อาหารและโรคต่างๆ

การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพจะช่วยป้องกันโรค ในขณะเดียวกันหากรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ จะก่อให้เกิดโรค นอกจากนั้นหากรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ยังสามารถป้องกันโรคได้ และยังรักษาโรคได้

อาหารกับโรคหัวใจ

  1. ไขมันกับโรคหัวใจ

การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว saturated fats และcholesterol ซึ่งเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงจะทำให้อ้วนมาก และทำให้ไขมันในเลือด cholesterol สูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความอ้วนยังทำให้ไขมัน LDL(ไขมันที่ไม่ดี) สูงซึ่งจะเกาะตามผนังหลอดเลือด Cholesterol ที่เพิ่มขึ้น 1 %จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่ม 2-3% การลดน้ำหนักจะทำให้ความดันโลหิตลดลง และทำให้ไขมัน HDL (เป็นไขมันที่ดี)เพิ่ม ซึ่งเป็นไขมันที่นำ LDL ออกจากผนังหลอดเลือด

ข้อแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวโดยการหลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว มันจากสัตว์ รายละเอียดอ่านที่นี่

  1. Antioxidant และโรคหัวใจ

สาร antioxidant จะป้องกันการทำลายเซลล์จาก oxygen free radical (คือ oxygen ที่เกิดจากปฏิกิริยายาทางเคมีซึ่งขาด electronซึ่งจะไปแย่ง electron จากเซลล์ทำให้เกิดปฏิกิริยายา oxidation เหมือนการเกิดสนิม )เกิดโรคหัวใจ อัมพาต ต้อกระจก และการแก่ วิตามิน E ถูกนำมาใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างได้ผล สำหรับวิตามิน A,C อยู่ระหว่างการศึกษา ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ร่วมกับรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่มีใยอาหารจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้หลายโรค

  1. สุรากับโรคหัวใจ

การดื่มสุราพอสมควรสามารถลดอัตราโรคหัวใจได้เนื่องจากแอแอลกอฮอล์จะไปเพิ่ม HDL และลดอัตราการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดโดยทั่วไปคุณสุภาพสตรีดื่มเบียร์เกินวันละกระป๋อง แต่ถ้าท่านผู้อ่านยังไม่ได้เริ่มดื่มไม่แนะนำให้ดื่มสุราเพื่อป้องกันโรคหัวใจเนื่องจากจะมีโอกาสติดสุราและเกิดอุบัติเหตูสูง

  1. เกลือกับโรคหัวใจ

สาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูงคือการรับประทานเกลือมากเกินไป โดยทั่วไปแนะนำรับประทานไม่ให้เกิน ครึ่งช้อนชา หากซื้ออาหารสำเร็จรูปต้องอ่านสลากเพื่อจะทราบปริมาณเกลือ อาหารบางอย่างที่มีเกลือมากควรหลีกเลี่ยงเช่น ของหมักดอง อาหารกระป๋อง ซอส  ผงชูรส

เด็กและไขมัน cholesterol ในเลือดสูง

ในเมืองไทยไม่มีตัวเลขว่าเด็กไทยไขมันในเลือดสูงเท่าใด แพทย์แนะนำว่า เด็กอายุมากกว่า 2 ปีควรคุมอาหารไม่ให้รับอาหารไขมันสูงเกินไป ซึ่งจะลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในอนาคต เด็กควรได้รับ cholesterol 100 มิลิกรัม ทุก 1000 กิโลแคลอรี

อาหารจะสามารถป้องกันมะเร็งได้หรือไม่

ผลไม้ครึ่งหนึ่งของมะเร็งที่เกิดในสุภาพสตรี มักจะสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทานเข้าไป แม้ว่ากรรมพันธุ์จะมีบทบาทสำคัญในการเกิดมะเร็ง แต่อาหารที่รับประทานเข้าไปก็มีส่วนทำให้มะเร็งเกิดขึ้นด้วย อาหารที่อุดมด้วยไขมันจะมีส่วนสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก อาหารที่มีสารถนอมอาหารมากจะสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร อาหารที่มีกากอาหารน้อยมีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักดังนั้นท่านผู้อ่านควรเริ่มต้นป้องกันมะเร็งตั้งแต่วันนี้โดยการเลือกอาหารพวกผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ผ่านการถนอมอาหาร งดอาหารสุกๆดิบๆ เช่นปลาดิบ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปิ้งย่างจนเกรียม หรือถนอมอาหารโดยวิธีรมควัน,หมัก/ดองเกลือ โดยเฉพาะเกลือไนเตรด เช่น แหนมและไส้กรอก

  1. Antioxidant และมะเร็ง

ในผักและผลไม้มีสาร antioxidant มากเช่น วิตามิน A,C ,E และ  betacarotene ซึ่งสารดังกล่าวสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้หลายอย่างเช่น มะเร็ง ปอด ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะ antioxidant สามารถป้องการทำลายเซลล์จากoxygen free radical ซึ่งสามารถทำลายสารพันธุกรรมในเซลล์และก่อให้เกิดมะเร็งในภายหลัง ผักและผลไม้นอกจากมีวิตามิน A และ betacarotene จากธรรมชาติยังมีสารอื่นที่ป้องกันมะเร็งซึ่งไม่พบในวิตามินที่เราให้ วิตามิน C,E ป้องกันมะเร็งโดยการเสริมภูมิคุ้มกันและป้องการสาร nitrites จากสารถนอมอาหาร ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีกาก ผลไม้ และผักมากลดอาหารที่มีไขมันจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็ง

  1. อาหารไขมันกับมะเร็ง

อาหารไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวหากรับประทานมากจะทำให้อัตราการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มนอกจากนั้นอาหารมันยังทำให้อ้วนจากสถิติพบว่าผู้หญิงที่อ้วนเป็นมะเร็งเต้านมปากมดลูก มดลูกมากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหักปกติดังนั้นให้กินอาหารพวกผักและผลไม้ลดไขมัน

  1. ใยอาหารและมะเร็ง

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารที่มีกากจะสามารถอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ผู้ป่วยทีมความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรรับประทานอาหารที่มีกากมากกว่า 35 กรัม

  1. สุรากับมะเร็ง

การดื่มสุรามากทำให้เกิดมะเร็งที่ตับได้นอกจากนั้นยังพบว่าการดื่มสุราร่วมกับการสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นที่ ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง

อาหารกับโรคกระดูกพรุน [osteoporosis]

นมกระดูกพรุนหมายถึงกระดูกที่หักง่ายเนื่องจากกระดูกสูญเสียเนื้อกระดูกทำให้กระดูกบาง กระดูกของคนจะมีความแข็งแรงที่สุดเมื่ออายุ 30ปีเนื่องจากมีการออกกำลังหลังจากนั้นกระดูกจะเริ่มเสื่อม จะเสื่อมมากในช่วงหมดประจำเดือนเนื่องจากขาด estrogenโรคกระดูกพรุนไม่อาการปวด เราจะพบผู้ป่วยกระดูกพรุนเมื่อกระดูกหักแล้วหรือผู้ป่วยที่กระดูกหลังโก่ง แต่มีการตรวจความเข็มของกระดูก bone densitometry tests เพื่อให้ทราบตั้งแต่เริ่มต้นและรีบป้องกัน วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีคือ

  • การออกกำลังกายแม้ว่าจะเกิดโรคกระดูกพรุนแล้ว เช่นการเดิน การเดินขึ้นบันได การยกน้ำหนัก
  • การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงแนะนำให้ผู้ชายรับประทาน 1000มิลิกรัม ส่วนผู้หญิงรับประทาน 1500 มิลิกรัม
  • ได้รับวิตามิน D เพียงพอโดยอาจจะรับจากแสงแดด หรือจากอาหารซึ่งมีมากในไข่ นม ปลา
  • ได้รับฮอร์โมน estrogen

อาหารป้องกันโรคนิ่วในไต อาหารป้องกันโรคเบาหวาน คำแนะนำอาหารสำหรับเบาหวาน อาหารป้องกันalzheimer

กลับหน้าเดิม