หลอดเลือดสมองโป่งพอง

หลอดเลอดแดงสมองโป่งพองเกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดในสมองบางตำแหน่งบางกว่าบริเวณอื่น เมื่อต้องรับมือกับความดันในหลอดเลือดอยู่เรื่อย ๆ อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงบริเวณที่บางนั้นโป่งพองเป็นกระเปาะ และอาจแตกและทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่ โรคนี้อาจจะตรวจโดยบังเอิญหรือ

หากมีการแตกของหลอดเลือดแดงในสมองจะเป็นภาวะฉุกเฉินที่จะต้องรีบรักษาเพื่อลดความเสียของเนื้อสมอง  ซึ่งต้องทำร่วมกันของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา


อาการของโรคหลอดเลือดสมองโป่ง

อาการเนื่องจากหลอดเลือดสมองแตก

ลหอดเลือดแดงโป่งในสมองแตกเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบรักษาเพราะอาจจะทำให้สมองได้รับความเสียหาย หรือเสียชีวิต หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบเรียกลริการ 1669

  • มีอาการปวดศีรษะทันทีและรุนแรงSudden, severe headache
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เห็นภาพซ้อน
  • คอแข็ง
  • หมดสติ

ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดโป่งพองและแตกอาจจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองบวม ความดันในสองเพิ่ม หลอดเลือดในสมองตีบและหดเกร็ง(cerebral vasospasm) หรือการติดเชื้อทั้งปอด ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

อาการของหลอดเลือดแดงโป่ง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีหลอดเลือดแดงโป่งมักจะไม่มีอาการ หากหลอดเลือดแดงโป่งมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจจะไปกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการ

  • ชา
  • อ่อนแรงของแขนขา หรือกล้ามเนื้อใบหน้า
  • หนังตาตก
  • ม่านตาโตทำให้มองเห็นไม่ชัด
  • มองไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
  • ปวดกระบอกตา
  • ปวดศีรษะที่เดียว
  • ชัก

ภาพจาก https://www.barrowneuro.org/in-the-news/pulserider-aneurysm-treatment/

หลอดเลือดแดงโป่ง

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงสมองโป่ง

ปัจจับเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแดงสมองโป่ง

  • การสูบบุหรี่
  • ความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาโดยเฉพาะ cocaine
  • ประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้
  • เป็นโรค Polycystic kidney disease
  • Marfan’s syndrome
  • เป็นโรค Arteriovenous (artery and vein) malformations (AVMs)

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงสมองโป่ง

การตรวจพิเศษที่นิยมใช้ได้แก่

  • การตรวจ Computed tomographic (CT) imaging
  • การตรวจ Computed tomographic angiography (CTA)และการฉีดสี
  • การตรวจด้วยคลื่อนแม่เหล็กMagnetic resonance imaging (MRI)
  • การตรวจด้วยคลื่อนแม่เหล็กMagnetic resonance imaging (MRI)และฉีดสี
  • การตรวจโดยการสวนหลอดเลือดและฉีดสี Angiogram/arteriogram

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงสมองโป่ง

กรณีที่ลอดเลือดแดงโป่งมีขนาดเล็กและไม่มีอาการ ให้ติดตามเป็นระยะ หากหลอดเลือดแดงโป่งมีขนาดใหญ่ขึ้น(หากใหญ่กว่า 7 มิลลิเมตร ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูง )หรือเสี่ยงต่อการแตก ก็จะให้การรักษา

สำหรับการรักษาหลอดเลือดแดงโป่งที่ยังไม่แตกอาจจะให้การผ่าตัดแบบ microsurgical clipping ดดยการใช้คลิปหนีบส่วนคอของหลอดเลือดแดงโป่ง หรืออาจจะใช้การสอดสายไปยังบร้เวิณดังกล่าวและใส่ขดลวด

เพิ่มเพื่อน