น้ำมันมะพร้าว (coconut oil)

น้ำมันมะพร้าว (coconut oil) คือน้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว (Cocos nucifera L.) ซึ่งเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Arecaceaeหรือ Palmae) น้ำมันมะพร้าวจะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 25 องศา หากอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเป็นไข หากจะนำน้ำมันที่เป็นไขนี้ไปตากแดด หรือแช่ในน้ำอุ่นก็จะได้น้ำมันมะพร้าวที่เป็นของเหลวผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวที่จำหน่ายในท้องตลาด และได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ virgin coconut oil ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะพร้าวที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูง และไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี น้ำมันมะพร้าวเริ่มได้รับความนิยมทั้งในประเทศไทย และอเมริกา มีการสำรวจที่อเมริกาพบว่าประชาชนร้อยละ 72 ลงคะแนนว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพ แต่การสำรวจโภชนากรของอเมริกาพบว่าร้อยละ 37เห็นด้วยว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลดีต่อสุขภาพ เรามาดูว่าว่าน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติอะไรบ้าง


น้ำมันมะพร้าว

ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าว

องค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัว (มากกว่า 90%จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) แต่กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ำมันมะพร้าวนั้นเป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (medium chain fatty acid) ส่วนใหญ่ของไขมันอิ่มตัวเป็น lauric acid ร้อยละ47 ส่วนน้อยเป็น myristic และ palmitic acids ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน(adipose tissue)ได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว (long chain fatty acid) เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากในน้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น (1, 2) โดยมี ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ทำให้ไขมันเลว LDL ในเลือดสูง มีแร่ธาตุและวิตามินอีกจำนวนหนึ่ง

น้ำมันมะพร้าวและสุขภาพ

  • น้ำมันมะพร้าวที่กล่าวอ้างว่ามีผลดีต่อสุขภาพเป็นน้ำมัน Virgin ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ medium-chain triglycerides (MCTs) ส่วนน้ำมันมะพร้าวที่ขายกันอยู่มีส่วนประกอบดังกล่าวน้อย MCTs จะดูดซึมง่ายและถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน ดังน้ันน้ำมันบริสุทธิ์จะให้ผลไม่เหมือนกับน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านขบวนการผลิต
  • ประเทศที่ใช้มะพร้าวหรือน้ำมันมะพร้าวมีอัตราการเกิดโรคหัวใจไม่สูง ประเทศเหล่านี้บริโภคมะพร้าวหรือน้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการผลิต ซึ่งต่างกับประเทศตะวันตกที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านขบวนการผลิต
  • จากการศึกษาการใช้มะพร้าว น้ำมันมะพร้าวที่มีการตีพิมพ์พอจะสรุปได้ดังนี้
    • จาการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าประเทศที่บริโภคมะพร้าวเป็นอาหารท้องถิ่นซึ่งจะรับประทานมะพร้าว กะทิ ผัก ปลา พบว่าผู้ที่บริโภคมะพร้าวมากจะมีไขมันดี HDL cholesterol สูงในขณะเดียวกันก็มีระดับคอเลสเตอร์รอลรวม และระดับไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง
    • มีการศึกษาช่วงสั้น 5-8 สัปดาห์มีการเปรียบเมียบการใช้น้ำมันมะพร้าว เนย และน้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันมะกอก พบว่าน้ำมันมะพร้าวเพิ่มระดับคอเลสเตอร์รอล ไขมันดี และไขมันเลว ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดมากกว่าน้ำมันมะกอกแต่ไม่ต่างจากเนย น้ำมันมะพร้าวทำให้มีการเพิ่มของไขมันเลวไม่ต่างจากการรับประทานไขมันอิ่มตัวที่มาจากเนื้อสัตว์และน้ำมัปามล์ ผู้วิจัยสรุปว่าน้ำมันมะพร้าวทำให้มีการเพิ่มของไขมันเลวซึ่งอาจจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึงแนะนำให้มีการจำกัดการรับประทาน
  • สมาคมโรคหัวใจของอเมริกาได้แนะนำเรื่องอาหารเมือปี 2017 ให้ประชาชนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือเป็นโรคหัวใจให้รับประทานไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 6 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด(เทียบเท่าน้ำมันมะพร้าวไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะ)


ชนิดของน้ำมันมะพร้าว

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวขึ้นกับขบวนการผลิต ตามรายงานที่ให้ผลดีต่อสุขภาพมักจะเป็นน้ำมะพร้าวชนิด virgin

  • น้ำมันมะพร้าวชนิด Virgin หรือ Extra Virgin โดยการใช้เนื้อมะพร้าวตากแห้งและใช้เครื่องกดอัดเพื่อให้น้ำมันมะพร้าวออกมาก หรือใช้เนื้อมะพร้าวมาขูดและคั่งเป็นกระทิ หลังจากนั้นจึงน้ำไปแยกเป็นน้ำมันมะพร้าว อาจจะใช้การปั่นแยก หรือการเคี่ยว น้ำมันมะพร้าวชนิดนี้ทนต่อความร้อนสูงๆเป็นเวลานานไม่ได้จึงไม่เหมาะสำหรับการทอดไก่ ทอดปลาท่องโก๋ ซึ่งมีวิธีการสองวิธีคือ
    • การสกัดร้อนโดยใช้ความร้อนช่วย
    • สกัดเย็นจะสกัดน้ำมันมะพร้าวที่อุณหภูมิห้องซึ่งเชื่อว่าจะได้น้ำมันมะพร้าวที่มีสารอาหารครบถ้วน
  • การกลั่น เมื่อได้น้ำมันมะพร้าวจะนำน้ำมันมะพร้าวมาฟอกสี ฟอกกลิ่น มีการกรองทำให้ไม่มีสิ่งเจือปน และมีการเติมสารเคมีทำให้ได้น้ำมันที่ทนต่อความร้อนได้สูง
  • การทำ Partially Hydrogenated เป็นการเติม hydrogen ให้กับไขมันไม่อิ่มตัวทำให้เก็บรักษาได้นานขึ้น แต่จะได้ไขมันทรานส์ ควรจะหลีกเลี่ยงไขมันชนิดนี้

น้ำมันมะพร้าวที่ขายกันอยู่ยังไม่มีมาตราฐานการผลิต แต่ได้แบ่งน้ำมันมะพร้าวออกเป็น

อ่านกระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าว

  • ปั่นเปียก
  • สกัดเย็น
  • สกัดร้อน

จะซื้อน้ำมันมะพร้าวจะต้องรู้ชนิดของน้ำมันมะพร้าวซึ่งจะพิมพ์อยู่บนฉลาก

Pure Coconut Oil

น้ำมันมะพร้าวชนิดนี้จะนำเนื้อมะพร้าวที่อบแห้งหรือตากแห้งนำมาคั้นด้วยเครื่องมือ จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ไม่มีการการกลั่น ไม่มีการเติมสารเคมี น้ำมันมะพร้าวนี้เหมาะสำหรับการรับประทาน ใช้ทำน้ำมันสำหรับนวด ใช้กับผม ผสมในเครื่องสำอาง ใช้ในอุตสาหกรรม และทางการแพทย์

Refined Coconut Oil

เป็นน้ำมันมะพร้ามที่ได้จากการกลั่น มีการเติมสารเคมี และฟอกสี และการแต่งกลิ่น และไม่มีโปรตีน

Virgin Coconut Oil

เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการคั้นกะทิ แล้วน้ำไปสกัดซึ่งอาจจะสกัดร้อน สกัดเย็น หรือใช้สารเคมีในการแยกน้ำมันมะพร้าวออกมา น้ำมันมะพร้าวนี้จะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ medium chain fatty acid และมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค เป็นน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับการใช้

Organic Coconut Oil

เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากสวนที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุยอินทรีย์ น้ำมันชนิดนี้ใช้ใช้ทำเครื่องสำอาง

Organic Virgin Coconut Oil

 เป็นน้ำมันมะพร้าว Virgin Coconut Oilที่นำมาจากสวนที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง

น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดี หากนำมาใช้ทอดอาหารรับประทาน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือไขมันอิ่มตัวสูง ที่อุณหภูมิห้องจะเป็นน้ำมัน หากเจอความเย็นจะเป็นไขมัน น้ำมันมะพร้าวจะมีความคงทนสูงจึงไม่สลายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน น้ำมันมะพร้าวทนต่อความร้อนได้ดี มีอุณหภูมิ smokimg point สูง น้ำมันมะพร้าวจะอุดมไปด้วย medium-chain fatty acids เช่น lauric acid ซึ่งมีคุณสมบัติสร้างภูมิคุ้มกัน และใช้ลดน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคหลายโรค เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ อ่อนเพลีย แม้ว่าจะมีพลังงานสูงและไขมันสูงก็มีการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้ในการลดน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวนำมาใช้ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง

การเลือกใช้น้ำมันมะพร้าว

ในการเลือกซื้อน้ำมันมะพร้าวจะต้องทราบวัตถุประสงค์ของความต้องการจึงจะเลือกซื้อได้ถูกต้อง

วัตถุประสงค์ ชนิดของน้ำมัน
ทำอาหาร ใช้น้ำมันที่กลั่น
ลดน้ำหนัก Virgin
เพื่อสุขภาพ Virgin, Organic
นวด Pure, Refined
ผม Pure, Refined
ใช้ทางการแพทย์ Virgin, Virgin Organic

วิธีที่ใช้ในการเตรียม virgin coconut oil เช่น วิธีบีบเย็น เป็นต้น

จากคุณสมบัติดังกล่าวของน้ำมันมะพร้าว ส่งผลให้น้ำมันมะพร้าวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในการรับประทานเพื่อช่วยลดความอ้วน จากรายงานการศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blind, clinical trial) ในประเทศบราซิล (3)ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่รับประทานน้ำมันมะพร้าว และกลุ่มที่รับประทานน้ำมันถั่วเหลืองในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง (abdominal obesity) มีอายุระหว่าง 20-40 ปี (กลุ่มละ 20 คน) รับประทาน 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์  ระหว่างการทดสอบผู้ทดสอบทุกคนจะได้รับอาหารพลังงานต่ำ (hypocaloric diet) และออกกำลังกาย 4 วัน/สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ทำให้น้ำหนักตัวและ body mass index (BMI) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง เมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) แต่มีระดับไขมันตัวดี (HDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับน้ำมันถั่วเหลือง มีระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45และ 23.48 ตามลำดับ และมีระดับไขมันตัวดี (HDL) ลดลงร้อยละ 12.62 เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง อย่างไรก็ตามระดับไตรกลีเซอไรด์ของทั้งสองกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง

แม้การศึกษานี้จะแสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลอง และไม่ทำให้ระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (คลอเลสเตอรอลรวม ไขมันตัวร้าย(LDL) และไตรกลีเซอไรด์) เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี(HDL) ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทำการทดสอบในกลุ่มคนจำนวนน้อย และระยะเวลาที่ทดลองก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ (12 สัปดาห์) นอกจากนั้นการได้รับอาหารพลังงานต่ำและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ(4 วัน/สัปดาห์) ก็นับเป็นปัจจัยร่วมสำคัญที่อาจส่งเสริมให้ผลการทดลองเป็นไปในทางที่ดีจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อดูผลของน้ำมันมะพร้าวต่อการลดน้ำหนักและการสะสมของระดับไขมันดังกล่าวในระยะยาว ดังนั้นจากข้อมูลที่มีในขณะนี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าว มีผลต่อการลดน้ำหนักหรือจะส่งผลดีต่อระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และหากจะให้แนะนำถึงหนทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดในขณะนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักก็คงจะหนีไม่พ้นการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าว

ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำมันมะพร้าวได้แก่

  • Saturated fatty acids: 92%.
  • Monounsaturated: 6%.
  • Polyunsaturated: 1.6%.

Saturated fatty acids

ไขมันอิ่มตัวที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันมะพร้าวเป็นชนิดที่มีความยาวของโซคาร์บอนปานกลาง(มีคาร์บอน 14 ตัว) ไขมันนี้จะเผาพลาญเร็ว และไม่สะสมในร่างกาย

    • ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวได้แก่ Lauric Acid ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีคาร์บอน 12 ตัวมีมากที่สุดประมาณร้อยละ 40 ร่างกายจะแปลง lauric acid เป็น monolaurin ซึ่งเป็นตัวที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส และมีการศึกษาว่าไขมันตัวนี้ไม่ได้เพิ่มไขมันเลวในเลือดโดยตรง เชื่อว่าเป็นไขมันที่ดี และมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีพลังงานค่อนข้างสูงหากรับประทานมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนและทำให้ไขมันเลวในเลือดเพิ่มมากขึ้น
    • กรด Capric acid จะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
    • กรด Caprylic acid และ myristic acid จะมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

Unsaturated fatty acids

ไขมันไม่อิ่มตัวที่สำคัญในน้ำมันมะพร้าวคือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน Polyunsaturated fatty acids( linoleic acid ) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว monounsaturated fatty acids (Oleic acid)

กรดไขมันในน้ำมันมะพร้าว

  • Poly-phenols

ได้แก่สาร Gallic acid หรือ phenolic acid สารนี้จะให้กลิ่นและรสของน้ำมันมะพร้าว

  • สารอื่นๆได้แก่

Betaines, ethanolamide, ethoxylates, fatty esters, fatty polysorbates, monoglycerides and polyol esters.

  • Derivatives of fatty alcohols: Fatty chlorides, fatty alcohol sulphate and fatty alcohol ether sulphate
  • วิตามินและเกลือแร่: Vitamin E, vitamin Kและเกลือแร่เช่นธาตุเหล็ก iron

น้ำมันมะพร้าวจัดเป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพ

เมื่อก่อนนี้มีการศึกษาพบว่าไขมันอิ่มตัวมีผลเสียต่อสุขภาพ แต่ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าไขมันอิ่มตัวไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด(1)

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการป้องกันไม่เพียงแค่โรคหัวใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวานและมะเร็ง ตลอดจนวิธีการป้องกันและแม้แต่รักษาโรคติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวได้ถูกเก็บไว้ ถูกฝังอยู่ในวารสารทางการแพทย์เนื่องจากมีอคติทั่วไปต่อไขมันอิ่มตัวก C-10:0 (7%) กรดลอริก C-12:0 (49%) ไมริสติก กรด C-14:0 (8%), กรดปาล์มิติก C-16:0 (8%), กรดสเตียริก C-18:0 (2%), กรดโอเลอิก C-18:1 (6%) และ 2% ของ C-18:2 กรดไลโนเลอิก

DebMandal และ Mandal10 รายงานว่าน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวสายโซ่ขนาดกลาง (กรดลอริก) ซึ่งช่วยให้สามารถดูดซึมได้โดยตรงจากลำไส้และส่งตรงไปยังตับเพื่อนำไปใช้อย่างรวดเร็วสำหรับการผลิตพลังงาน ดังนั้น MCFAs จึงไม่มีส่วนร่วมใน การสังเคราะห์ทางชีวภาพและการขนส่งคอเลสเตอรอล คุณลักษณะการป้องกันหัวใจของน้ำมันมะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกาตะวันตกซึ่งกำลังต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหารเรื้อรังรวมถึงโรคอ้วนและโรคหัวใจ Fife24 รายงานว่าในศรีลังกา มะพร้าวเป็นแหล่งไขมันหลักในอาหารมานานนับพันปี ในปี พ.ศ. 2521 การบริโภคมะพร้าวต่อหัวเท่ากับ 120 ถั่ว/ปี ในเวลานั้นประเทศมีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำที่สุดในโลก มีเพียงหนึ่งในทุก ๆ 100,000 คนเท่านั้นที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งกินมะพร้าวน้อยมากและผู้คนพึ่งพาน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมากขึ้น อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในเวลาเดียวกันก็สูงกว่าอย่างน้อย 280 เท่า . ผลจากแคมเปญ 'ต่อต้านไขมันอิ่มตัว' การบริโภคมะพร้าวในศรีลังกาลดลงตั้งแต่ปี 2521 ภายในปี 2534 การบริโภคมะพร้าวต่อหัวลดลงเหลือ 90 ลูกต่อปีและลดลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่น้ำมันมะพร้าว ผู้คนเริ่มกินน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอื่นๆ มากขึ้น เมื่อการบริโภคมะพร้าวลดลง อัตราการเกิดโรคหัวใจก็เพิ่มขึ้นในศรีลังกา และที่น่าสนใจคือ ปัญหามีมากขึ้นในเมือง24ใหญ่สถานการณ์ของศรีลังกานี้อาจเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งในแอฟริกาตะวันตก

DebMandal และ Mandal10 รายงานเพิ่มเติมว่าน้ำมันมะพร้าวมีประสิทธิภาพอย่างมากในการต่อต้านไวรัสที่เคลือบไขมันหลายชนิด เช่น ไวรัส visna, CMV, ไวรัส Epstein-Barr, ไข้หวัดใหญ่, ไวรัส, ไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ไวรัส pneumo และไวรัสตับอักเสบซี MCFA ในน้ำมันมะพร้าวจะทำลายสิ่งมีชีวิตเหล่านี้โดยการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ จึงรบกวนการรวมตัวกันของไวรัสและการเจริญเต็มที่ การควบคุมการติดเชื้อมีความสำคัญต่อวาระด้านสุขภาพของประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในแอฟริกาตะวันตก และการใช้น้ำมันมะพร้าวอาจเป็นทางเลือกที่ถูกกว่าในการควบคุมการติดเชื้อ

 

Google
 

เพิ่มเพื่อน