โรคหนองในเทียม Non Gonococcal Urethritis (NSU)

 

โรคหนองใน Urethritis หมายถึงการที่ท่อปัสสาวะอักเสบซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อหรือไม่มีการติดเชื้อก็ได้ อาการที่สำคัญคือมีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะขัด แบ่งสาเหตุของโรคหนองในดังนี้

  1. หนองในแท้ Gonococcal Urethritis
  2. หนองในเทียม Non Gonococcal Urethritis (NSU)

อ่านเรื่องท่อปัสสาวะอักเสบ

โรคหนองในเทียม

โรคหนองในเทียมหมายถึงการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคที่ไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมได้แก่

เชื้อที่เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis

 

เราได้รับเชื้อหนองในเทียมได้อย่างไร

คนเราติดเชื้อหนองในเทียมได้จากทาง

  • การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางทวารหนัก ปาก หรือทางช่องคลอด
  • หนองในเทียมอาจติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะมีการคลอดทางช่องคลอด
  • คนที่มีคู่นอนมาก หรือมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น
  • การที่ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย หรือผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง ก็สามารถติดหนองในเทียมได้

นอกจากนั้นก็มีโรคที่ทำให้เกิดอาการหนองในเทียมเช่น

อาการของผู้ที่เป็นหนองในเทียม

ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หากมีอาการจะเกิดหลังจากรับเชื้อไปแล้วประมาณ 1-3 สัปดาห์ อาการจะขึ้นกับเพศ

อาการสำหรับเพศชาย

อาการสำหรับเพศหญิง

หนองในเทียมเชื้อจะไปที่ปากมดลูก cervix และท่อปัสสาวะจะทำให้เกิดอาการตกขาว ปัสสาวะขัด หากไม่รักษาเชื้ออาจจะลามไปที่ท่อรังไข่ Fallopian tube เกิดช่องเชิงกรานอักเสบซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ เจ็บท้องเมื่อมีเพศสัมพันธ์

  • ตกขาว
  • ปัสสาวะขัด
  • ปวดท้องน้อย มีเลือดออกขณะร่วมเพศ

การวินิจฉัยโรคหนองในเทียมต้องทำอย่างไร

  • การวินิจฉัยทำโดยการน้ำหนองหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรืออวัยวะเพศมาเพาะเชื้อ หรือส่องกล้องตรวจ
  • เมื่อย้อมจะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 5 เซลล์

การป้องกันโรคหนองในเทียม

  • วิธีดีที่สุดคือการงดเพศสัมพันธ์
  • ใช้ถุงยางอนามัย
  • มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
  • หากต้องการมีคู่นอนคนใหม่ต้องตรวจเช็คก่อนทุกครั้ง
  • หากคุณเป็นโรคหนองในเทียมให้งดการมีเพศสัมพันธ์
  • ให้รักษาทั้งตัวคุณเองและคู่ครองหากคนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้อีกคนจะต้องรักษาไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ หากไม่รักษาจะมีโอกาศเกิดซ้ำ
  • หากมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะต้องตรวจหาเชื้อหนองในเทียม

การรักษาโรคหนองในเทียม

การรักษาจะต้องให้ยาทันทีหลังจากการวินิจฉัย

ยาที่เลือกเป็นอันดับต้น

  • ยาที่ใช้ในการรักษามี Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว
  • หรืิอ Doxycycline 100 mgรับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7วัน

ยาที่เลือกเป็นอันดับรองลงมา

  • ยาที่เป็นตัวเลือกอื่น Erythromycin base 500 mg รับประทานวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน หรือ
  • Erythromycin ethylsuccinate 800 mg วันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน หรือ
  • Levofloxacin 500 mg วันละครั้งเป็นเวลา 7 วัน หรือ
  • หรือ Ofloxacin 300 mg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง

  • สำหรับผู้ที่เป็นเรื้อรังหรือรักษาไม่หายให้ใช้ยา Metronidazole 2 g หรือ Tinidazole 2 g รับประทานครั้งเดียวและ Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

หากท่านเป็นโรคหนองในเทียมโดยที่มีหรือไม่มีอาการแล้วไม่ได้รักษาท่านอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ

ในผู้ชาย

  • การอักเสบของอัณฑะ Epididymitis ซึ่งหากไม่รักษาอาจจะทำให้เป็นหมัน
  • ข้ออักเสบ Reiter's syndrome (arthritis)
  • เยื่อบุตาอักเสบ Conjunctivitis
  • ผื่นที่ผิวหนัง Skin lesions
  • หนองไหล Discharge

ในผู้หญิง

  • อุ้งเชิงกรานอักเสบPelvic Inflammatory Disease (PID)ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง Recurrent PID ซึ่งอาจจะทำให้เป็นหมัน
  • ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis
  • ช่องคลอดอักเสบ Vaginitis
  • แท้ง Spontaneous abortion (miscarriage)

การรักษาสำหรับคู่

ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย 60 วันก่อนเกิดอาการจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่โรคเอดส์ ซิฟิลิส หนองในแท้ และหนองในเทียม