การป้องกันโรคหัวใจ

 

โรคหัวใจเป็นโรคที่ป้องกันได้ การป้องกันโรคหัวใจทำได้โดยควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ ให้เรารู้เท่าทันโรคก็จะป้องกันโรคนี้ได้

การป้องกันโรคหัวใจจะเริ่มเมื่อใด

ผู้คนทั่วไปมักจะละเลยการป้องกันโรค รู้อีกทีก็เป็นโรคไปแล้วจะเรียกว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาก็ได้ การป้องกันควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเพราะว่าหากเริ่มช้า การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ได้มีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว เพราะฉนั้นหากเราเริ่มตอนกลางคนผลการควบคุมอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่วัยรุ่น บางท่านผ่านวัยรุ่นมาแล้วก็ให้ทำทันที

การป้องกันโรคหัวใจควรทำอย่างไร

ไขมันอิ่มตัว

การป้องกันโรคหัวใจมีหลักง่ายๆสองข้อคือ

  1. เรียนเรื่องความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  2. การจัดการกับความเสี่ยงนั้น



ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ

ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจมีสองประเภทคือ

ประเภทที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

  • อายุ
  • เพศ
  • เชื้อชาติ
  • กรรมพันธ์
  • หญิงวัยทอง

ประเภทที่เปลี่ยนแปลงได้ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • ไขมันในเลือด
  • โรคอ้วน
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด
  • การใช้ยา cocain
  • หญิงที่ทานยาคุมกำเนิด และสูบบุหรี่
  • ความเครียด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะทำการป้องกันทันที หากยังใช้ชีวิตอย่างประมาทก็อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้

เราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร

1การหยุดสูบบุหรี่

หยุดบุหรี่

หากท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจากการสูบบุหรี่มือสอง

  • บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
  • บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

ข่าวดีสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ หากท่านหยุดสูบบุหรี่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยประมาณว่าจะเหมือนคนปกติใน 1 ปี

2การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย

ทุกท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้1ใน4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่น จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออกกำลังกาย

  • ทำให้หัวใจแข็งแรง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
  • ลดระดับความดันโลหิต
  • ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด

แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์ อ่านรายละเอียด

3การรับประทานอาหารสุขภาพ

อาหารเพื่อสุขภาพ

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับป้องกันโรคหัวใจ จะเป็นอาหารที่ป้องกันโรคที่เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งปริมาณอาหารก็ไม่ควรจะเกิน

  • หลีกเลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ได้แก่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว , ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด ฟิสซ่า กล้วยแขก เนย มาร์การีนTran_fatty acid
  • ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
  • รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid
  • อ่านเรื่องที่น่าสนใจ
  • อาหารที่ป้องกันโรคหัวใจ
  • อาหารสุขภาพดี
  • ถั่ว
  • ไขมัน

4การรักษาน้ำหนัก

โรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วนมีด้วยกันสองสาเหตุได้ สาเหตุทางกรรมพันธ์ และสาเหตุทางพฤติกรรม ทางกรรมพันธ์คงจะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ทางพฤติกรรมจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วนร้อยละ 70 ดังนั้นหากมีการปรับพฤติกรรมก็จะสามารถลดน้ำหนักได้ คนอ้วนจะทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม ในชายและหญิงถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค อ่าน

5การตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพหมายถึงการที่ท่านจะต้องพิจารณาว่า ท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือไม่ เช่น การพักผ่อน ความเครียด การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือไม่ หากท่านพบว่าท่านมีความเสี่ยงข้อใด ท่านจะต้องปรับปรุงพฤติกรรม สำหรับบางท่านการตรวจร่างกายโดยการเจาะเลือด และแพทย์ตรวจก็มีความจำเป็นเนื่องจากบางโรคไม่มีอาการ เช่นความดันโลหิตที่เริ่มเป็น ไขมันในเลือดสูง เบาหวานที่เริ่มเป็น ท่านที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ

เป็นการตรวจประจำปี

 

โรคหัวใจ อาการโรคหัวใจ การตรวจโรคหัวใจ การป้องกันโรคหัวใจ