MERS-CoV คืออะไร

 

 

MERS-CoV หรือ Middle East Respiratory Syndrome-Corona Virus เป็นเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่เนื่องจากมีความแตกต่างจากเชื้อโคโรนาไวรัสที่เคยติดเชื้อในคน ผู้ป่วยรายแรกที่พบการติดเชื้อ MERS-CoV พบในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ที่ประเทศ Saudi Arabia ดังนั้นในบางครั้งอาจพบการเรียกชื่อเชื้อชนิดนี้ว่า “เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ปี 2012” 

  • เชื้อโคโรนาไวรัส MERS-CoV เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการตั้งแต่อาการเหมือนไข้หวัด หรือรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตเหมือนไข้หวัดมรณะ
  • อาการที่สำคัญคือ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย มักจะมีปอดบวมร่วมด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการทางเดินอาหารเช่น ท้องร่วง อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 36
  • การติดเชื้อส่วนใหญ่จากคนสู่คน แต่การติดต่อก็ไม่ง่ายนักจะติดต่อแบบใกล้ชิดมาก เช่นการดูแลผู้ป่วยโดยที่ไม่ได้ป้องกัน
  • เชื่อว่วอูฐจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ

แหล่งที่มาของเชื้อ 

ยังไม่ทราบแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสชนิดนี้แต่คาดการณ์ว่าติดต่อมาจากสัตว์เนื่องจากพบเชื้อ MERS-CoV ในอูฐในประเทศกาตาร์ โอมาน อียิปต์ และซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้แล้วยังตรวจพบว่าอูฐในประเทศอื่นอีกหลายประเทศมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ MERS-CoV ซึ่งหมายความว่าอูฐเหล่านั้นอาจเคยติดเชื้อไวรัสชนิดนี้หรือสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงมาก่อน นอกจากนี้แล้วในประเทศซาอุดิอาระเบียยังตรวจพบเชื้อ MERS-CoV ในค้างคาวอีกด้วย 

อาการแสดง 

เชื้อ MERS-CoV ก่อให้เกิดอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจไม่มีอาการ แสดงใดๆ หรือบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเหมือนป่วยเป็นโรคหวัดและหายได้เป็นปกติ จนกระทั่งรุนแรงที่เรียกว่า MERS( Middle East Respiratory Syndrome) ซึ่งประกอบด้วยอาการไอ มีไข้และหายใจลำบาก ผู้ป่วยมักจะมีปอดบวมร่วมด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกราย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาการป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น ท้องเสีย มวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

ในผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรครุนแรงอาจจะรุนแรงอาจเกิดภาวะปอดบวมถึงกับต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือไตวายได้ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคปอด โรคไต จะมีอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ MERS-CoV ได้สูงกว่าคนทั่วไป และจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรครุนแรง สิ่งที่น่าเป็นกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ MERS-CoV คือผู้ป่วยประมาณร้อยละ 36 จะเสียชีวิต

การติดต่อและระบาดวิทยา 


ประเทศที่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 คือ

  • ตะวันออกกลาง Jordan, Kuwait, Oman, Qatar, Saudi Arabia, the United Arab Emirates, and Yemen อิหร่าน และเลบานอน
  • ยุโรป France, Germany, Greece, Italy, and the United Kingdom
  • แอฟริกา Tunisia and Egypt อัลจีเรีย
  • เอเซีย Malaysia, the Philippines Korea
  • อเมริกา the United States of America (Americas).

โดยยังไม่พบผู้ติดเชื้อนี้ในประเทศไทย แต่ก็พบว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากมีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวแถบตะวันออกกลางเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ทำให้อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้

  • การติดต่อจากสัตว์สู่คน ยังไม่มราบแน่ชัดว่าติดต่ออย่างไร แต่เชื่อว่าอูฐจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และจากศึกษาก็ยังไม่พบว่าสัตว์ชนิดอื่นจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ
  • การติดต่อจากคนสู่คน การติดต่อของเชื้อ MERS-CoV นั้นพบในบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น บุคลากรทางการแพทย์ บุคคลในครอบครัว เป็นต้น การติดต่อจากคนสู่คนไม่ง่ายนักจะต้องมีความใกล้ชิดกันค่อนข้างมาก เช่นการดูแลผู้ป่วยโดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ยังไม่พบการแพร่ระบาดในชุมชน

การเฝ้าระวัง

จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าเชื้อ MERS-CoV มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2 – 14 วัน ดังนั้นหากผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ และภายใน 14 วัน ก่อนหน้ามีประวัติเดินทางไปในประเทศในคาบสมุทรอาหรับ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศในคาบสมุทรอาหรับ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง แต่ไม่สามารถหาเชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคได้ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ MERS-CoV 

การป้องกันและการรักษา

 

เนื่องจากเชื้อ MERS-CoV เป็นเชื้ออุบัติใหม่ ในปัจจุบันจึงยังไม่มียาต้านไวรัส หรือวัคซีนที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย

การป้องกันโรค เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ปี 2012

ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ

  • การปฏิบัติตนตามแนวทางการดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น การทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การล้างมือ การใช้ช้อนกลาง การใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการป่วย เป็นต้น
  • หากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ควรดูแลสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังตลาด ฟมาร์เลี้ยงสัตว์ หรือสถานที่มีสตว์ที่แพร่เชื้อ
  • หากมีความจำเป็นต้องไปแหล่งดังกล่าวให้ดูแลสุขอามัยเป็นพิเศษ การล้างมือก่อนและหลังสัมผัสสัตว์ ไม่สัมผัสสัตว์ที่ป่วย
  • ไม่รับประทานเนื้อที่ไม่สุข หรือนมสดเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เมื่อป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการรุนแรงควรจะหลีกเลี่ยงการไปยังประเทศเหล่านี้และหลีกเลี่ยงอาหารดิบๆ

แนวทางการเฝ้าระวัง

 สำนักงานระบาดวิทยาได้จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ในประเทศไทย โดยกลุ่มผู้ป่วยที่จะต้องทำการเฝ้าระวัง ได้แก่

  1. ผู้ป่วยปอดบวมรุนแรง หรือมีภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  2. ผู้ป่วยปอดบวมที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
  • อาศัยหรือเดินทางจากประเทศแถบตะวันออกกลางในช่วง 14 วันก่อนป่วย
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยปอดบวมในช่วง 14 วันก่อนป่วย
  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เข้าข่าย หรือ ผู้ป่วย ในช่วง 14 วันก่อนหรือหลังป่วย
  • ผู้ป่วยปอดบวมที่เกิดเป็นกลุ่มก้อน คือ พบผู้ป่วยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ที่เวลาเริ่มป่วยห่างกันไม่เกิน 14 วัน ในชุมชนเดียวกัน
  1. ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เข้าข่าย หรือ ผู้ป่วย ในช่วง 14 วันก่อนหรือหลังป่วย

คำแนะนำในการปฏิบัติตัว

  1. ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ โดยควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที หรืออาจใช้แอลกอฮอล์เจลแทนได้ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการไอ จาม     
  3. ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่แออัด หากจำเป็นต้องเข้าไปในที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  4. แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย ในกรณีที่มีอาการไอ จาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

คำแนะนำสำหรับนักท่อเที่ยวที่ไปยังประเทศที่มีเชื้อดรคนี้อยู่

จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน

  • แจ้งให้ผู้ที่ท่องเที่ยวทราบว่าพื้นนั้นมีโรค เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม หากผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่จะติดเชื้อได้ง่ายและอาจจะเกิดอาการรุนแรงได้ง่าย
  • เน้นให้ผู้ท่องเที่ยวดูแลสุขอนามัยให้ดี เช่น การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หลีเลี่ยงอาหารไม่สุข รับประทานผักและผลไม้ที่ล้างสะอาดแล้วเท่านั้น
  • แจ้งนักท่องเที่ยวหากเกิดอาการมีไข้หรืออาการไข้หวัด ต้องไม่ไปในที่แออัด ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม ทิ้งกระดาษชำระลงถัง ล้างมือหลังจากหรือไอ และแจ้งเจ้าหน้าที่
  • แจ้งนักท่องเที่ยวที่กลับจากเที่ยวแหล่งระบาดให้ทราบว่าหากภายใน 2 สัปดาห์หลังกลับมีไข้ไอ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าเพิ่งจะกลับจากประเทศอะไร
  • แจ้งรายชื่อผู้ที่ดูแลท่านอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะเฝ้าระวังการติดเชื้อ

การป้องกัน

สถานการณ์ของเกาหลีขณะนี้(11กค2558)ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ที่ต้องเฝ้าระวังก็ลดลง น่าที่จะควบคุมโรคได้แล้ว http://www.mers.go.kr/mers/html/jsp/Menu_C/list_C4.jsp?menuIds=&fid=5767&q_type=&q_value=&cid=64187&pageNum=

เอกสารอ้างอิง

  1. http://www.who.int/mediacentre/news/situation-assessments/2-june-2015-south-korea/en/
  2. Center for Disease Control and Prevention. Middle East Respiratory syndrome [internet]. 2014 [cited 2014 Apr 11].
  3. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 [internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2557].
  4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน และความคืบหน้าการดำเนินงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 (MERS-CoV)[internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2557].
  5. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.สถานการณ์ผู้ป่วยโคโรน่าไวรัส 2012[internet]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค.2557].
  6. คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาและการป้องกันควบคุมการติดเชื้อผู้ป่วยMERS-CoV.2556 ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2556 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2557].

เรื่องที่เกี่ยวข้อง