การรักษาไขมันในเลือดสูง

หลักการรักษาภาวะไขมันผิดปกติในคนไทย ความผิดปกติของ lipoprotein metabolism ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดบัไขมันในเลือดที่นำไปสู่หลอดเลือดแดงแข็งรวมถึงภาวะแทรกซ้อน ทั้งชนิดเฉียบพลนัและเรื้อรัง เกิดภาวะทุพพลภาพต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต หลักการรักษาเป็นไปเพื่อการป้องกัน สิ่งเหล่านี้ทั้งระดับ ปฐมภูมิ และทุติยภูมิโดยต้องทำการลดปัจจยัเสี่ยงอื่นๆที่ผู้ปวยมีอยู่ร่วมด้วยควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงอันจะทำให้การใช้ยามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หลังจากที่ท่านทราบผลไขมันในเลือดให้พิจารณาว่าไขมันสูงหรือไม่

ต้องรู้ระดับไขมันในเลือดโดยการเจาะเลือด ไขมันที่ต้องการรู้มี 3 ตัว

LDL Cholesterol เป็นเป้าหมายหลักที่จะรักษา

<100 ค่าที่ต้องการ
100-129 ค่าใกล้เคียงปกติ
130-159 ค่าค่อนไปทางสูง
160-189 สูง
>190 สูงมาก

Triglyceride

<200 ค่าที่ต้องการ
200-239 สูงปานกลาง
>240 สูง

HDL Cholesterol

<40 ต่ำสูง
>60 สูง

สิ่งที่ควรพิจารณาในการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติมีดังนี้

ขั้นตอนที่1

การตรวจเลือดและตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นก่อนเริ่มการรักษา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีไขมันชนิดใด ผิดปกติ ตรวจการทำงานของตับและทำงานของไต ตรวจน้ำตาลในเลือด หาสาเหตุที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดผิดปกติเช่นกลุ่มโรคไตรั่ว nephrotic syndrome,ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย hypothyroidism ซึ่งระดับไขมันอาจกลับมาเป็นปกติได้โดยการรักษาโรคต้นเหตุ ควรตรวจเอนไซม์ตับว่าผิดปกติอยู่ก่อนเริ่มยาหรือไม่ ซึ่งอาจนำมาใช้เปรียบเทียบกับค่าภายหลังการรักษาด้วยยา

ขั้นตอนที่2

ประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่น นอกจากไขมันผิดปกติ แล้วนำมาคำนวณว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากหรือน้อยเพียงใดใน การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินที่เหมาะสมที่ใช้อ้างอิงอยู่ในขณะน้ั้นและ ดำเนินการ รักษาทุกปัจจัยเสี่ยงไปพร้อมๆกันหากต้องใช้ยา ควรเลือกชนิดและขนาดยาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ปลอดภัย และ คุ้มค่า ให้สำรวจดูว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบข้างล่างนี้กี่ข้อ

  • สูบบุหรี่
  • ความดันโลหิตสูง (มากกว่า 140/90 หรือกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิต)
  • HDL<40 มก.%
  • อายุ(ชายอายุมากว่า 45 ปี หญิงอายุมากกว่า 55 ปี หากอายุมากกว่านี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง)
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย(ชายเป็นก่อนอายุ 55 ปีหญิงเป็นก่อนอายุ 65 ปี)
  • ระดับน้าตาลในเลือดสูง
  • น้าหนักเกินและอ้วน
  • การขาดกิจกรรมทางกาย
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ
  • พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ภาวะเลือดข้น
  • โปรตีนในปัสสาวะ
  • หัวใจห้องล่างซ้ายโต *

หากว่าค่า HDL ของคุณมากกว่า 60 มก.%ให้หักความเสี่ยงที่ได้ลงไปหนึ่ง เช่นหากคุณเป็นผู้ชายอายุ 55 ปี สูบบุหรี่ เป็นความดันโลหิตสูง LDL=35มก.% HDL=65 มก.% คุณมีปัจจัยเสี่งทั้งหมด 4-1=3 ข้อ

หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจมากกว่า 2 ข้อ(ไม่นับรวม LDL)โดยที่ไม่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ให้เปิดตารางดูว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคหัวใจใน 10 ปีเป็นเท่าใดโดยดูตารางนี้ ผู้ชายคลิกที่นี่ ผู้หญิงคลิกที่นี่ หรือคลิกที่นี่เพื่อคำนวณความเสี่ยง

เมื่อคุณได้อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว ทางปฏิบัติจะแบ่งเป็น 3 ระดับ

  • มากกว่า 20% = CHD risk-equivalent
  • 10-20% ความเสี่งสูงปานกลาง
  • น้อยกว่า10%

ขั้นตอนที่ 3

ประเมินทางคลินิกให้ทราบว่าผู้ป่วยเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้วหรือไม่ บางกรณีการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายที่ไม่มีอาการ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองในคนอ้วน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคไต โรคหลอดเลือดขาตีบ โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการวิ่งบนสายพานแล้วตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทำ ultrasound เพื่อดูความหนาของผนังหลอดเลือด การตรวจปัสสาวะ การทำงานของไต เป็นต้นหากมีหลักฐานว่า เคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนแล้ว จะจัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง ควรเลือกใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติที่มีประสิทธิภาพสูง แม้ในกรณีที่ระดับไขมันไม่สูงมากก็ตาม แพทย์ผู้รักษาต้องทราบประสิทธิภาพของยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ แต่ละชนิดว่าเหมาะสมกับความเสี่ยงของผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่หรือไม่

ให้คุณสำรวจว่าคุณเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งหรือไม่ หรือโรคอื่นเช่น โรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆที่จัดเทียบเท่าโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้แก่

ขั้นตอนที่4

มาจัดกลุ่มความเสี่ยงเพื่อกำหนดเป้าหมายในควบคุมระดับ LDL

ขั้นตอนที่ 5

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดาเนินชีวิตของผู้ป่วย จะช่วยให้การป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดประสบผลสาเร็จมากขึ้น เพราะไม่เพียงทาให้ระดับไขมันดีขึ้น แต่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆลงด้วย เช่น ลดความดันโลหิต ควบคุมระดับน้าตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ทาให้ไม่ต้องใช้ยาขนาดสูงในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลง และหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์จากยา

โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม [Therapeutic lifestyle change ]ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1.ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอาหารดังนี้

  • พลังงานที่มาจากไขมัน 25-35 %ของพลังงานทั้งหมด
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 7 %
  • รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวแบบเชิงซ้อน polyunsaturated เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด
  • ไขมันไม่อิ่มตัวแบบเชิงเดี่ยว monounsaturated เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของพลังงานทั้งหมด
  • รับประทาน
  • และปริมาณไขมัน cholesterol <200 mg%
  • รับประทานพวกแป้งให้ได้พลังงาน 50-60%ของพลังงานทั้งหมด
  • รับประทานโปรตีน 15 %ของพลังงานทั้งหมด
  • ให้รับประทานใยอาหารมากกว่า 20-30 กรัม/วันและ stanol มากกว่า 2 กรัม/วัน
  • พลังงานที่รับทั้งวันขึ้นกับการทำงาน การออกกำลังกาย และน้ำหนักรายละเอียดอ่านที่นี่

2.ให้ลดน้ำหนัก

น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียคือน้ำหนักที่ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23 รายละเอียดอ่านที่นี่

3.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเพิ่มให้ร่างกายใช้พลังงานเพิ่มและลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน รายละเอียดอ่านที่นี่

ขั้นตอนที่ 6

หลังจากการรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3 เดือนแล้วระดับ LDL ยังเกินเป้าหมายจะต้องใช้ยารักษา การใช้ยาจะทำควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ยาที่ใช้รักษาไขมันมีดังนี้

  1. การใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติบางครั้งจำเป็นต้องลดขนาดยา หรือ หยุดยาชั่วคราว หรือ ถาวร จะพิจารณาปรับลดขนาด หรือ หยุดยาเมื่อ
    1.1 เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา เช่นกล้ามเนื้ออักเสบจากยา myopathy, rhabdomyolysis จากการใช้ยา statin ทั้งสองภาวะจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ
    1.2 ปฏิกิริยาระหว่างกันกับยาตัวอื่นที่ได้รับอยู่ โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
    1.3 มีการทางานของตับหรือไตลดลง
    1.4 ในกรณีที่ใช้ statin ถ้าพบว่า LDL-C ในเลือด < 40 มก./ดล. สองครั้งติดต่อกัน อาจพิจารณาลดขนาดยา statin ลง
    1.5 ไม่ควรเริ่มยารักษาภาวะไขมันผิดปกติเพื่อการป้องกันแบบปฐมภูมิ ในผู้ป่วยที่การให้ยาดังกล่าวมีประโยชน์น้อยกว่าผลเสียจากยา เช่น ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 7

คุณต้องค้นหาว่าตัวคุณมีภาวะ Metabolic อsyndrome คือภาวะที่มีกลุ่มของอาการโดยสาเหตุเกิดจากหลายๆสาเหตุ สาเหตุที่สำคัญคือภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งจะพบภาวะนี้ในผู้ป่วยก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวาน การที่จะทราบว่ามีกลุ่มอาการนี้หรือไม่ลองดูตารางข้างล่างนี้หากคุณมี 3 ข้อขึ้นไปถือว่าคุณมีภาวะ Metabolic syndrome

ปัจจัยเสี่ยงต่อ Metabolic syndrome เกณฑ์การวัด
1.อ้วนลงพุง โดยการวัดเส้นรอบเอว
    ผู้ชาย        ผู้ชาย< 102ซม(เอเชียไม่เกิน 90 ซม)
    ผู้หญิง        ผู้หญิง< 88 ซม(เอเชียไม่เกิน 80 ซม)
2.Triglyceride >150 mg.%
3.HDL Cholesterol  
    ผู้ชาย <40mg%
    ผู้หญิง <50mg.%
4.ความดันโลหิต >130/85 mmHg
5.ระดับน้ำตาล >110 mg.%

เมื่อสำรวจแล้วหากคุณพบว่าคุณมีมากกว่า 3 ข้อคุณต้องรักษาภาวะ Metabolic syndrome ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้

  1. รักษาโรคหรือภาวะพื้นฐาน
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกาย
  1. รักษาโรคอื่นที่เป็น
  • รักษาความดันโลหิตสูง
  • รับประทาน aspirin ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • รักษาโดยการลด triglyceride และเพิ่ม HDL

ขั้นตอนี่8

หลังจากที่สามารถควบคุมระดับ LDL ได้ตามเป้าหมายแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะให้การรักษาระดับ Triglyceride เป็นลำดับต่อมา ค่าปกติของระดับ Triglyceride

<150 ค่าปกติ
150-199 สูงเล็กน้อย
200-499 สูง
>500 สูงมาก

ในการรักษาระดับ Triglyceride จะแบ่งระดับตามความรุนแรงดังนี้

  1. ระดับ Triglyceride น้อยกว่า 150มก.%
  • เป้าหมายให้คุม LDL ให้ได้ตามเป้าหมาย
  • ลดน้ำหนักให้ได้ตามเกณฑ์
  • ออกกำลังกาย
  1. หากระดับ Triglyceride ยังมากกว่า 200 มก.%จะต้องให้ยาเพื่อลดระดับของ Non-HDL-Cholesterol ให้ได้ตามเป้าหมาย วิธีการอาจจะทำได้โดย
  • เพิ่มยาลด LDL
  • เพิ่มยาในกลุ่ม nicotinic หรือ fibrate
  1. หาก Triglyceride มากกว่า 500 มก.%ให้รักษาระดับtriglyceride ก่อนเพื่อป้องกันตับอ่อนอักเสบ
  • ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำกว่ำ 15 %ของพลังงานทั้งหมดหรือจะพูดภาษาชาวบ้านก็คือหลีกเลี่ยงอาหารมันให้มากที่สุด
  • ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย
  • ให้ยาในกลุ่ม fibrate หรือ nicotinic
  • เมื่อระดับ triglyceride น้อยกว่า 500 มก.%จึงค่อยมารักษาระดับ LDL

การรักษาระดับHDL ที่ต่ำกว่า 40 มก%

  • ให้รักษาระดับ LDL ก่อน
  • ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย
  • ถ้าระดับ triglyceride อยู่ระหว่าง 200-499 มก.%ให้คุมระดับ Non-HDL-Cholesterol ให้ได้ตามเป้าหมาย
  • หากระดับ triglyceride น้อยกว่า 200 มก.%ให้ยา fibrate หรือ nicotinic

ขั้นตอนที่ 9

ระดับไขมัน Non-HDL-Cholesterol เป้าหมาย

กลุ่มความเสี่ยง ระดับ LDL เป้าหมาย Non-HDL-Cholesterol
ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน( หรือผู้ที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่า 20%ใน 10 ปี) น้อยกว่า 100 น้อยกว่า 130
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตามขั้นตอนที่3)มากกว่า 2 ข้อ(อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 20%) น้อยกว่า 130 น้อยกว่า 160
ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1 น้อยกว่า 160มก.% น้อยกว่า 190

 

เรื่องที่น่าสนใจ