ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อท่านได้ไปถึงโรงพยาบาล


 

  1. แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะซักประวัติการเจ็บป่วยของท่าน ประวัติการรักษา อาการสำคัญที่ท่านเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาการเจ็บหน้าอก
  2. ตรวจร่างกายโดยเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ซึ่งจะต้องตรวจวัดความดันโลหิต ชีพขจร การหายใจ และอุณหภูมิ สัญญาณชีพ
  3. หากประวัติและการตรวจร่างกายเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที
  1. เจาะเลือดตรวจหา cardiac enzyme ว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
  2. ประเมินว่าอาการป่วยของท่าน เกิดจากโรคอื่น เกิดจากหัวใจขาดเลือดซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มอาการ angina กลุ่มอาการ unstable stable angina , กลุ่ม Non Q Myocardial infarction,กลุ่มอาการ ST Elevate Myocardial infarction
  3. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและผลเลือดไม่เหมือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ให้อยู่สัเกตอาการ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจเลือดซ้ำ
  4. สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจซ้ำทั้งคลื่นไฟฟ้าและผลเลือดปกติ แนะนำให้มาตรวจหัวใจโดยอาจจะใช้การวิ่งสายพานหรือใช้ยากระตุ้นให้หัวใจทำงานเพื่อจะตรวจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
  5. สำหรับผู้ป่วยที่ผลการตรวจร่างกาย ผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และผลเลือดเข้าได้กลับกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะต้องได้รับการประเมินว่า 1กลุ่มที่สาเหตุน่าจะเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด 2 ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
  6. แพทย์จะให้การรักษาตามความหนักหรือความรุนแรงของโรค



การรักษา

จุดมุ่งหมายของการรักษา คือ

  • ทำให้อาการ เจ็บ แน่นหน้าอกดีขึ้น ป้องกันการเกิด AMI หรือ reinfarction
  • ป้องกันการเกิด sudden cardiac death

การที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

ขั้นตอนการรักษามีดังนี้

  1. ให้ผู้ป่วยนอนพัก ติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ
  2. ให้ออกซิเจน และติดตามระดับออซิเจนให้มากกว่า 90 %
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการแน่หน้าอกความจะได้อมยาNTG ทุก 5 นาที 3 ครั้ง
  4. หากอมยาแล้วไม่หายปวดก็จะพิจารณาให้ยา NTG ทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 48 ชมเพื่อรักษาภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง
  5. ให้ Beta-blocker ภายใน 24 ชมหากไม่มีข้อห้ามดังต่อไปนี้
  • หัวใจวาย
  • หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายน้อย low output state
  • มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจ
  • ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น หัวใจเต้นช้า โรคหอบหืด
  1. หากไม่สามารถให้ยากลุ่ม Beta-blocker ก็อาจจะพิจารณาให้ยา verapamil หรือ diltiazem แทน
  2. ให้ยากลุ่ม ACE Inhibitor ภายใน 24 ชมในรายที่มีหลักฐานว่าหัวใจทำงานน้อยแต่ยังไม่มีภาวะความันโลหิตต่ำ
  3. หากผู้ป่วยทนต่อยาในกลุ่ม ACE Inhibitor ไม่ได้ก็ให้ยากลุ่ม angiotensin blocker แทน
  4. การดูแลรักษาทั่วไป: เช่นการพัก, ให้ออกซิเจน, การให้ยานอนหลับ และ ยาแก้ปวด เช่น morphine รวมถึงการแก้ไขปัจจัยส่งเสริม เช่น เช่น ภาวะโลหิตจาง, ติดเชื้อ, หัวใจเต้นผิดปกติ, คอพอกเป็นพิษ เป็ นต้น
  5. ยาที่ใช้รักษาแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

หลักการรักษา | การรักษาทั่วไป | การรักษาเพื่อเพื่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ | การรักษาที่บ้าน