รายงานความคืบหน้าของไข้หวัดนกจาก องค์การอนามัยโลก

  1. การควบคุมไข้หวัดนก10 กุมภาพันธุ์ 10 กุมภาพันธุ์ 2547

การระบาดไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย ทำให้คนติดเชื้อไข้หวัดนกในประเทศไทยและเวียดนาม และคาดว่าน่าจะพบเพิ่มในประเทศที่มีการระบาดของไข้หวัดนก จำนวนผู้ป่วยที่พบน้อยมากเมื่อเทียบกับการระบาดอย่างมากมาย ทำให้เชื่อว่าเชื้อนี้จะติดจากไก่ไปคนลำบาก

จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่การที่มีการระบาดของในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้เชื้อเกิดการกลายพันธุ์ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดของ และทำให้คนเสียชีวิตอย่างมาก

 

องค์การอนามัยโลกได้เน้นให้สนใจกับสุขภาพของคนมากกว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

  1. สถานการณ์ไข้หวัดนก 9 กุมภาพันธุ์ 2547

ได้รับรายงานจากประเทศเวียดนามว่าผู้ป่วยสามรายได้รับการยืนยันว่าเป็นไข้หวัดนก เสียชีวิตสองราย รวมผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นไข้หวัดนก 18 ราย เสียชีวิต 13 ราย

สถานการณ์ทั่วโลกและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพคน

  • การระบาดของไข้หวัดนก H5N1 ขณะนี้มี 8 ประเทศ และกำลังระบาดในภูมิภาคก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
  • นกที่ติดเชื้อสามารถบินไปได้ไกล ทำให้เชื้อสามารถแพร่ไปได้ไกล
  • พบว่าคนติดไข้หวัดนกในประเทศไทย และเวียดนาม
  • เชื่อว่าอาจจะพบคนที่ติดเชื้อไข้หวัดนกเพิ่มในประเทศที่มีการระบาดอย่างมาก
  • จากหลักฐานเท่าที่มีอยู่คนจะติดเชื้อไข้หวัดนกได้ยาก
  • พันธุกรรมของไข้หวัดนกไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ทำให้คาดเดาพฤติกรรมของไข้หวัดนกได้ลำบาก
  • เมื่อมีการระบาดไปทางภาคเกษตรที่สำคัญ จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของคน เศรษฐกิจอาจจะได้รับผลเสียเกินความคาดหมาย การสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญ
  • การควบคุมโรคต้องรีบทำอย่างรวดเร็วซึ่งจะลดอัตราการติดเชื้อโรคของคน
  1. ยังไม่มีหลักฐานว่าพบเชื้อไข้หวัดนกในหมู Professor Robert Websterจากองค์การอนามัยโลก ได้ทำการศึกษาหมูที่เลี้ยงใกล้กับแหล่งระบาดของไข้หวัดนก โดยไม่พบหลักฐานการติดเชื้อไข้หวัดนกจากการตรวจเลือดหาภูมิหรือจากการเพาะเชื้อ อย่างไรก็ตาม FAO ได้แนะนำว่าจะต้องติดตามโดยใกล้ชิด และให้รายงานหากมีหมูป่วยอาการเหมือนไข้หวัด Bangkok/Rome, 6 February 2004
  2. ผลการพิสูจณ์ว่าไวัรัสไข้หวัดนกยังไม่กลายพันธุ์ 6 กุมภาพันธ์

การระบาดไข้หวัดที่ประเทศเวียดนามพบครอบครัวหนึ่งเป็นไข้หวัดนก 4 คนโดยสงสัยว่าพี่สาว 2 คนจะติดเชื้อจากคนไปสู่คน ได้สงเชื้อไข้หวัดนกจากผู้ป่วยไปตรวจการเรียงตัวทางพันธุกรรมที่ฮ่องกง พบว่าการเรียงตัวของพันธุกรรมของเชื้อที่ได้มาจากผู้ป่วยสองคนเหมือนกับที่ได้มาจากนก จึงทำให้เชื่อว่าเชื้อยังไม่กลายพันธุ์ที่จะทำให้เกิดการติดต่อจากคนไปสู่คนได้ง่าย

จีนได้ประกาศพบการระบาดไข้หวัดนกเพิ่มอีกหนึ่งมณฑล เป็น 13 มณฑลจากทั้งหมด 31 มณฑล แต่ยังไม่มีรายงานของคนที่เป็นไข้หวัดนก

  1. รายงานสถานการณ์การระบาดในเวียดนามและไทย 5 กุมภาพันธุ์

ประเทศเวียดนามได้รายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกอีกสองรายอายุ 16,17 ทั้งสองรายได้เสียชีวิตแล้ว รวมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 15 รายและเสียชีวิต 11 ราย 2คนอยู่ในโรงพยาบาล 2 คนกลับบ้าน

สถานการณ์ในประเทศไทยได้รายงานผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดนกอีกหนึ่งรายรวมเป็น 5 รายและเสียชีวิตทั้งหมด

WHO,FAO.OIE ได้ประชุมกันที่กรุงโรมประเทศอิตาลิ ที่ประชุมได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการควบคุมไข้หวัดนกและสุขภาพของคนดังนี้

  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ H5N1 เช่นคนที่ทำลายสัตว์ คนที่เลี้ยงหรือขนส่งสัตว์ที่สงสัยว่าจะป่วยต้องสวมเครื่องป้องกันตัวเอง และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง
  • ป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและไวรัสที่ในคน เกิดการติดเชื้อพร้อมกันซึ่งจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยการให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กับกลุ่มเสี่ยง
  • ให้รีบทำลายสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อโดยเร็ว
  • ให้ฉีดวัคซีนป้องการติดเชื้อไขหวัดนกสำหรับสัตว์ที่ยังไม่ติดเชื้อ ซึ่งต้องทำร่วมกับการทำลายสัตว์ที่ป่วยหรือสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วย การกักกันสัตว์ที่อยู่ในแหล่งระบาด การควบคุมสิ่งแวดล้อม
  1. สถานการณ์ไข้หวัดนก 4 กุมภาพันธ์

สถานการณ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณะสุขได้รายงานผู้ป่วยเด็กอายุ 6 ขวบที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดนกได้เสียชีวิตแล้ว ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดนก 4 รายและเสียชีวิตทั้งหมด

ประเทศจีนได้รายงานการระบาดเพิ่มอีก 2 มณฑลคือ Gansu and Shaanxi รวมที่ระบาดทั้งหมด 12 มณฑลจาก 31 มณฑล

อินโดนีเซียได้ยอมรับว่ามีการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศ

สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลก H5N1

  • ประเทศเกาหลี 12 ธค 2003
  • ประเทศเวียดนาม 8 มกราคม 2004
  • ประเทศญี่ปุ่น 12 มกราคม 2004
  • ประเทศไทย 23 มกราคม 2004
  • ประเทศกัมพูชา 24 มกราคม 2004
  • ประเทศจีน 27 มกราคม 2004
  • ประเทศลาว 27 มกราคม 2004
  • ประเทศอินโดนีเซีย 2 กุมภาพันธ์
  1. สถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศเวียดนาม 3 กุมภาพันธ์

กระทรวงสาธารณสุขประเทศเวียดนามได้รายงานผู้ป่วยไข้หวัดนก 3 รายเสียชีวิตหนึ่งรายผู้ป่วยชายอายุ 19 ปีอาการดีขึ้น ส่วนผู้หญิงอายุ 20 ปียังพักในโรงพยาบาล ส่วนผู้ชายอายุ 18 ปีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดนกมีทั้งหมด 13 รายเสียชีวิต 9 รายและพักในโรงพยาบาล 2 ราย ขณะไข้หวัดนกได้ระบาดไปทั้งหมด 52 จังหวัดจากทั้งหมด 64 จังหวัด

  1. พบผู้ป่วยติดไข้หวัดนกรายใหม่ในประเทศไทย 2 กุมภาพันธ์

กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผู้ป่วยอายุ 58 ปีได้รับการยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่าติดเชื้อไข้หวัดนกโดยเริ่มป่วยเมื่อ19 และเสียชีวิตเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ นับเป็นรายที่ 4 ที่ติดเชื้อไข้หวัดนก และเสียชีวิตไป 3 ราย ทำให้มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อทั้งหมด 14 ราย(ไทยและเวียดนาม)เสียชีวิต 11 ราย

จีนได้ประกาศมีการแพร่กระจายของไข้หวัดนก จีนได้ประกาศมีการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนกใหม่ดังนี้ Zhejiang (geese), Yunnan (chickens), Henan (chickens), Xinjiang Uygar Autonomous Region (chickens) โดยที่ได้ผลตรวจแล้วพบเชื้อ H5N1 ใน 10 มณฑล แต่ยังไม่พบผู้ป่วยที่ติดไข้หวัดนก

การตรวจสอบการติดเชื้อไข้หวัดนกจากคนสู่คน

ได้มีการติดไข้หวัดนกในครอบครัวหนึ่งจำนวน 4 คนประกอบด้วยตัวผู้ป่วย พีสาว 2คนอายุ23และ30 ปี ภรรยาอายุ 28 คนมีเพียงภรรยาเท่านั้นที่รอดชีวิต ผลการตรวจทางห้องปฏิบิติการพบว่าพี่สาวทั้งสองคนมีเชื้อ H5N1 ส่วนสามีและภรรยาไม่ได้ตรวจ ผลการสอบพบว่าได้มีการรวมญาติเพื่อเตรียมแต่งงานเมือปลายธันวาคมเพื่อที่จะแต่งวันที่ 3 มกราคม ผู้ป่วย และพี่สาวหนึ่งคนได้สัมผัสเป็ดเมื่อ 4 มกราคม แต่พี่สาวอีกคนหนึ่งและภรรยาไม่มีประวัติสัมผัสกับเป็ด ทำให้นักระบาดวิทยาขององค์การอนามัยโลกคาดคะเนถึงวิธีการติดเชื้อของพี่สาวและภรรยาว่าน่าจะเกิดจาก

  • การดูและผู้ป่วย(ผู้ชาย) อย่างใกล้ชิด อาจจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อจากคนสู่คน
  • อาจจะติดจากนกหรือสิ่งแวดล้อมอื่นเพราะมีการระบาดของไข้หวัดนก ทำให้อาจจะมีอุจาระของนกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

จากการสอบสวนโรคยังไม่พบว่ามีคนในครอบครัวติดเชื้อไข้หวัดนกอีกเลย

การติดต่อจากคนสู่คนยังไม่เคยเกิดแม้ว่าจะมีการระบาดของไข้หวัดนกซึ่งเคยเกิดเมื่อปี 1997 ที่ฮ่องกงและฮอลล์แลนด์

  1. จีนยอมรับว่ามีการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศ 30 มค.2004

เจ้าหน้าที่ทางสาธารณะสุขและการเกษตรของประเทศจีนได้แจ้งไปยังองค์การอนามัยโลกถึงการระบาดของไข้หวัดนก H5N1 โดยมีการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ โดยมีการแจ้งเมื่อ 27 มค2547ขณะพบแล้วทีี่มมณฑล Guangxi province, Anhui, Shanghai, and Guangdong provinces และได้มีการกักกัน และทำลายร่วมกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

การพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดนก

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกได้รับเชื้อไข้หวัดนกจากประเทศกัมพูชา ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ยังขาดเชื้อจากประเทศอินโดนีเซีย ลาว ไทย เพื่อวิเคราะห์จัดทำวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดนก ขณะนี้ได้มีต้นแบบสำหรับการผลิตวัคซีนแล้ว

องค์การอนามัยโลกห่วงคนทำลายสัตว์

แต่ละประเทศที่มีการระบาดของไข้หวัดนกได้มีการทำลายสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกเป็นห่วงการป้องกันการติดเชื้อ สำหรับผู้ที่ทำลายไก่ และแนะนำให้กลุ่มเสียงฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันมิให้เกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

  1. แนวทางการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเสียงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนก 30 มค 2547

องคการอนามัยโลกได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนก เพื่อป้องกันมิให้เกิดการติดเชื้อทั้งสองชนิดในคนเดียวกันซึ่งจะเป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์

กลุ่มเป้าหมายที่จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

  • กลุ่มที่ต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนก ได้แก่ คนงานหรือเจ้าของที่ทำงานในฟาร์ม ผู้ที่ทำลายสัตว์ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อไข้หวัดนก
  • เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยที่ติดไข้หวัดนก
  • เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินในพื้นที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

ข้อแนะนำ

  • เมื่อการระบาดไปทั่วโลกปี 1957 และ 1968 ได้มีการผสมของไข้หวัดใหญ่ของคนกับของสัตว์ปีก
  • การกลายพันธุ์ของเชื้อสามารถเกิดในคนได้หากคนนั้นมีเชื้อทั้งสองชนิดในคนเดียวกัน
  • การฉีดวัคซีนจะไม่ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก แต่จะป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ร่วมกับไข้หวัดนก
  • แม้ว่าภูมิคุ้มกันจะขึ้นใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน การฉีดวัคซีนก็ยังเป็นประโยชน์
  • ไข้หวัดใหญ่จะระบาดทั้งปีในประเทศเขตร้อน

ไม่แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แก่คนทั่วไป และนักท่องเที่ยว

  1. รายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนก 7 กันยายน.2547

ประเทศ
จำนวน
เสียชีวิต
ไทย
12
8
เวียดนาม
27
20
รวม
39
28

รายที่ยืนยันทางห้องปฏิบัติการ

  1. ไข้หวัดนกระบาดที่ฮ่องกง 9 ธันวาคม 2547

องค์การอนามัยโลกได้รับแจ้งจากฮ่องกงว่ามีการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H9N2 กับเด็กชายอายุ 5 ปี หลังจากรักษาในโรงพยาบาลเด็กอาการดีและสามารถกลับบ้านได้


องค์การอนามัยโลกกังวลการระบาดของไข้หวัดนก กค.2547

ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการรายงานการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศแถบเอเชียได้แก่จีน เวียดนาม ไทยซึ่งอาจจะเป็นการติดเชื้อต่อเนื่องจากการระบาดตั้งแต่ต้นปีหรือการระบาดด้วยเชื้อตัวใหม่ก็ได้ นอกจากนั้นยังได้มีการวิจัยพบว่าเชื้อไข้หวัดนกจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และยังพบได้ในนกตามธรรมชาติทำให้องค์การอนามัยโลกกังวลว่าจะมีการระบาด

ตั้งปี คศ.1997 พบว่ามีการระบาดของไข้หวัดนก(H5N1)จากสัตว์ปีกสู่คน 3 ครั้งและการติดเชื้อแต่ละครั้งก็รุนแรงทำให้มีคนเสียชีวิต นอกจากนั้นเชื้ออาจจะมีการกลายพันธ์ทำให้เชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนซึ่งจะทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลก

ในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานเกี่ยวกับไข้หวัดนกสองฉบับซึ่งทำให้เข้าใจเกี่ยวกับตัวเชื้อดีขึ้น ฉบับแรกจากประเทศจีนรายงานว่าพบเชื้อไข้หวัดนกในเป็ดที่เลี้ยงทางตอนใต้ และจากทดลองในหนูพบว่าเชื้อโรค ทำให้เกิดโรครุนแรงขึ้น ฉบับที่สองจากนิตยสาร Nature ว่าพบเชื้อไข้หวัดนกในนกป่า ทำให้ควบคุมการระบาดทำได้ยาก

การป้องกันการระบาดในสัตว์เลี้ยงได้มีการกำหนดไว้คือทำลายสัตว์เลี้ยงและสัตว์ปีกในบริเวณที่มีการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีนซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนในการควบคุมเชื้อ แต่สำหรับการป้องกันการติดเชื้อในคนยังไม่มีแนวทางชัดเจน การที่พบเชื้อในสัตว์ธรรมชาติ ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องเพิ่มความระวังในการระบาดสู่คนโดยการคัดกรอง ตรวจสายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดนกที่มีการระบาด องค์การอนามัยโลกได้มีการเตรียมการเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกโดยจัดประชุมที่ประเทศมาเลเชีย เพื่อกำหนดการเฝ้าระวังการระบาด ความไวของเชื้อโรคต่อยาต้านไวรัส และการผลิตวัคซีน ขณะนี้ได้มีการผลิตวัคซีนซึ่งอยู่ในระหว่างทดสอบในประเทศอเมริกา

สรุปการควบคุมการระบาด

  • เชื้อไข้หวัดนกได้ระบาดไปสู่นกธรรมชาติทำให้การควบคุมการระบาดทำได้ยาก
  • เชื้อที่ระบาดต้องส่งเข้าองค์การอนามัยโรคเพื่อวิเคราะห์การระบาดและเตรียมการผลิตวัคซีน
  • ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กับคนที่ทำลายไก่
  • คนที่ทำงานในฟาร์มไก่ที่เป็นโรค หรือคนที่ทำลายไก่ที่เป็นโรคควรจะได้รับยาต้านไวรัสไข้หวัดนก
  • ควรจะเร่งการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ให้เร็วขึ้น
  • ควรจะพัฒนาการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกให้เร็วขึ้น

องค์การอนามัยโลกเตือนการระบาดของไข้หวัดนก

ตามที่ได้มีการระบาดรอบสองของไข้หวัดนกในประเทศแถบเอเชีย แม้ว่าการระบาดจะอยู่เฉพาะไก่ แต่ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อสู่คนทำให้มีการระบาดของไข้หวัดนกไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้เน้นถึงการป้องกันส่วนบุคคลที่ทำงานในฟาร์ม หรือผู้ที่ทำลายไก่ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนกให้ป้องกันตัวเอง และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่เลี้ยงไก หรือทำลายไก่ควรจะฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อมิให้เกิดการติดเชื้อทั้งสองชนิดพร้อมกันซึ่งจะทำให้เชื้อกลายพันธ์
  • ต้องมีการเฝ้าระวังผู้ที่ทำลายไก่ที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่เลี้ยงไก่และเกิดการติดเชื้อว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่หรือไม่
  • ควรจัดเตรียมยาต้านไวรัสไข้หวัดนกให้พร้อมและเพียงพอ และหากมียามากพอก็อาจจะให้รับประทานยาเพื่อป้องกัน
  • ผู้ที่สัมผัสไก่ที่เป็นโรคต้องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อตามคำแนะนำ16 กค 2547
  • 7 กย 2547 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกจากประเทศเวียดนาม 1 รายจากฮานอย ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาพบผู้ป่วยไข้หวัดนกทั้งหมด 4 ราย
  • 9กย 2547ประเทศไทยได้รายงานผู้ป่วยอายุ 18 ปีเสียชีวิตจากไข้หวัดนกโดยสัมผัสกับไก่ที่ป่วยจังหวัดปราจีนบุรี

28 กันยายน 2547

  • กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยรายงานผู้ป่วยอายุ 26 ปีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กันยายน
  • จากการสอบสวนพบว่าเด็กหญิงอายุ 11 ปีเสียชีวิตจากโรคปอดบวมสงสัยว่าจะติดเชื้อ H5N1แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการติดเชื้อ ส่วนป้าอายุ 32 ปีที่ดูแลผู้ป่วยยืนยันว่ามีการติดเชื้อ H5N1 ทั้งสองคนสัมผัสไก่ที่เป็นโรค
  • แม่เด็กอาศัยอยู่ในกรุงเทพได้ดูแลเด็กจนเด็กเสียชีวิต และได้เดินทางกลับกรุงเทพและเริ่มมีอาการป่วย เสียชีวิตเมื่อ 20 กันยายน
  • ทางการไทยได้สอบสวนโรคแล้ว สันนิฐานว่าแม่เด็กอาจจะได้รับเชื้อจากสิ่งแวดล้อม หรือจากลูกซึ่งป่วยเป็นไข้หวัดนก
  • บุตรชายของป้าอายุ 6 ปีก็แสดงอาการติดเชื้อแต่อาการดีขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าติดเชื้อ H5N1 หรือไม่
  • จากการสอบสวนโรคของครอบครัวนี้พบว่าหากเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนก็ติดต่อจำกัดเฉพาะในครอบครัว คงต้องติดตามต่อไปว่าจะมีการระบาดหรือไม่

4 ตค 2547

สถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยได้รายงานผู้ป่วยเด็กอายุ 9 ปีจังหวัดเพชรบูรณ์เริ่มป่วยเมื่อ 23 กันยายน เข้าโรงพยาบาลเมื่อ 27 กันยายน และเสียชีวิตเมื่อ 3 ตค ด้วยเรื่องปอดบวม ผลการสอบสวนโรคพบว่าเด็กช่วยแม่ถอนขนไก่ที่เสียชีวิต

องค์การอนามัยโลกได้เน้นให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยเฉพาะชาวชนบทถึงอันตรายของการสัมผัสไก่ที่เสียชีวิต ตั้งแต่ต้นปีมานี้ประเทศไทยได้รายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนก 16 รายเสียชีวิตไปแล้ว 11 ราย

สถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทยจากผู้จัดการ 9 ตค2547

รายงานสถานการณ์ผู้ป่วย ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2547 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยยืนยันด้วยโรคไข้หวัดนก 4 ราย เสียชีวิต 3 ราย มีชีวิต 1 ราย รักษาหายเป็นปกติแล้ว มีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายน่าจะเป็น 1 ราย อยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เสียชีวิตแล้วเมื่อ 8 กันยายน เป็นบุตรสาวของผู้ป่วยที่ยืนยันและเสียชีวิตที่นนทบุรี มีผู้ป่วยที่มีอาการจัดอยู่ในข่ายสงสัย 3 ราย อยู่ที่ จ.กำแพงเพชร 2 ราย จ.เพชรบูรณ์ 1 ราย ยังระบุไม่ได้ว่าติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ ต้องรอผลการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นอกจากนี้ มีผู้ป่วยอยู่ในระหว่างสอบสวนรอผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด 140 ราย โดยอยู่ในภาคกลาง 47 ราย ภาคเหนือ 59 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28 ราย และภาคใต้ 6 ราย

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดให้บริการตอบคำถามประชาชน ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-3333 บริการ 10 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง และเปิดเว็บไซต์ www.moph.go.th ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน-8 ตุลาคม 2547 รวม 11 วัน มีโทรศัพท์สอบถามทั้งหมด 926 ครั้ง เฉพาะวันที่ 8 ตุลาคม 2547 มีผู้ใช้บริการ 90 ครั้ง เฉลี่ยทุก 15 นาที คำถามส่วนใหญ่เป็นเรื่องการป้องกัน 36% ถามเรื่องสถานการณ์โรค 24% ถามเรื่องการรักษา 19% และถามเรื่องมาตรการจัดการ 13% ที่เหลือเป็นเรื่องอื่นๆ

0ฟิลิปปินส์ตรวจเข้มผู้โดยสารจากไทย

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า สนามบินนานาชาติมะนิลาของฟิลิปปินส์ได้กำหนดประตูทางเข้าพิเศษสำหรับผู้โดยสารของเที่ยวบินที่เดินทางมาจากประเทศไทย เพื่อตรวจตราโรคไข้หวัดนกเป็นพิเศษ โดยผู้ที่เดินทางมากับเที่ยวบินจากประเทศไทย จะต้องผ่านเข้าทางประตูที่กำหนดให้ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศอื่น

ทั้งนี้ ยังไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศฟิลิปปินส์ แต่รัฐบาลได้สั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

25 ตค 2547

องค์การอนามัยโลกได้รับรายงานจากประเทศไทยว่ามีเด็กหญิงอายุ 14 ปีเสียชีวิตจากไข้หวัดนกที่จังหวัดสุโขทัย พบว่าไก่เสียชีวิตปลายเดือนกันยายน เด็กเริ่มป่วยเมื่อ 8 ตค 2547 และเสียชีวิตเมื่อ 19 ตค 2547 รวมผู้ป่วยไข้หวัดนกทั้งหมด 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย

27 ตค 2547 รายงานไข้หวัดนกในนกพิราบที่จังหวัดปทุม

ปทุมธานีผวาพบเชื้อในนกพิราบ

นายสำคัญ ธรรมรัตน์ ปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อนามัยว่า พบนกพิราบป่วยที่วัดบุญบางสิงห์ หมู่ที่ 8 ต.สวนพริกไทย อ.เมืองปทุมธานี จึงได้ส่งตัวอย่างไปตรวจเชื้อ ล่าสุดได้รับผลยืนยันว่า พบเชื้อไข้หวัดนก คาดว่า นกพิราบทั้งฝูงคงจะติดเชื้อหมดแล้ว

ล่าสุด นายนิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ได้สั่งการให้สำรวจแหล่งที่อยู่ของนกพิราบนับพันตัว ทั้งในสถานีอนามัยสวนพริกไทย 2 และวัดบุญบางสิงห์ เพื่อหาทางป้องกัน โดยเฉพาะประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่อยู่ใกล้กันและกำลังจะเปิดภาคเรียนที่ 2 ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้เข้าฉีดยาฆ่าเชื้อรอบๆ บริเวณดังกล่าวแล้ว และในวันที่ 27 ต.ค.นี้ ในเวลา 10.00 น. จะเรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหาแนวทางป้องอย่างเร่งด่วนต่อไป

13-12-2004

คณะกรรมการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกระบุมีการตรวจพบการติดเชื้อไข้หวัดนกของนกในท้องถิ่น แต่ไม่มาก ซึ่งจะเฝ้าระวัง อย่างใกล้ชิดต่อไป

นายแพทย์ จรัล ตฤณวุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ไข้หวัดนก เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหาไข้หวัดนก ซึ่งมี การายงานผลการสุ่มตรวจตัวอย่างนกทั้งนกท้องถิ่นและนกอพยพจำนวน 1,011 ตัวอย่าง พบมีนกท้องถิ่นติดเชื้อไข้หวัดนก 10 ตัวอย่าง มีนกพิราบติดเชื้อที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ลพบุรี ที่เหลือพบในนกกระติ้ดขี้หมูที่สระบุรี นกเขาไฟที่นครสวรรค์ นกแซงแซวหา ปลาที่สระบุรี นกกาน้ำเล็กและนกปากห่างที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แต่ถือว่าติดเชื้อเพียง 1 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ จะศึกษาต่อไปว่าเป็นการติดเชื้อจากนกสู่นกหรือไม่ แต่ยืนยันได้ว่าไม่มีการติดเชื้อจากนกสู่คน จะมีก็เพียงติดจากไก่ สู่คนเท่านั้น

หวัดนกภาคใต้เวียดนามลามถึงฮานอย

โดย ผู้จัดการออนไลน 16 มกราคม 2548 18:53 น

ฮานอย – โรคไข้หวัดนกได้เริ่มแพร่ระบาดไปยังกรุงฮานอย และ จ.ห่านาม (Ha Nam) ทางภาคเหนือของประเทศแล้ว ทำให้ขณะนี้เวียดนามมีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกใน 16 เมืองและจังหวัด

เชื้อหวัดนกได้แพร่ระบาดสู่ฝูงเป็ด 400 ตัว และฝูงไก่ 600 ตัว ใน อ.ลองเบียน (Long Bien) ของกรุงฮานอย และฝูงเป็ด 100 ตัว ใน อ.ลีเญิน (Ly Nhan) จ.ห่านาม ทั้งนี้สำนักข่าวซินหัวและเอเอฟพีรายงานอ้างข้อมูลของกรมปศุสัตว์ เวียดนาม เมื่อวันเสาร์ (15 ม.ค.)

นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เวียดนามมีการแพร่ระบาดของเชื้อหวัดนกใน 16 เมืองและจังหวัด ได้แก่ ฮานอย, ห่านาม (Ha Nam), นามดิ่งห์ (Nam Dinh), ลัมด่ง (Lam Dong), เบ๋นแจ (Ben Tre), ก่ามาว (Ca Mau) เกียนยาง (Kien Giang) เตียนยาง (Tien Giang) เกิ่นเธอ (Can Tho), บิ่งห์เฟื๊อก (Binh Phuoc), อานยาง (An Giang) ด่งท้าป (Dong Thap) ลองอาน (Long An) จ่าวิง (Tra Vinh) บั๊กเลียว (Bac Lieu) และจังหวัดห่าวยาง (Hau Giang) ทำให้สัตว์ปีกตายหรือถูกฆ่าทิ้ง รวมแล้วเกือบ 168,000 ตัว

เมื่อไม่นานมานี้ เวียดนามพบว่ามีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 6 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิตแล้ว 5 ราย ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยล่าสุด เป็นหญิงอายุ 35 ปี ซึ่งก่อนเสียชีวิตได้ถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลในนครโฮจิมินห์ ก่อนหน้านั้นเป็นหญิงวัยรุ่น 2 คน อายุ 16 กับ 18 ปี และเด็กชาย 2 คน อายุ 6 กับ 9 ปี

การแพร่ระบาดครั้งล่าสุดนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีฟานวันขาย ของเวียดนาม ได้เรียกร้องให้คณะกรรมการประชาชน ในเมืองและจังหวัดต่างๆ ตลอดจนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสะกัดกั้นการแพร่ระบาดใหม่ของไข้หวัดนก ตลอดจนตรวจตราการขนส่งและการค้าสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิดให้มากขึ้น ในการป้องกันเชื้อรายนี้ในทุกวิถีทาง

นายขายยังได้ส่งหนังสือด่วนไปยังกรมกองต่างๆ และเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น ให้ดำเนินมาตรการที่เข้มงวด เพื่อมั่นใจในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร โดยเฉพาะในช่วงตรุษเวียดนาม ในเดือนหน้า ซึ่งความต้องการสัตว์ปีกจะมีมากขึ้น

นอกจากนี้ทางการเวียดนามกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการฉีดวัดซินให้กับสัตว์ปีก และศึกษาวิจัยวิคซินป้องกันเชื้อหวัดนกสำหรับมนุษย์ เพื่อสะกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโรคนี้ในหมู่สัตว์ปีกและมนุษย์

นายฝ่ามหง็อกดิ่ง (Pham Ngoc Dinh) รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพศาสตร์และระบาดวิทยาแห่งชาติ (National Institute for Hygiene and Epidemiology) กล่าวว่า ภายใต้การอนุญาตของกระทรวงสาธารสุข เรากำลังทำการทดลองวัคซินเพื่อป้องกันเชื้อหวัดนกในคน เราหวังว่าจะได้วัคซินเพื่อทำการทดลองในเร็วๆ นี้

ด้านนายฮันส์ โตรดสัน (Hans Troedsson) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่า อาจมีการสังหารสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น แม้ว่าความต้องการจะมากขึ้นในช่วงวันหยุดยาวตรุษเวียดนาม

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศจะหยุดยั้งเชื้อโรคนี้ให้หมดสิ้น เมื่อเดือน ม.ค.2547 ภายหลังที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อหวัดนก ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2546 จนคร่าสัตว์ปีกไปถึง 17% คิดเป็นมูลค่าความเสียหายในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศ รวมแล้ว 1,300,000 ล้านด่ง (82.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

จนถึงบัดนี้ โรคไข้หวัดนกในคร่าชีวิตชาวเวียดนามไปแล้วอย่างน้อย 24 ราย

รายงานเรื่องไข้หวัดนกจากองค์การควบคุมโรคติดต่อประเทศอเมริกา 4กพ 2548

สถานการณ์ปัจจุบัน

การระบาดของไข้หวัดนกยังระบาดอย่างต่อเนื่อง มีการรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกอยู่ประจำ ประเทศไทยได้รายงานผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดนก 5 รายเสียชีวิต 4 รายตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม หลังจากนั้นยังไม่มีรายงานเรื่องไข้หวัดนก เวียดนามได้รายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 13 รายเสียชีวิต 12 รายตั้งแต่เดือนธันวาคม องค์การอนามัยโลกได้ยืนยันว่าตดเชื้อไข้หวัดนกจริง 10 ราย(เสียชีวิต 9 ราย)

ได้มีการรายงานว่าอาจจะเกิดการติดต่อจากคนไปสู่คน3 ราย พบที่ประเทศไทย 1 ราย และประเทศเวียดนาม 2 ราย และได้รับรายงานว่ามีการระบาดไข้หวัดนกครั้งแรกในประเทศกัมพูชา

นับตั้งแต่ มกราคม 2547จนปัจจุบันพบไข้หวัดนกทั้งหมด 55 รายเสียชีวิต 42 ราย เชื้อว่าเชื้อไข้หวัดนกเป็นการระบาดประจำท้องถิ่นซึ่งยากต่อการควบคุม และยังไม่พบว่ามีการติดต่อจากคนไปสู่คน และยังไม่พบการกลายพันธ์

การคัดกรองผู้ป่วย

แนะนำให้ตรวจหา H5N1ทุกรายที่มี

  • เอ็กเรย์ปอดพบว่าปอดบวม หรือมีภาวะหายใจวาย
  • ประวัติมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค หรือประวัติภายใน 10 วันก่อนเกิดอาการ

แนะนำให้ตรวจหา H5N1ในรายที่สงสัย

  • มีไข้มากกว่า 38
  • มีอาการทางระบบหายใจ เช่นเจ็บคอ ไอ หายใจหอบ
  • มีประวัติไปฟามร์ หรือไปตลาดสัตว์ปีก ก่อนเกิดอาการ 10 วัน

การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล

  • การควบคมมาตรฐาน Standard Precautions
    • ล้างมือทั้งก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย
  • การสัมผัส
    • ใส่ถุงมือและเสื้อคลุมทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
  • การป้องกันตา
    • สวมเครื่องป้องกันตาทุกครั้งที่เข้าใกล้กว่า 3 ฟุต
  • การป้องกันทางเดินหายใจ
    • ให้แยกผู้ป่วยในห้องแยกโรคติดเชื้อ
    • ใส่หน้ากากอย่างน้อยชนิด N-95 เมื่อจะต้องเข้าห้องตรวจ

องค์การอนามัยโลกแนะนำแผนการปฏิบัติเมื่อมีการระบาดของไข้หวัดทั่วโลก

สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนก

ข่าวจากองค์การอนามัยโลกเดือนกุมภาพันธ์
กลับหน้าเดิม

กลับหน้าเดิม