จะรักษาคนอ้วนเมื่อไร

ทำไมต้องลดน้ำหนัก

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าโรคอ้วนจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูงมีหลักฐานยืนยันว่าการลดน้ำหนักในคนอ้วนจะได้ประโยชน์ดังนี้

  • ลดความดันโลหิตลงได้
  • ลดระดับไขมัน triglyceride ลงได้
  • เพิ่มระดับไขมัน HDL(ไขมันที่ป้องกันหลอดเลือดตีบ)
  • ลดระดับไขมัน LDL(ไขมันไม่ดีหากสูงจะเกาะติดผนังหลอดเลือด)
  • ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง
  • ลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

สมัยก่อนแพทย์จะรักษาโรคอ้วนก็ต่อเมื่อโรคอ้วนนั้นก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนแล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ปัจจุบันแพทย์จะให้ความสนใจเมื่อน้ำหนักเริ่มเพิ่มไม่รอจนกระทั่งเกิดโรคแทรกซ้อน ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและโรคแทรกซ้อน


โรคแทรกซ้อน ณ ระดับความอ้วนต่าง
ดัชนีมวลกาย โรคแทรกซ้อน
<18.5 คุณผอมไป
21-22 น้ำหนักที่เหมาะสม
>22 คุณมีความเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มขึ้น 3 เท่า
>23 อัตราการตายจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
25 อัตราการเกิดโรคเบาหวาน 8 เท่า

อัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า
28 เป็นดัชนีมวลกายที่โรคเบาหวานชนิดที่สอง
30 อัตราเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มขึ้น 40 เท่า
>32 สาเหตุการตายเพิ่มขึ้น เท่าตัว
>40 ไม่สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

จากตารางจะเห็นว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะเริ่มมีโรคแทรกซ้อนดังนั้นควรจะคุมน้ำหนักเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23



การจะรักษาโรคอ้วนจะพิจารณาจากอะไรบ้าง

  1. ระดับความอ้วน และระดับเส้นรอบเอว   
  • ระดับความอ้วนเราสามารถวัดได้จากดัชนีมวลกายค่าปกติของคนประมาณ 20-25 กก/ตม.ระดับที่ต้องรักษาคือดัชนีมวลกายมากกว่า 30โดยที่ไม่มีความเสี่ยงอื่นๆ
  • เส้นรอบเอวจะบ่งบอกว่าคุณจำเป็นต้องรักษาหรือยัง ชายมากกว่า90 ซม.หญิงมากกว่า 80ซม.ภาวะดังกล่าวต้องรีบลดน้ำหนัก
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23 ไม่ต้องรักษานอกจากแนะนำให้ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกายประมาณ25 ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานเช่นมีพี่ น้อง พ่อแม่เป็นเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แนะนำให้ลดน้ำหนักลงจนดัชนีมวลกายประมาณ 22
  1. ผู้ป่วยมีโรคเหล่านี้ร่วมด้วยจำเป็นต้องลดน้ำหนักอย่างรีบด่วน
  1. ผู้ป่วยมีโรคที่เกิดจากความอ้วนหรือไม่ เช่น ข้อเสื่อม osteoarthritis นิ่วในถุงน้ำดี gall stone ปวดประจำเดือน ถ้าหากมีโรคดังกล่าวก็ต้องลดน้ำหนัก
  2. ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ หากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจำเป็นต้องลดน้ำหนัก
  3. ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น เช่น

หากท่านผู้อ่านมีน้ำหนักเกินโดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 และมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นควรต้องลดน้ำหนัก