น้ำมันหมูทานได้หรือไม่

น้ำมันหมูจะมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีอุณหภูมิเกิดควันสูงใช้ทอดอาหารได้ เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และไขมันในเลือดสูง

ไขมันที่ได้จากสัตว์จะมีไขมันที่แตกต่างกัน สัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติ เช่นธัญพืชจะมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน แต่สัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปจะมีไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง

ดังนั้นหากจะรับประทานไขมันจากสัตว์ควรจะเลือกจากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ซึ่งมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(หลายตำแหน่ง)

น้ำมันหมู

  • เป็น้ำมันที่ได้จากไขมันของหมู
  • เหมาะสำหรับการทอดที่ใช้ความร้อนสูง

ปริมาณของไขมันในน้ำมันหมู(100กรัม)

  • ปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว(ตำแหน่งเดียว)(45.1 g ) 45.1% ส่วนใหญ่เป็นกรดโอเลอิก(41.2 g of Oleic Acid ) ซึ่งมีผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด สามารถลดไขมันเลว LDL
  • ปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(หลายตำแหน่ง)(11.2 g )11.2% โดย่เป็น omega-3 fatty acids( alfa-linolenic Acid (ALA) Linoleic acid (LA)) 1 กรัม และเป็น omega-6 fatty acidsปริมาณ 10.2 g สัดส่วนระหว่าง omega-6 fatty acids ต่อ omega-3 fatty acids เท่ากับ10.2
  • ปริมาณไขมันอิ่มตัว 39.2% โดยเป็นไขมันที่มีคาร์บอน16 อะตอม(Palmitic acid)ปริมาณ 23.8 กรัม และไขมันที่มีคาร์บอน18อะตอม( Stearic acid) ปริมาณ 13.5 กรัม
  • ไม่มีไขมันทรานส์
  • ปริมาณคอเลสเตอรอล 95 mg

น้ำมันหมู

คุณค่าทางอาหารของน้ำมันหมู 1 ช้อนโต๊ะ

Lard: Basic Nutrition Profile
พลังงาน/สารอาหาร 1 ช้อนโต๊ะ
พลังงาน 115 kcal
แป้ง 0 g
ไขมัน 12.8 g
ไขมันอิ่มตัว  5.0 g
ไขมันไม่อิ่มเชิงเดี่ยว  5.8 g
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน  1.4 g
   Omega-3 128 mg
   Omega-6 1300 mg
Protein 0 g

อัตราส่วนไขมัน

  • ไขมันอิ่มตัว: 41%
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว: 47.5%
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน: 11.5%

เหตุผลที่ควรจะใช้น้ำมันหมู

  1. น้ำมันหมูทนความร้อนได้ดี มีการทดลองนำน้ำมันหมูเปรียบเทียบกับน้ำมันพืช 4 ชนิดที่อุณหภูมิ 25°C และ 200°C ผลปรากฎว่า
  • น้ำมันหมูจะเกิดสารที่เป็นอันตรายน้อยกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
  • น้ำมันหมูจะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิ 150 องศา และเกิดอย่างช้าๆ ในขณะที่น้ำมันพืชชนิดอื่นจะเกิดอย่างรวดเร็วแม้ว่าอุณหภูมิจะไม่สูง
  • ที่อุณหภูมิ 200 องศาน้ำมันหมู่ก็ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ในขณะที่น้ำมันอื่นมีการสลายและเกิดการ oxidation

เนื่องจากน้ำมันหมูมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนน้อยกว่าน้ำมันพืช ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจะถูก oxidation ได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนและเกิดอนุมูลอิสระซึ่งจะเกิดการทำลายเซลล์



  1. มีปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนหรือหลายตำแหน่งน้อยทำให้เกิดการ oxidation น้อย นอกจากนั้นยังมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงซึ่งเป็นไขมันที่ป้องกันโรคหัวใจ
  2. น้ำมันหมูที่ได้จากหมูที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติจะอุดมไปด้วยวิตามิน K2 และวิตามิน ดี โดยเฉพาะหมูที่ถูกแดดจะมีวิตามินสูง9เท่า
  3. น้ำมันหมูเป็นแหล่งให้คอเลสเตอรอลเพราะจะมีปริมาณคอเลสเตอรอล 95 mg
  4. น้ำมันหมูไม่มีไขมันทรานส์
  5. น้ำมันหมูไม่มีกลิ่นจึงนำมาปรุงอาหารได้
  6. น้ำมันหมูเป็นแหล่งวิตามินดีซึ่งจะป้องกันการขาดแคลเซี่ยม
  7. เนื่องจากน้ำมันหมูมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว48%อาจจะมีผลดีต่อการป้องกันโรคหัวใจ โดยเฉพาะเมื่อร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลน้อย
  8. น้ำมันหมูมี choline ซึ่งป้องกันโรค Alzheimer’s disease

น้ำมันหมูสามารถหาได้จากส่วนใดก็ได้ของหมูที่มี เนื้อเยื่อไขมันสูงแบ่งออกเป็น

  1. น้ำมันหมูเกรดสูงสุด มีกลิ่นหมูเล็กน้อย เป็นน้ำมันที่ได้จากไขมันในอวัยวะภายในโดยเฉพาะรอบไตและภายในซี่โครงน้ำมันหมส่วนนี้จึงเหมาะสำหรับใช้ในขนมอบ ซึ่งมีคุณค่าสำหรับความสามารถในการผลิตแป้งพายที่ชื้นและเป็นขุย
  2. เกรดรองลงมาคือ ที่แข็ง ไขมันใต้ผิวหนัง ระหว่างหนังหลังและกล้ามเนื้อของหมูFatback
  3. เกรดต่ำสุด (สำหรับวัตถุประสงค์ในการแปรรูปเป็นน้ำมันหมู) ได้มาจากไขมันอยู่รอบๆอวัยวะย่อยอาหาร เช่น ลำไส้เล็กแม้ว่าไขมันพอกตับมักถูกใช้โดยตรงเพื่อห่อเนื้อไม่ติดมันย่างหรือในการผลิตเตปา

น้ำมันหมู

การแปรรูปน้ำมันหมู

น้ำมันหมูอาจถูกแปรรูปได้สองกระบวนการ: เปียกหรือแห้ง

ในการแปรรูปแบบเปียก

ไขมันหมูจะถูกต้มในน้ำหรือนึ่งที่อุณหภูมิสูง และน้ำมันหมูซึ่งไม่ละลายในน้ำจะลอยบนพื้นผิวของส่วนผสมหรือแยกออกจากกันแล้วใช้ เครื่องหมุนเหวี่ยงอุตสาหกรรม ปั่นแยกเอาไขมันออกมา

ในการแปรรูปแบบแห้ง

จะเอาไขมันตั้งบนกระทะด้วยความร้อนสูง หรือใช้เตาอบโดยไม่ใช้น้ำ (กระบวนการที่คล้ายกับการทอดเบคอน) ทั้งสองกระบวนการให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันบ้าง น้ำมันหมูที่ปรุงแบบเปียกมีรสชาติที่เป็นกลางกว่า สีอ่อนกว่า และมี อุณหภูมิเกิดควันสูงกว่าน้ำมันหมูแบบแห้งซึ่งจะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าและมีรสคาราเมลและมีอุณหภูมิเกิดควันต่ำกว่า

น้ำมันหมูที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรม

รวมถึงน้ำมันหมูส่วนใหญ่ที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต มาจากส่วนผสมของไขมันคุณภาพสูงและไขมันต่ำจากทั่วทั้งตัวหมู น้ำมันหมูมักจะเติมไฮโดรเจน เพื่อปรับปรุงความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง น้ำมันหมูเติมไฮโดรเจนที่ขายให้กับผู้บริโภคโดยทั่วไปมีไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อ หนึ่งช้อนโต๊ะ( 13 กรัม) น้ำมันหมูมักได้รับการปฏิบัติด้วยสารฟอกขาวและสารกำจัดกลิ่นป้องกันการเน่าเสีย (น้ำมันหมูที่ไม่ผ่านการบำบัดจะต้องแช่เย็นหรือแช่แข็งเพื่อป้องกันการ เหม็นหืน )

การใช้น้ำมันหมูอย่างปลอดภัย

  • แนะนำใช้น้ำมันหมูที่ไม่ผ่านขบวนการผลิต น้ำมันหมูธรรมชาติจะมีไขมันไม่อิ่มเชิงเดี่ยวร้อยละ60และส่วนใหญ่เป็นกรดโอเลอิกซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่พบในน้ำมันมะกอก ไขมันนี้จะป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดไขมันเลว
  • จะต้องรับประทานอาหารให้สมดุล ลดไขมันอิ่มตัวต้องลดแป้งและทดแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนหรือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว
  • ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำการรับประทานอาหาร(ปี2020-2025,แนวทางกำหนดอาหารของอเมริกา)ให้รับประทานไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ10ของพลังงานที่งหมด คนปกติรับประทานพลังงานวันละ2000แคลอรีเพราะฉนั้นจะรับประทานไขมันอิ่มตัวได้ 200อคลอรีซึ่งแปลงเป็นไขมันได้22กรัม หนึ่งช้อนโต๊ะของน้ำมันหมูมีไขมันอิ่มตัว 5 กรัมดังนั้นจึงไม่ควรจับประทานน้ำมันหมูเกินวันละ4ช้อนโต๊ะ ส่วนสมาคมโรคหัวใจของอเมริกาแนะนำให้รับประทานไขมันอิ่มตัวได้ไม่เกินร้อยละ5ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งจะรับประทานน้ำมันหมูไม่เกินวันละ2ช้อนโต๊ะ
  • นอกจากน้ำมันนไขมันอิ่มตัยังพบได้ในอาหารหลายประเภทจะต้องจำกัดอาหารเหล่านี้เพื่อมิให้เราได้รับไขมันอิ่มตัวเกินกำหนด
  • แนะนำให้รับประทานไขมันไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา
  • น้ำมันหมูทนความร้อนได้ดีจึงใช้ทอดได้
  • สำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจะต้องตรวจไขมันในเลือดเป็นระยะ
  • สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดควรปรึกษาแพทย์

ทบทวนวันที่ 25/12/2565

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน