การแบ่งความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ ก็เพื่อที่จะทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้อยู่ในระยะไหน ข้อสำคัญของโรคนี้อาการอาจจะมีการข้ามระยะดังนั้นการที่จะบอกแน่ชัดคงจะทำได้ยาก

ระยะที่ 1

ระยะนี้จะเหมือนคนปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องการสูญเสียความจำ หรืออาการของโรคสมองเสื่อม

ระยะที่2

ระยะก่อนสมองเสื่อม ความบกพร่องพบได้ก่อนอาการอื่นได้แก่เรื่องความจำคือการสูญเสียความจำ คือพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ และไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ๆ ได้ การสูญเสียความจำจะเป็นมากกว่าคนทั่วไป แต่ไม่รุนแรงมากนัก หลังจากนั้นจะมีการเสื่อมถอยของการสนทนา การเลือกใช้คำ การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะใช้เวลา 8 ปีจึงจะมีอาการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม

  • สูญเสียความจำในระยะสั้นเช่นจำไม่ได้ว่าสนทนาอะไร หรือก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง
  • สูญเสียทักษะชีวิตประจำวันเช่น การใช้เครื่องโทรศัพท์ การใช้เครื่องไฟฟ้า ไม่แปรงฟัน หรือหวีผม
  • สับสนเรื่องสถานที่เช่น หลงทางแม้ว่าจะไปในที่ไม่ห่างไกลจากบ้าน หรือไว้ของผิดที่เช่นวางกุญแจไว้ในตู้เย็น
  • มีปัญหาเรื่องการทำตามแผนงาน และการใช้เงิน ไม่สามารถซื้อของตามรายการ ไม่สามารถชำระเงินตามใบเสร็จ
  • มีปัญหาเรื่องการใช้คำพูด การสนทนา เช่นไม่สามารถเรียกชื่อสิ่งของเช่น เก้าอี้ รถ
  • อารมณ์แปรปรวนโดยไม่มีเหตุผล
  • แยกตัวเอง ไม่คบหากับเพื่อนหรือครอบครัว ไม่มีงานอดิเรก ดูแต่ทีวี
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ


ระยะนี้เริ่มจะมีปัญหาเรื่องความจำเสื่อม มีปัญหาจำคำที่คุ้นเคยไม่ได้ หรือจำสถานที่คุ้นเคยไม่ได้

ระยะที่3

ระยะนี้คนใกล้ชิดเริ่มจะสังเกตว่าเริ่มมีปัญหาหลายประการ ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำ และการเรียนรู้จนสามารถวินิจฉัยอย่างแน่นอนได้ ผู้ป่วยบางส่วนมีปัญหาการใช้ภาษา การบริหารที่ซับซ้อน ปัญหาทางภาษามีลักษณะเด่นคือการใช้คำให้กระชับให้สั้น และพูดหรือใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานหรือคล่องเหมือนเดิม ซึ่งทำให้พูดหรือเขียนภาษาได้น้อยลง อาจพบความบกพร่องของการการเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ป่วยดูเงอะงะหรือซุ่มซ่าม และการวางแผนได้แก่

  • เริ่มมีปัญหาในการใช้คำ หรือการชื่อสิ่งของ
  • เริ่มจะจำชื่อคนไม่ได้จึงมีปัญหาการแนะนำให้คน
  • เริ่มมีปัญหาเรื่องทักษะการเครื่องมือ เช่นโทรศัพท์ เครื่องใช้ไฟฟ้า การเข้าสังคม จำสิ่งที่เพิ่งอ่านไปไม่ได้
  • ไว้ของผิดที่ เช่นวางกุญแจไว้ในตู้เย็น
  • เริ่มมีปัญหาเรื่องการทำตามแผนงาน การประสานงาน เช่นการจัดเลี้ยง

ระยะที่4

ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มจะเป็นโรคสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้น หากซักประวัติดีดีก็จะพบว่ามีหลายอาการที่เข้าได้กับโรคสมองเสื่อม เช่น

  • ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น
  • สูยเสียความสามารถทางจิตนาการ เช่นการนับเลขถอยหลังที่ละ7
  • สูญเสียทักษะที่ซับซ้อน เช่น การเตรียมอาหารเย็นสำหรับรับแขก การรับเงินทอนเงิน ทักษะการใช้เครื่องไฟฟ้า
  • ลืมประวัติของคนรู้จัก
  • เริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย หรือเริ่มแยกตัวจากสังคม

ระยะที่5

ระยะนี้ผู้ป่วยเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง จะพบความเสื่อมของสมองจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ญาติจะสังเหตเห็นชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการสูญเสียความจำ ความคิด การพูดปรากฏชัดเจนเนื่องจากไม่สามารถนึกหาคำศัพท์ได้ การเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะลดลง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างปกตระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องพึ่งญาติในการดูแลกิจวัตรประจำวัน

  • ผู้ที่ป่วยไม่สามารถจำบ้านเลขที่ตัวเอง หรือเบอร์โทรศัพท์ หรือชื่อโรงเรียนที่เคยเรียน
  • สับสนเรื่องวันและเวลา
  • มีปัญหาเรื่องการคิดในใจเช่นให้บอกตัวเลขถอยหลังตั้ง 40 โดยลบครั้งละ4
  • ต้องได้รับความช่วยเหลือในการเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะกับอากาศหรือโอกาศ
  • ยังจำตัวเองและครอบครัวได้
  • ยังสามารถรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำด้วยตัวเองได้
  • มีปัญหาเกี่ยวกับใช้ชิวิตประจำวันเช่น การใส่เสื้อ การเข้าห้องน้ำ การเตรียมอาหาร
  • อาจจะมีหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน พูดคนเดียว
  • มีความหวาดกลัว หรือโกรธง่าย
  • อารมณ์แปรปรวน

ระยะที่6

ระยะนี้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีอาการรุนแรงมากขึ้น สูญเสียความจำมากขึ้น ผู้ป่วยจะพูดประโยคหรือวลีซ้ำ จนกระทั่งไม่สามารถพูดได้เลย แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดจาตอบโต้เป็นภาษาได้ แต่อาจจะตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์ มีการเปลี่ยนแปลงบุคคลิภาพต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น ก้าวร้าว มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาการแสดงที่พบบ่อยคือการหนีออกจากบ้าน ความรู้สึกผิดปกติ สับสนหรือเห็นภาพหลอนในเวลากลางคืน  หงุดหงิดโมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน เช่นร้องไห้ ก้าวร้าวอย่างไม่มีเหตุผล หรือดื้อต่อผู้ดูแล

  • ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม จำเหตุการณ์เพิ่งเกิดไม่ได้
  • จำชื่อตัวเองได้แต่จำประวัติตัวเองไม่ได้
  • จำชื่อคนไม่ได้
  • มีปัญหาเรื่องการเลือกเสื้อผ้าต้องมีคนช่วย เช่นใส่ชุดชั้นในอยู่ด้านนอก ใส่รองเท้าผิดข้าง
  • หลับกลางวันและไม่ยอมหลับในเวลากลางคืน
  • ต้องมีคนช่วยเมื่อเข้าห้องน้ำ
  • ควบคุมขับถ่ายอุจาระและปัสสาวะไม่ได้ ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง
  • มีบุคคลิกภาพเปลี่ยนไป มีการหลงผิด ทำบางอย่างซ้ำเช่นเปิดปิดลิ้นชัก
  • หลงทางบ่อย

ระยะที่7

ระยะนี้เป็นระยะท้ายของโรคผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มักจะพูดประโยคหรือวลีซ้ำๆ ระยะนี้จะต้องมีคนดูแลทุกเรื่อง การเคลื่อนไหวร่างการมีปัญหา นั่งเองไม่ได้ รับประทานอาหารเองไม่ได้

  • ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่น จำคนไม่ได้
  • ไม่สามารถเดินได้
  • กลืนลำบาก
  • ไม่ยิ้ม
อาการของโรคอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ระยะความรุนแรงของโรค พฤติกรรมของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยารักษาความจำเสื่อม การป้องโรคอัลไซเมอร์ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ปัญหารการนอนหลับ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์