หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)หรือโรคหลอดเลือดแดงขาตีบ

 

ท่านเคยปวดขาหรือขาไม่มีแรงเมื่อเดินบ้างหรือไม่

เวลาที่ท่านเดินเร็วๆ เดินขึ้นบันได หรือแม้ขณะเดินเล่น แล้วเกิดอาการปวดเมื่อยที่น่อง และสะโพก เมื่อพักสักครู่แล้วหายปวด อาการอย่างนี้เป็นตลอด และจะปวดเมื่อเดินด้วยระยะทางเท่าๆเดิม อาการเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจจะมีอาการของเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาน้อยลง จึงเกิดตะคริวหรือปวดเมื่อยเวลาเดิน ไม่มีการรักษาใดที่จะทำให้โรคนี้หายเป็นปลิดทิ้งทันที

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และทำให้หลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรือตัน ในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี พบโรคนี้น้อยกว่า 3% แต่ในคนที่อายุมากกว่า 70 ปี พบถึง มากกว่า 20% พบทั้งในเพศชายและเพศหญิงไม่ต่างกัน ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ แม้จะไม่มีอาการใดๆ ปรากฎก็มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองสูง และในความเป็นจริงผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบก็เสียชีวิตจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

อาการแสดงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

หากเส้นเลือดตีบไม่มาก หรือ อาจจะมีการไหลเวียนของเลือดจากเส้นเลือดใกล้เคียง ทำให้ไม่มีอาการอะไรเลย ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น เลือดไปเลี้ยวอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่ตรวจพบด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง ABI (Ankle-brachial index) ไม่แสดงอาการใดๆ ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการ

โดยเฉพาะเมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆ หายๆ ทางการแพทย์เรียก Intermittent Claudicatioin เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น จะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก

หากท่านมีอาการดังกล่าว ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

 

 

ตั้งแต่วันนี้ ด้วยเครื่องตรวจโรคหลอดเลือดส่วนปลาย หรือ ABI ได้ที่โรงพยาบาลสุขุมวิท

 

สัญญาณเตือน

หลอดเลือด

โดยเฉพาะ เมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆหายๆทางการแพทย์เรียก Intermittent Claudication เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นจะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก

การไหลเวียนของเลือด

เลือดจะเริ่มตนจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย เลือดดำหรือเลือดที่ได้ไปเลี้ยงร่างกายจะกลับไปทางหลอดเลือดดำ และกลับเข้าสู่หัวใจ



ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงขาตีบ

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบ ปัจจัยต่างๆได้แก่

เมื่อไปพบแพทย์

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

ประวัติและการตรวจร่างกาย

สิ่งที่สังเกตเห็นเมื่อเส้นเลือดแดงตีบ

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงขาตีบ

หากการตรวจเบื้องต้นพบว่า หลอดเลือดแดงตีบค่อนข้างมาก และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข ท่านอาจจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดเพิ่มเติม โดยอาศัยพิธีพิเศษร่วมกับการถ่ายภาพรังสีต่อเนื่อง จะช่วยให้ตรวจการไหลเวียนของโลหิตและตำแหน่งของการตีบแคบหรืออุกตันได้

นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบ เช่น

การรักษาหลอดเลือดแดงขาตีบ

การที่เกิดหลอดเลือดแดงตีบไม่ใช่เกิดจากการเสื่อมจากอายุ แต่เป็นการเกิดหลอดเลือดตีบจากโรค atherosclerosis หากเกิดหลอดเลือดแดงที่ขาตีบจะต้องคำนึงถึงว่าอาจจะมีหลอดเลือดที่อื่นตีบ เช่นหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น

การรักษาทั่วๆไป

การรักษาด้วยยา

การให้ยา Beta-block ,estrogen อาจจะทำให้อาการเส้นเลือดแดงตีบเป็นมากขึ้น

หากการรักษาด้วยยาแล้วยังมีอาการปวดต้องรักษาด้วยวิธีอื่น

การป้องกันหลอดเลือดแดงขาตีบ

ติดต่อกับแพทย์ประจำตัวของท่านหากมีอาการดังต่อไปนี้