ่มแรกก่อนได้รับยาอย่างน้อยร้อยละ 50 หากระดับ LDL-C ยังไม่ถึงเป้าหมาย ให้เพิ่มขนาดยา statin ถ้าไม่สามารถเพิ่มขนาด statin ได้อาจพิจารณาเพิ่มยากลุ่ม non-statin ได้แก่ ezetimibe หรือ cholestyramine
  2. ผู้ป่วยเบาหวานอายุน้อยกว่า 40 ปีที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ได้แก่ สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ประวัติครอบครัวมีโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร ตรวจปัสสาวะพบโปรตีนในปัสสาวะ(ไมโครอัลบูมินนูเรีย ) ควรได้รับคำแนะนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต โดยมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต 3 – 6 เดือน และถ้าหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตแล้ว ระดับ LDL-C ยังสูงกว่า100 มก./ดล. น่าจะพิจารณาให้ยากลุ่ม statin โดยคุมระดับ LDL-C ให้ต่ำกว่า100 มก./ดล.


  3. ผู้ป่วยเบาหวานอายุน้อยกว่า 40 ปีที่มีปัจจัยเสี่ยงเพียงข้อเดียวหรือไม่มี อาจไม่จาเป็นต้องเริ่มยาลดระดับ LDL-C แต่ต้องเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต โดยมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 – 6 เดือน และถ้าหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตแล้ว ระดับ LDL-Cมากกว่า100 มก./ดล. อาจพิจารณาให้ยากลุ่ม statin โดยมีเป้าหมายคือระดับ LDL-C น้อยกว่า100 มก./ดล.
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับ statin แล้วแต่ระดับ non-HDL-C ยังเกินเป้าหมาย (น้อยกว่า130 มก./ดล.ในการป้องกันแบบปฐมภูมิ, น้อยกว่า100 มก./ดล.ในการป้องกันแบบทุติยภูมิ) น่าพิจารณาเพิ่ม intensity ของ statin ก่อน หาก non-HDL-C ยังไม่ได้ตามเป้าหมาย จึงพิจารณาเพิ่มยากลุ่ม fibrates [คาแนะนาระดับ + คุณภาพของหลักฐานระดับ 3]

การรักษาไขมันในเลือดสูง | การรักษาไขมันสูงในคนที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด | การรักษาไขมันสูงในผู้ป่วยเบาหวาน | การรักษาไขมันสูงในผู้ป่วยโรคไต | การรักษาไขมันสูงในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด