การจัดบริการรักษาผู้ป่วยวัณโรค (Organization of tuberculosis treatment unit)

จำเป็นต้องมี โดยประกอบด้วยมาตรการดัง ต่อไปนี้



  1. มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบแน่นอน
  2. มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยใน TB Registered book (รบ 1 ก.04) การนัดหมาย/การมาติดต่อ รับการรักษาแต่ละครั้ง/ช่วงที่เหมาะสม เช่น ไม่เกิน เดือนละครั้ง ฯลฯ ตลอดจนการบันทึกผลการตรวจ ติดตามผู้ป่วย มีการตรวจสอบการมารับการรักษา ตามนัดและมีมาตรการติดตามถ้าผู้ป่วยผิดนัด เช่น โดยใช้โทรศัพท์ จดหมาย แจ้งให้หน่วยงานใกล้ที่อยู่ ผู้ป่วยช่วยติดตามโดยไม่ชักช้าในระยะเข้มข้นผิดนัด 2 วัน ต้องตามทันที, ในระยะต่อเนื่อง ผิดนัด 7 วัน ตามทันที
  3. ให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ให้ เข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษา โดยสม่ำเสมอ และครบถ้วน
  4. มีการเตรียมยาให้ผู้ป่วยกินได้โดยง่าย และสะดวก เช่น รวมยาหลายขนานไว้ในซองตาม ขนาดกินครั้งเดียวต่อวัน หรือการใช้เม็ดยาที่รวม 2 หรือ 3 หรือ 4 ขนาน (Fixed-dose combination) ที่ได้ มาตรฐานในการผลิตและมีการศึกษา Bioavailability ในคนโดยถูกต้องจากสถาบันที่เชื่อถือได้
  5. มียารักษาวัณโรคที่มีคุณภาพมาตร ฐานสำหรับจ่ายสม่ำเสมอโดยไม่ขาดแคลน และ คอยป้องกันมิให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการไม่อาจมารับ การรักษาได้สม่ำเสมอ เพราะไม่มีเงินค่ายา โดย พร้อมที่จะจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยโดยไม่ต้องเก็บเงินค่า ยา/ค่าตรวจรักษา
  6. ให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วยในเรื่องเวลา ให้บริการ พิธีการต่างๆ ไม่ยุ่งยากผู้ป่วยไม่ควรรอ นาน "บริการประทับใจ" (การแสดงความห่วงใยและ การให้บริการที่ดีของหน่วยบริการ เช่น การช่วยแก้ ปัญหาอุปสรรคของผู้ป่วยในการมารับการรักษา การ แจ้งผลก้าวหน้าในการรักษา ฯลฯ) เป็นปัจจัยสำคัญ อีกข้อหนึ่งที่จูงใจให้ผู้ป่วยมารับการรักษาสม่ำเสมอ
  7. มีระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ เช่น การส่งต่อไปยังสถานบริการที่อยู่ใกล้บ้านผู้ป่วย เป็นต้น
  8. ต้องพยายามให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกราย หรืออย่างน้อย ผู้ป่วยที่ตรวจเสมหะพบเชื้อวัณโรค ด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้รับการรักษา โดยควบคุมการ กินยาเต็มที่ (Fully supervised therapy) หรือกินยา ระบบยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (Directly observed treatment short course-DOTS) ของเจ้า หน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคร หรือผู้นำชุมชน หรือ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยเองที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยครบถ้วนและป้องกัน การเกิดดื้อยาของเชื้อโรค

ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพ ดี สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ การรักษาจะได้ ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ

  1. การใช้ยาอย่างถูกต้อง
  2. การที่ผู้ป่วยได้กินยาโดยครบถ้วน ยาที่แนะนำให้ใช้มีหลายขนาน (ตารางที่ 1) โดยต้องให้ยาครั้งละหลายขนานตามระบบยาที่แนะ นำซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีในการรักษา เพื่อ ให้ยาสามารถทำลายเชื้อที่อยู่ในพยาธิสภาพได้หมด และที่สำคัญห้ามใช้ยา, เพิ่มยา หรือเปลี่ยนยาทีละ ขนาน

ตารางที่ 1 ยารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพดี

ชื่อ ใช้ยาทุกวัน ให้ยาสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (สำหรับผู้ใหญ่) ฤทธิ์ข้างเคียงที่ สำคัญ
ผู้ใหญ่ เด็ก
Isoniazid (H) 300 มก./วัน 5(4-6) มก./กก./วัน 10(8-12) มก./กก. ตับอักเสบ
Rifampicin (R)

>50กก.ให้ 600 มก./วัน

<50กก.ให้ 450 มก./วัน

10(8-12) มก./กก./วัน 10(8-12) มก./กก. ตับอักเสบ อาการ คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถ้าให้ยาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
Streptomycin (S)

>50 กก.ให้ 1 กรัม/วัน

< 50 กก.ให้ 0.75 กรัม/วัน

15(12-18) มก./กก./วัน ไม่เกินวันละ 1 กรัม 15(12-18) มก./กก. หูตึง เสียการทรงตัว
Pyrazinamide (Z) 20-30 มก./กก./วัน 25(20-30) มก./กก./วัน 35(30-40) มก./กก. ตับอักเสบ ผิวหนังเกรียม แพ้แดด ปวดมือ
Ethambutol (E) 15-25 มก./กก./วัน 15(15-20) มก./กก./วัน 30(25-30) มก./กก. ตามัว และอาจตาบอดได้

** หมายเหตุ : มก. = มิลลิกรัม กก. = กิโลกรัม

นอกจากนี้ยังมียาสำรองบางชนิดที่หาซื้อได้ยาก ราคาแพง ประสิทธิภาพปานกลางหรือต่ำ และมี ฤทธิ์ข้างเคียงสูง (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ยาสำรอง (ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย)

  ขนาด ผลข้างเคียง
1) Thiacetazone 150 มก./วัน เบื่ออาหาร ผื่นคัน ตับอักเสบ
2) Amikacin 15 มก./กก./วัน หูตึง เสียการทรวงตัว
3) Kanamycin 15 มก./กก./วัน หูตึง เสียการทรงตัว
4) Ofloxacin 400-600 มก./วัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
5) Levofloxacin 400-600 มก./วัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
6) Ciprofloxacin 750-1000 มก./วัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
7) PAS 8-12 กรัม/วัน คลื่นไส้ แน่นท้อง ท้องเสีย เป็นผื่น
8) Cycloserine 500-750 มก./วัน บวม อารมณ์ผันผวน จิตประสาท ชัก

** หมายเหตุ : มก. = มิลลิกรัม กก. = กิโลกรัม

นำมาจาก แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

 

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน