ฝีมะม่วง Lymphogranuloma Venereum (LGV)

 

เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังของต่อมน้ำเหลืองที่เกิดจากเชื้อโรค Chlamydia trachomatis เชื้อแบคทีเรียนี้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ฝีมะม่วงหมายถึงต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบจากเชื้อ ผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ขาหนีบและปวด หรือที่ชาวบ้านเรียกไข่ดันบวมซึ่งพบได้บ่อยโรคนี้เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis ผู้ป่วยอาจจะไม่ทันสังเกตเห็นแผลที่อวัยวะเพศ

อาการของโรคฝีมะม่วง

อาการของโรคฝีมะม่วงมีอาการ 4 แบบใหญ่ๆด้วยกันได้แก่

  1. แผลที่อวัยวะเพศ มีแผลที่อวัยวะเพศชายหรือหญิง แผลนี้จะไม่ปวด
  2. ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต มีหนองไหลออกจากต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
  1. ท่อปัสสาวะอักเสบ
  2. การอักเสบของรูทวาร มีเลือดหรือหนองออกมาจากทวารหนัก มีอาการปวดเบ่งอุจาระ

อาการของโรคแบ่งออกเป็นระยะได้แก่

Primary lymphogranuloma venereum (LGV)

  • ระยะนี้พบได้ประมาณ1ใน3ของผู้ป่วยชาย ส่วนหญิงไม่ค่อยพบ
  • อาการจะเกิด 3 วันถึง 3 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ
  • อาการที่สำคัญคือมีแผลตื้นๆ ไม่มีอาการเจ็บหรือปวด แผลอาจจะเป็นกลุ่มเหมือนโรคเริม แผลอาจจะอยู่ที่ อวัยวะเพศ อัณฑะ ทวารหนัก
  • อาจจะเกิดอาการท่อปัสสาวะอักเสบ
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต กดเจ็บ

Secondary LGV

  • ระยะนี้จะเกิด 10-30 วันหลังได้รับเชื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม โต กดเจ็บ
  • มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดข้อ
  • ตำแหน่งต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้นกับตำแหน่งที่ได้รับเชื้อ
  • ผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะแดง กดเจ็บ

ระยะ Tertiary LGV

  • ระยะนี้อาจจะเกิด 20 ปีหลังได้รับเชื้อ
  • จะมีอาการของลำไส้อักเสบ
  • จะมีอาการคันก้น มีหนองและเลือดออกจากทวารหนัก ปวดเบ่ง อุจาระเส้นเล็ก
  • น้ำหนักลด
  • ทวารหนักมีก้อนเหมือนริดสีดวง

การวินิจฉัยโรคฝีมะม่วง

ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต กดเจ็บและตรวจไม่พบหลักฐานว่าเป็นโรค เริม ซิฟิลิส หรืแผลริมอ่อน ให้สงสัยว่าเป็นโรคนี้ ยืนยันการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจหาภูมิ

  • ผู้ที่เป็นโรคนี้จะต้องตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • จะต้องเอาหนองนำไปเพาะเชื้อ
  • ส่งเลือดตรวจ Complement fixation (CF) ซึ่งมีความไว 80%
  • ตรวจ Polymerase chain reaction (PCR)
  • ส่องกล้องตรวจ Sigmoidoscopy/colonoscopy และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

การรักษาฝีมะม่วง

ยาที่ใช้รักษาได้แก่ Doxycyclin 100mg เช้า-เย็นเป็นเวลา 21 วัน หรือ erythromycin 500 mg วันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 21 วัน หรือ Azithromycin 1 g รับประทานสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์

โรคแทรกซ้อน

  • เกิดรูติดต่อระหว่างทวารหนักและช่องคลอด
  • เชื้อลามไปสมอง(พบน้อยมาก)
  • เชื้อลามไปข้อ หัวใจ ตับ
  • อวัยวะเพศบวม
  • ทาวรหนักตีบ