ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)


เมื่อรับประทานอาหารจะผ่านการย่อยในปาก กระเพาะอาหารและผ่านลงไปยังลำไส้เล็ซึ่งจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก และ บริเวณผนังด้านในลำไส้เล็กจะมี ไคโลไมครอน(chylomicron ) ซึ่งเป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำที่สุด (VLDL ) ซึ่งทำหน้าที่ในการขนส่งลำเลียงสารอาหารประเภทไขมันจากลำไส้เล็กผ่านระบบท่อน้ำเหลือง (lymphatic system) เข้าสู่การไหลเวียนของเลือดทางหลอดเลือดดำ เมื่อไคโลไมครอนออกจากผนังลำไส้เล็กจะอยู่ในกระแสเลือด 12 ชั่วโมง ดังนั้นการเจาะเลือดตรวจไตรกลีเซอไรด์จะต้องงดอาหาร 12 ชั่วโมง

ไขมันไตรกลีเซอไรด์นี้ จะถูกขนส่งโดย VLDL จากตับไปในเลือดเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ส่วนเกินก็จะส่งไปเก็บยังเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) เพื่อเป็นพลังงานสำรอง หากมีมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะมี ไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันไปเก็บที่เนื้อเยื่อไขมันปริมาณมาก ทำให้เกิดภาวะ อ้วนลงพุง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือด สิ่งที่อันตรายคือตัว VLDL ที่ขนส่ง TG ไปสู่เนื้อเยื่อไขมันแล้วนั้น จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็น LDL ซึ่งส่งผลให้นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ

ข้อแตกต่างระหว่าง Triglycerides และ Cholesterol

Triglycerides แตกต่างจาก Cholesterol เพราะคอเลสเตอรอลนั้นไม่มีค่าในเชิงพลังงาน แต่ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันแท้จริงมีค่าพลังงานเท่ากับประมาณ 9 แคลอรีต่อกรัม ดังนั้น ในยามจำเป็นที่ร่างกายขาดกลูโคส เช่น ในกรณีมิได้บริโภคอาหารคาร์โปไฮเดรต ร่างกายก็นำไตรกลีเซอไรด์ที่สะสมไว้ เอาออกมาเผาผลาญสร้างพลังงาน แต่ Cholesterol เป็นไขมันที่ไว้สร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย ไม่ได้ไว้เป็นพลังงานให้กับร่างกายแต่อย่างใด

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) สูงทำให้เกิดโรค

  • จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
  • ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน
  • จะพบในผู้ป่วยที่ควบคุมไขมันไม่ดี
  • ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
  • พบในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคตับ โรคไต
  • พบในผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด

ค่าปกติของ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

ค่า TG ปกติ [งดอาหาร ก่อนเจาะเลือดนาน 12 ชม.]  
ค่าน้อยกว่า  150 mg/dL ปกติ
ค่าช่วง        150 - 199 mg/dL เกือบสูง  
ค่าช่วง        200 - 499 mg/dL สูง  
มากกว่า      500 mg/dL สูงมาก 
   

ค่าสูงผิดปกติ

  1. สาเหตุการเพิ่มขึ้นของระดับไตรกลีเซอไรด์   

2. แนวทางการรักษาไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) สูง   

  • ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง โดยเฉพาะ ค่ามากกว่า 200 mg/dL ขึ้นไป
    • พิจารณาให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ดังนี้
    • ออกกำลังกายเพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
    • ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารทุกชนิดที่มากเกินต่อวัน
    • พร้อมตรวจติดตามระดับไตรกลีเซอไรด์ ตามแพทย์สั่งเพื่อประเมินแนวทางการรักษาต่อไป
    • ลดหรืองดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูง และลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ ตามข้อมูลข้างต้น    
  • หากระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากกว่า 500 mg/dL อาจจะต้องพิจารณาได้รับยาเพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลง เนื่องจากอาจจะนำไปสู่ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้ (acute pancreatitis) ดังนั้นพิจารณาพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจต้องรักษาก่อนการรักษาการลดระดับ LDL-c

Cholesterol | LDL | HDL | Triglyceride | โรคไขมันในเลือดสูง | ไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน | ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ