เมื่อไรจึงจะต้องให้ยาลดความดันโลหิต


การรักษาโรคความดันโลหิตสูง จะต้องพิจารณาหลายๆปัจจัย นอกจากระดับความดันโลหิตแล้ว จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ที่จะนำมาพิจารณาว่าจะต้องรีบให้การรักษาความดันโลหิตสูง หรือไม่ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่่

  1. Systolic and diastolic BP levels หากคุณมีความดันโหิตสูงมากกว่า 140/90 ก็ถือว่าคุณมีความดันโลหิตสูง ถือว่าคุณมีความเสี่ยงหนึ่งข้อ
  2. ความแตกต่างระหว่างความดันตัวบนและตัวล่าง หากอายุน้อยกว่า 55 ปีก็ไม่ต้องนำมาคิด แต่หากอายุมากกว่า 55 ปีและมีความดันโลหิตแตกต่างระหว่างตัวบน (systole) และความดันโลหิตตัวล่าง (diastole) มากกว่า 50 mmHg ให้ถือว่าเป็นความเสี่ยงข้อหนึ่ง Levels of pulse pressure (in the elderly)
  3. อายุ หากเป็นชายและหญิงอายุมากกว่า 55 ปี และ 65 ปีก็ถือเป็นความเสี่ยง
  4. สูบบุหรี่
  5. ไขมันในเลือดสูง Dyslipidaemia
    • ไขมัน Cholesterol มากกว่า 190 mg/dl(5.0 mmol/l )หรือ
    • ไขมัน LDL-Cมากกว่า 115 mg/d(3.0 mmol/l)หรือ
    • ไขมัน HDL-C:ชายน้อยกว่า 40 mg/dl (1.0 mmol/l),หญิงน้อยกว่า 46 mg/dl (1.2 mmol/l) หรือ
    • ไขมันTG มากกว่า 150 mg/dl (1.7 mmol/l )


  6. เป็นเบาหวานหรือน้ำตาลมากกว่า 102 Fasting plasma glucose 5.6–6.9 mmol/L (102–125 mg/dl)
  7. มีความผิดปกติของการตรวจน้ำตาล Abnormal glucose tolerance test
  8. อ้วนลงพุงมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90,80 ซม ในชายและหญิง
  9. ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในครอบครัว ชายเกิดก่อนอายุ 55 ปีหญิงเกิดก่อนอายุ 65 ปี

ท่านลองนับดูสิว่าท่านมีความเสี่ยงกี่ข้อ แล้วเปิดหน้านเพื่อประเมินว่าท่าน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากหรือน้อย

ความดันโลหิตสูง คำถามที่พบบ่อย

การวินิจฉัยโรคความดัน อวัยวะที่เสียหายจากความดันไม่มีอาการ