สาเหตุโรคเหงือก

สาเหตุโรคเหงือกส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยการดูแลช่องปากไม่ดี เช่นการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน หรือการตรวจฟัน แต่ก็มีสาเหตุอื่น เช่นการสูบบุหรี่ การขาดสารอาหาร การติดเชื้อ และโรคประจำตัว

สาเหตุของโรคเหงือก

โรคของเหงือกได้แก่โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทนต์ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่สำคัญ หากไม่ดูแลป้องกันหรือรักษาจะทำให้ฟันร่วงก่อนวัย สาเหตุที่สำคัญของโรคเหงือกเกิดจากการมีคราบหินปูนมาเกาะที่ฟัน สาเหตุที่ทำให้เกิดคราบได้แก่

1การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง การสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อการสุขภาพในช่องปากด้วย โดยกลไกที่ทำให้เกิดโรคเหงือกได้แก่

  • การเกิดคราบหินปูนซึ่งต้องขูดเอาออก
  • การเกิดถุงระหว่างเหงือกและฟัน
  • การสูบเสียการกระดูกที่ยึดเหนี่ยวฟัน

หากไม่ได้ขูดหินปูนจะทำให้เชื่อแบคทีเรียที่อยู่ในคราบเจริญเติบโต ทำให้เหงือกแยกออกจากฟันเกิดเหงือกร่น และในที่สุดก็เกิดโรคปริทนต์ นอกจากนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จะมีฟันร่วงมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

2พันธุกรรม

จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 30 ของประชากรจะมีพันธุ์กรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก

3วัยและเพศ

ผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วันรุ่น การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก

  • วัยรุ่น ช่วงนี้ฮอร์โมนเพศมีมากทำให้เลือดไปเลี้ยงเหงือมีปริมาณมาก และต่อสยองต่อสิ่งที่ระคายเคืองได้ง่าย ทำให้เหงือกมีอาการบวมได้ง่าย
  • ช่วงมีประจำเดือน ผู้หญิงบางท่านจะมีอาการเหงือกอักเสบ และมีเลือดออกช่วงที่มีประจำเดือน
  • ขณะตั้งครรภ์ หญิงบางท่านจะมีเหงือกอักเสบ มีอาการบวม แดงหรืออาจจะมีเลือดออกจะเริ่มเป็นช่วงเดือนที่สองจนแปดเดือน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากเหงือกไวต่อการกระตุ้น การที่มีโรคปริทนต์เชื่อว่าจะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  • การใช้ยาคุมกำเนิดก็เกิดความเสี่ยงของเหงือกอักเสบเหมือนกับการตั้งครรภ์
  • วัยทอง จะเกิดการอักเสบของเหงือกและช่องปากทำให้รับรสไม่ดี เหงือกจะแห้งและเลือดออกง่าย นอกจากนั้นกระดูกเริ่มพรุนก็จะทำให้ฟันหลุดร่วงง่าย

4ยา

  • ยาที่ลดน้ำลายจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก เช่นยารักษาหวัด
  • ยาแก้โรคซึมเศร้า Tricyclic antidepressant
  • ยากันชัก Dilantin

5การติดเชื้อ

เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดเหงือกอักเสบได้ เช่นเชื้อเริม เชื้อ candida

6โรคประจำตัว

เช่น โรคเบาหวาน มะเร็งเม็ดเลือดขาว และอีกหลายโรคจะมีผลต่อสุขภาพในช่องปากและเหงือก ผู้ป่วยโรคมะเร็งรวมทั้งการรักษามะเร็งจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเหงือก

7การขาดสารอาหาร

หากรับประทานอาหารที่ขาดวิตามิน บี ซี และแคลเซี่ยมจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานหวานหรือแป้งมากและดื่มน้ำน้อยจะมีโอกาสเกิดคราบหินปูนได้ง่าย

8ความเครียด

ความเครียดจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกเพราะเมื่อเครียดก็จะสูบบุหรี่เพิ่ม และดูแลสุขภาพปากลดลง และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

9ปัญหาเรื่องฟัน

ฟันที่มีปัญหาเช่นฟันเก ฟันโยก ล้วนเป้นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดคราบหินปูนได้ง่ายซึ่งจะทำให้เกิดโรคเหงือกตามมา

10การดื่มสุรา

การดื่มสุราจะทำให้การป้องกันตนเองเสียไป เกิดปัญหาสุขภาพในช่องปากได้

11ไม่ได้ดูแลสุขภาพช่องปาก

ไม่มีการตรวจสุขภาพช่องปาก ไม่มีการใช้ไหมขัดฟัน หรือไม่ได้แปรงสีฟันหลังอาหาร

12การหายใจทางปาก

การหายจากทางปากจะทำให้เหงือกได้รับการระคายเคืองซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก

ปัญหาเหงือกมีอยู่ 3 ระยะด้วยกันคือ ปัญหาเหงือกอักเสบ ปัญหาปริทันต์อักเสบ และปัญหาปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง แม้ว่าทันตแพทย์จะสามารถวินิจฉัยปัญหาของคุณได้ แต่คุณก็ควรทราบอาการของปัญหาในแต่ละระยะด้วยเพื่อสังเกตตัวเองและคนในครอบครัวก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย

ปัญหาเหงือกอักเสบ
เป็นปัญหาที่เกิดในระยะแรกและพบได้มากที่สุด แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการของปัญหาเหงือกอักเสบมีดังนี้

- เหงือกบวมแดง
- เลือดออกตามไรฟันได้ง่ายขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
- ขอบเหงือกร่น
- มีกลิ่นปาก


ปัญหาปริทันต์อักเสบ
ปัญหาเหงือกในระยะนี้เป็นระยะที่ปัญหาเหงือกอักเสบมีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น เราเรียกระยะนี้ว่า "ปัญหาปริทันต์" ปัญหานี้จะทำลายเนื้อเยื่ออ่อนและทำให้สูญเสียกระดูกที่ช่วยพยุงฟัน อาการของปัญหาปริทันต์มีดังนี้

- เหงือกบวม มีสีแดงจัด
- เหงือกนุ่มเมื่อสัมผัส
- มีพื้นที่ระหว่างฟันเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดร่องลึกปริทันต์
- เกิดหนองบริเวณระหว่างฟันและเหงือก
- มีกลิ่นปากหรือรู้สึกรสชาติในปากผิดปกติ
- สูญเสียฟันที่มีรอยกัดไม่พอดีกัน


ปัญหาปริทันต์ขั้นรุนแรง
ระยะสุดท้ายของปัญหาเหงือกคือ ระยะนี้จะมีการสูญเสียกระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์ที่รองรับฟันของคุณ เมื่อเกิดอาการดังกล่าวนขึ้นจะทำให้ฟันของคุณโยกและหลุดไปในที่สุด เมื่อถึงระยะนี้ทันตแพทย์อาจต้องใช้วิธีการถอนฟันของคุณทิ้งเพื่อไม่ให้ฟันซี่อื่น ๆ ติดเชื้อเพิ่มเติม อาการของปัญหาปริทันต์ขั้นรุนแรงคือ

- มีกลิ่นปากเรื้อรัง
- เหงือกบวมและมีเลือดออก
- เหงือกร่นขั้นรุนแรง
- ร่องลึกปริทันต์ลึกมากขึ้น
- ฟันโยกและแนวสบฟันเปลี่ยนไป


ปัญหาปริทันต์เป็นปัญหาที่เรื้อรังและเป็นนาน มีผลกระทบต่อรอยยิ้มที่สวยงามของคุณไปจนถึงต้องเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมภายในช่องปากหากไม่รักษาแต่เนิ่น ๆ ดังนั้นคุณควรหมั่นสังเกตอาการที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อป้องกันปัญหาปัญหาเหงือกของคุณ แปรงฟันและขัดฟันด้วยไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและทำความสะอาดฟัน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดฟันที่เหมาะสมกับช่องปากของคุณ ให้ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่มเพื่อช่วยถนอมเหงือก รวมถึงใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ การขูดหินปูนเป็นระยะตามที่ทันตแพทย์แนะนำก็สามารถช่วยป้องกันปัญหาเหงือกได้

โรคเหงือกขั้นรุนแรงขึ้นหรือที่เรียกว่าปริทันต์อักเสบ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเกือบครึ่งที่มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป จากข้อมูลการศึกษาล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(CDC) ส่วนใหญ่แล้ว การสูญเสียฟันเป็นผลลัพธ์มาจากการปล่อยปัญหาทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีตัวเลือกสำหรับการรักษาปริทันต์ขั้นรุนแรงที่ประสบความสำเร็จมากมาย จึงพอมีความหวังที่ไม่ต้องสูญเสียฟัน แม้ว่าสุขภาพเหงือกไม่ค่อยดีเท่าที่ควร

การดูแลฟันและเหงือก

กลับหน้าเดิม

การดูและฟัน | คราบหินปูน | สาเหตุโรคเหงือก | สุขอนามัยช่องปาก | โรคเหงือกอักเสบ | โรคในช่องปาก | โรคเหงือก | เหงือกร่น | ปริทนต์อักเสบ | โรคเหงือกกับหัวใจ | ปากแห้ง | ฟันผุ | การแปรงฟัน | กลิ่นปาก