การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดเบี่ยงทางหลอดเลือด มีด้วยกันสองชนิดคือ

Traditional Coronary Artery Bypass Grafting

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะใช้เวลา 3–6ชั่วโมงขึ้นกับจำนวนหลอดเลือดที่ตีบและต้องผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือด ขั้นตอนผ่าตัดคร่าวๆมีดังนี้

  • วิสัญญีแพทย์จะดมยาสลบ ระหว่างนั้นจะตรวจวัดความดันโลหิต ติดตามการเต้นของหัวใจ ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ศัลยแพทย์จะผ่าตัดบริเวณกลางหน้าอก แผลผ่าตัดจะยาว 6-8 นิ้ว ตัดกระดูกกลางหน้าอก และเปิดทรวงอก
  • แพทย์จะให้ยาเพื่อให้หัวใจหยุดเต้น เพื่อที่จะผ่าตัดในขณะที่หัวใจหยุดเต้น
  • แพทย์ต่อเครื่องปอดและหัวใจเทียม
  • แพทย์จะนำหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำมาต่อกับกับเครื่องปอดและหัวใจเทียม
    • ใช้หลอดเลือดแดงโดยใช้เส้นเลือดที่เรียกว่า left internal mammary arteryซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงที่ใช้ต่อมากที่สุด
    • ใช้เส้นเลือดดำโดยใช้เส้นเลือดดำจากขา
  • เมื่อต่อเส้นเลือดเสร็จก็จะนำเลือดเข้าสู่หัวใจ และกระตุ้นให้หัวใจเต้นอีกครั้ง
  • นำเครืองปอดและหัวใจเทียมออก
  • ใส่ท่อระบายเลือด
  • เย็บปิดหน้าอก

 



Nontraditional Coronary Artery Bypass Grafting

เป็นการผ่าตัดที่ไม่ต้องผ่าที่กระดูกกลางหน้าอก แต่ใช้วิธีผ่าทางข้างซ้าย และใช้วิธีถ่างกระดูก โดยมากแผลผ่าตัดจะยาว 3 นิ้ว

การผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็ก (Minimally Invasive Direct Coronary Artery Bypass Grafting)โดยทั่วไปศัลยแพทย์หัวใจจะทำการผ่าตัดหัวใจโดยการเปิดแผลขนาดใหญ่บริเวณหน้าอกของผู้ป่วย แต่การผ่าตัดวิธีนี้จะผ่าตัดแผลเล็กที่ด้านซ้าย และใช้วิธีถ่างซี่โครงแทน แต่จะใช้ไม่ได้กับเส้นเลือดที่ตีบมากกว่าหนึ่งเส้น

ข้อดีคือทำให้

  1. อาการปวดแผลลดน้อยลง
  2. อาการเจ็บบริเวณสันอกที่ถูกผ่าตัดน้อยลง
  3. เส้นประสาทและเนื้อเยื่อถูกทำลายน้อยลง

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG)

โดยทั่วไปศัลยแพทย์หัวใจต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG)ในการผ่าตัดหัวใจเพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทั้งหมด แต่มีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ CABG โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) โดยใช้เครื่องมือเกาะยึดหัวใจในจุดที่ทำการผ่าตัดหลอดเลือดให้หยุดนิ่ง และหัวใจไม่ต้องหยุดเต้น ข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้คือ

  1. ไม่มีอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม ซึ่งอาจพบได้ 2-3% แต่เกิดปัญหามาก เช่น ปอดเสื่อมเนื่องจากการแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่เพียงพอ ไตวายชั่วคราว stroke หลังผ่าตัด เลือดไม่แข็งตัวทำให้เลือดออกไม่หยุด เป็นต้น
  2. ทำให้ใช้ปริมาณเลือดน้อยลง
  3. ทำให้ลดระยะเวลาในการผ่าตัดและการดมยาสลบให้สั้นลง
  4. ระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลก็สั้นกว่าแบบเดิม

 

แพทย์จะใช้เส้นเลือดไหนมาต่อ

 โดยทั่วไปศัลยแพทย์หัวใจจะเลือกใช้หลอดเลือดดำที่ขานำมาทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจเพราะเส้นเลือดดำมีขนาดใหญ่ เลาะง่ายกว่า สะดวกกว่า แต่การใช้หลอดเลือดแดงจากด้านในของหน้าอก และจากแขนร่วมกับหลอดเลือดแดงจากกระเพาะอาหาร ซึ่งให้ผลดีมากต่อผู้ป่วยในระยะยาว หลอดเลือดแดงที่ใช้ทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า และอัตราการกลับมาตีบซ้ำน้อยกว่าหลอดเลือดดำ สำหรับแผลผ่าตัดที่แขนเป็นเพียงแผลเล็กๆ ทำให้อาการปวดแผลที่แขนน้อยลง และการผ่าตัดโดยไม่ใช้หลอดเลือดดำจากบริเวณด้านในของขาข้างใดข้างหนึ่งนั้น ทำให้คนไข้สามารถลุกขึ้นเดินและเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น

หลอดเลือดที่จะนำมาใช้ได้แก่

Left internal mammary artery (LIMA)

เป็นหลอดเลือดที่นำมาใช้กันมาก อัตราการตีบของหลอดเลือดต่ำ มีความเหมาะอย่างยิ่ง เพราะขนาดและความหนาผนังหลอดเลือดพอเหมาะกับหลอดเลือดหัวใจ และเมื่อเลาะจากผนังทรวงอกลงมาก็สามารถวางพาดด้านบนของหัวใจต่อกับ LAD, diagonal artery ได้พอดี     

Right internal mammary artery (RIMA)

มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ LIMA แต่ความยาวที่เลาะได้มักจะทำให้ต่อถึงแค่ right coronary artery ถ้าจะต่อกับ coronary artery เส้นอื่น เช่น posterior descending artery ซึ่งต่อมาจาก right coronary artery ก็ต้องทำเป็น free graft    

 Radial artery

เป็น arterial conduit ที่เหมาะ และมี patency ที่ดี

Gastroepiploic artery

เป็นหลอดเลือดแดงที่ดี เหมาะสำหรับต่อกับ coronary artery ที่ inferior surface ของหัวใจ

Long saphenous vein

แม้ว่าผลระยะยาวจะไม่ดีเท่าหลอดเลือดแดง แต่ก็ยังเป็นหลอดเลือดที่ใช้กันมากที่สุด   เพราะเลาะออกได้ง่าย ยาว เร็ว และเย็บต่อได้ง่าย     

Lesser saphenous vein

และ cephalic vein เป็น venous conduit ที่ใช้กันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว และ conduit ที่นิยมใช้ได้รับการตัดไปใช้แล้ว

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด การดูแลตัวเอง

เพิ่มเพื่อน