Creatine Phosphokinase (CPK) สูงพบในโรคอะไร

เอนไซม์ CPK พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อ หากพบว่าค่า CPK สูงแสดงว่ามีโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจหรือกล้ามเนื้อ

เอนไซม์ CPK มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเร่งปฏิกิริยาชีวเคมีในการแลกเปลี่ยนสารพลังงานภายในเซลล์
หรือกล่าวอย่างสรุปก็คือ มีส่วนช่วยผลิตพลังงานให้ทุกเซลล์ของอวัยวะสำคัญ เพื่อให้แต่ละอวัยวะทำหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป CPK ที่พบในเลือดมี 3 ชนิดได้แก่

ทำไมต้องตรวจ CPK

การตรวจเลือด CPK มักจะตรวจที่ห้องฉุกเฉินเพื่อวินิจฉัยโรคหากคุณมีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรค

นอกจากจะใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจแล้ว ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหรือภาวะอื่นๆที่มีการทำงายของกล้ามเนื้อ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

การเตรียมตัวในการตรวจเลือดไม่ต้องอดอาหาร แต่ต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าคุณรับประทานยาอะไร เนื่องจากยาบางชนิดจะมีผลต่อผลการตรวจเช่น



ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อผลการตรวจ

ในกรณีใดก็ตามที่เกิดสภาวะผิดปกติหรือเกิดโรคต่ออวัยวะสำคัญทั้งสามดังกล่าว เอนไซม์ CPK ย่อม

ล้นเข้าสู่กระแสเลือด  ในการนี้ จากน้ำเลือดจึงสามารถถูกนำมาวิเคราะห์ได้ว่าเป็น CPK ที่หลุดมาจากเซลล์ของอวัยวะใดโดยให้ชื่อเอนไซม์ย่อยของ CPK (CPK isoenzymes) จากอวัยวะทั้งสามไว้ ดังนี้

ข้อควรสังเกต

โดยธรรมดาในกระแสเลือดของผู้มีสุขภาพดีจะปรากฏมีแต่ค่า CK-MM จากกล้ามเนื้อเกือบ

100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่า CK-BB จากสมองนั้นจะมีน้อยมากจนวัดค่าไม่ได้ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏค่า CK-BB เพียงให้ตรวจนับวัดค่าได้ แม้จะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม
ก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า น่าจะมีเหตุสำคัญเกิดขึ้นแก่อวัยวะหนึ่งอวัยวะใด เช่น สมอง ปอด

เท่านั้น ยาที่อาจมีผลทำให้ค่าทุกตัวของ CPK และ CPK isoenzymes เพิ่มขึ้นอย่างผิดธรรมชาติ ก็ได้แก่ กลุ่มยา

ampicillin กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด ยาแอสไพริน กลุ่มยาใช้ลดคอเลสเตอรอล statin กลุ่มยาระงับความรู้สึก (anesthetics) มอร์ฟีน และแม้แต่แอลกอฮอล์
สรุปว่า

ขณะเมื่อกินยาเหล่านี้เป็นประจำอยู่ และไปเจาะเลือดเพื่อวัดผล CPK ก็ให้พึงระลึกว่า ค่าที่ได้
อาจเบี่ยงเบนสูงขึ้นเกินความจริง

ค่าปกติของ CPK

  1. ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด
  2. ค่าปกติทั่วไป
ผู้ชาย CPK  55 – 170 U/L
ผู้หญิง CPK 30 – 135 U/L



ค่า CPK isoenzymes

CK-MM  90 – 100 %
CK-BB 0 – 6 %
CK-MB  วัดค่าไม่ได้


ค่าผิดปกติ

  1. ในทางน้อย มักไม่ปรากฏ
  2. ในทางมาก อาจพิจารณาจำแนกได้ดังนี้

ค่า CPK สูงเกินเกณฑ์ปกติ อาจแสดงผลว่า

ผลการตรวจเลือด

CPK-BB สูง

เอนไซม์นี้พบในสมองและปอด หากค่านี้สูงจะพบในภาวะ

CPK-MB

เอนไซม์นี้พบมากในกล้ามเนื้อหัวใจ หากค่าเอนไซม์นี้สูงจะพบในภาวะ

  1. อาจเป็นผลจากการผ่าตัดแก้ไขหลอดเลือดหัวใจโป่งพอง (cardiac aneurysm surgery)
  2. อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. มีข้อพึงสังเกตว่า เมื่อมีโรคหรือสาเหตุสำคัญใดที่กระทบต่อหัวใจจนทำให้ CK-MB สูงขึ้นเกิน

CPK-MM

เอนไซม์นี้พบในกล้ามเนื้อ ค่าเอนไซม์สูงพบในภาวะ

โรคสภาวะกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis) ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่อาจรุนแรงถึงขั้น

เสียชีวิตโดยไม่รู้สาเหตุ โรคสภาวะกล้ามเนื้อสลาย อาจยืนยันได้ค่อนข้างแน่ชัด หากตรวจเลือดได้ผลว่า ค่า CPK  

มีค่ามากกว่า 5 เท่าของค่าสูงสุดจากเกณฑ์ปกติประมาณ  850 U/L ดังนั้นหากค่า CPK เกินกว่า 850 U/L ให้สงสัยว่าจะมีภาวะกล้ามเนื้อสลาย ซึ่งอาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไตเสื่อม โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง ปัสสาวะสีแดงๆ ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคสภาวะกล้ามเนื้อสลาย อาจแยกได้จาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ

ถูกฟ้าผ่า ไฟฟ้าช็อต ฯลฯ

เรียบเรียงวันที่ 23/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน