หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น 

ผู้ที่ติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น ประมาณ 1 ใน 3 จะเกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยไม่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยบางส่วนจะเกิดอาการของการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดอย่างเดียว หรืออาจเกิดทั้ง 2 อย่างร่วมกัน และมีผู้ป่วยประมาณ 15% จะเกิดอาการของการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดชนิดที่มีอาการรุนแรง

ผื่นเป็นจุดแดงเหมือนไข้เลือดออก มักพบมากตามแขนขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย ฒฝ

ผื่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จาง

ผื่นโรคไข้กาฬหลังแอ่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จางผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าผื่นของไข้เลือดออก

ในรายที่รุนแรงผื่นจะรวมตัวกันเป็นปลื้นดังรูป รูปทั้งสองได้จากThe South Australian Department of Health

อาการที่พบในเด็ก

อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น

โดยสรุปอาการที่สำคัญประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง ผื่นจะมีลักษณะจุดแดง หรือดำคล้ำ บางทีมีตุ่มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายใน เนื่องจากการดำเนินโรคเร็วมากจะต้องรีบพาไปพบแพทย์หากมีอาการตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป

การตรวจร่างกาย

การวินิจฉัย

แนวทางการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

การให้ยาปฏิชีวนะ

การรักษาประคับประคอง

ภาวะแทรกซ้อน

การดูแลตนเองและการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เรื่องเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อและเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นมีใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 แต่เป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้เพียงชนิดย่อยเดียว ต่อมาจึงได้คิดค้นวัคซีนที่ป้องกันได้ถึง 4 ชนิดย่อยใน 1 เข็มคือ ชนิดย่อย A, C, Y, และ W135 ยกเว้นแต่ชนิดย่อย B ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถคิดค้นวัคซีนที่ป้องกันได้ บุคคลที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน ได้แก่

การป้องกัน

สำหรับบุคคลทั่วไปในสถานการณ์ปกติ การป้องกันการติดเชื้อและเป็นโรค อาศัยหลักทั่วๆไปในการป้องกันการติดเชื้อโรคที่มากับทางเดินหายใจ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่แออัด ผู้คนหนาแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจำเป็นต้องเข้าไป ควรสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันตนเองจากการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลาย จากผู้อื่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หรือปรุงอาหาร รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายสม่ำ เสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

การให้ยาป้องกันการติดเชื้อควรจะให้กับคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากผู้ป่วยเท่านั้น

หากมีบุคคลได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียว กัน รวมทั้งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ผู้ที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรกินยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ ไม่ควรซื้อยากินเอง หากในพื้นที่ไหนมีรายงานพบผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นมากกว่า 3 คนขึ้นไปในช่วง เวลาไม่เกิน 3 เดือนและมีอัตราผู้ป่วยมากกว่า 10 คนต่อประชากร 100,000 คน จะถือว่าเกิดการระบาดของโรคขึ้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นควรได้รับวัคซีนหรือยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกัน ตามคำแนะนำของแพทย์ ยาที่ใช้ในการป้องกันได้แก่

การให้ยาป้องกันการติดต่อควรจะให้ในกลุ่มบุคคลใด

ใครเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเหล่านี้จะมีโอกาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคกาฬหลังแอ่น คือ

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การสูบบุหรี่มวนเดียวกัน การดื่มน้ำแก้วเเดียวกัน หรือการจูบปากกัน

อ่านเรื่องไข้กาฬหลังแอ่นต่อ