สาเหตุของอาการปวดหลัง
สาเหตุของโรคปวดหลังส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงมักจะเกิดจากหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
อาการปวดมักจะเกิดทันที
การเคลื่อนไหวบางท่าจะทำให้ปวดมากขึ้นสาเหตุที่พบบ่อยๆได้แก่
- การนั่งผิดท่าเช่น
การนั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ
- นั่งขับรถหลังโก่ง
- การยืนที่ผิดท่า
- การยกของผิดท่า
- การนอนบนที่นอนที่นุ่มหรือแข็งเกินไป
- ร่างกายไม่แข็งแรง
- ทำงานมากไป
การไม่ออกกำลังจะทำให้กล้ามเนื้อไม่มีกำลังที่จะทำให้หลังอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการดึงรั้งกล้ามเนื้อข้างหนึ่งจึงเกิดอาการปวดหลัง
อาการปวดอาจจะปวดมากจนกระทั่งไม่สามารถยืนหรือก้ม
นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธีก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปวดหลังรายละเอียดอ่านได้ที่นี่
การแบ่งชนิดของโรคปวดหลัง
โรคปวดหลังเราจะแบ่งชนิดตามระยะเวลาที่เกิดอาการของโรคกล่าวคือ
ปวดหลังแบบเฉียบพลันอาการมักจะไม่เกิน
6 สัปดาห์ ถ้าอาการปวดมากกว่า
12
สัปดาห์เรียกปวดหลังเรื้อรังส่วนระยะเวลาที่ปวดอยู่ระหว่าง
6-12 สัปดาห์เรียก Subacute
การที่ต้องแบ่งระยะเวลาก็เพื่อจะบอกการดำเนินของโรค
ผู้ป่วยโรคปวดหลังต้องแจ้งประวัติอะไรบ้าง
การวินิจฉัยโรคปวดหลังต้องอาศัยประวัติที่ละเอียดเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ
- ประวัติเป็นมะเร็ง
หากท่านเคยเป็นมะเร็งแม้ว่าจะรักษาแล้วต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจจะเป็นมะเร็งแพร่กระจาย
- น้ำหนักลดลงโดยที่ไม่ได้คุมอาหาร
- การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- การใช้ยา steroid
เพราะหากใช้นานอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- การติดยาเสพติด
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- เมื่อพักอาการปวดไม่หาย
- ไข้
- อุบัติเหตุที่เกิดกับหลังเช่น
ตกที่สูง
อุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์
ยกของหนักไป
- โรคกระดูกพรุน
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจาระไม่อยู่
การตรวจร่างกาย
หลังจากซักประวัติแล้วแพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของโรคปวดหลัง
- ท่ายืนและการเดิน Gait and Posture
ท่ายืนก็อาจจะทำให้เราพบสาเหตุเช่น
หลังโก่ง กระดูกหลังคด
เดินแล้วขาลาก(หมอนกระดูกทับเส้นประสาท)
- การเคลื่อนไหวของหลัง Range of Motion
โดยให้ผู้ป่วยก้ม แอ่นหลัง
เอียงหลังออกด้านข้าง
บิดเอว
หากก้มหน้าแล้วปวดมักจะเกิดจากกล้ามเนื้อหลัง
หากแอ่นแล้วปวดอาจจะเกิดจากไขสันหลังตีบ
- กดหาตำแหน่งที่เจ็บบนกระดูกสันหลัง
Palpation or Percussion of the Spine
หากกดเจ็บบนกระดูกสันหลังอาจจะเกิดโรคตรงบริเวณนั้นเช่น
การติดเชื้อ กระดูกหัก
- เดินบนส้นเท้าและลุกขึ้น Heel-Toe Walk and Squat and Rise
โดยการใช้ส้นเท้าเดินหรือนั่งยองๆแล้วลุกขึ้น
หากไม่สามารถทำได้ให้นึกถึงมีอะไรกดที่ประสาทหลัง
- การตรวจ Straight Leg Raising Test
โดยการให้ผู้ป่วยนอนแล้วยกขาขึ้นเมื่อมีอาการปวดวัดมุมระหว่างพื้นกับขา
หากมุมนั้นไม่เกิน 60
องศาก็ให้นึกถึงโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท
- การตรวจ Reflexes and Motor and Sensory Testing
โดยแพทย์จะนำเครื่องมือคล้ายค้อนมาเคาะบริเวณเข่าและข้อเท้า
ใช้เข็มทดสอบความรู้สึกของขา
การตรวจรังสี
ผู้ป่วยโรคปวดหลังไม่จำเป็นต้อง
x-ray ทุกรายแต่จะเลือกเป็นรายๆไปตามประวัติและการตรวจร่างกาย
อย่างไรก็ตามมีหลักที่จะพิจารณา
x-ray ในผู้ป่วยต่อไปนี้
- อายุมากกว่า 50 ปี
- ได้รับอุบัติเหตุที่หลัง
- มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ขา
- มีน้ำหนักลดโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
- ติดยาเสพติดหรือดื่มสุรา
- ประวัติเคยเป็นมะเร็ง
- ใช้ยา steroid
- ไข้มากกว่า 37.8 องศา
- อาการเป็นมากกว่า 1
เดือนยังไม่หายปวด