การปรุงอาหารโดยใช้ Microwave

ความปลอดภัยในการใช้ Microwaves

ปัจจุบันคนไทยโดยเฉพาะคนในเมือง มีภาระกิจมากมาย จนไม่มีเวลาที่จะปรุงอาหารแบบเดิมๆ ต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารแช่แข็งแล้วนำมาอุ่น อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับคนปัจจุบันได้แก่เครื่อง Microwave เครื่องไมโครเวปได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในการประกอบอาหารซึ่งทำได้ง่าย สะดวกและทำให้อาหารสุก แต่ข้อเสียคือเราไม่สามารถคน หรือผัดเพื่อทำให้อาหารมีอุณหภูมิเท่ากันตลอด ดังนั้นหากจะปรุงอาหารจะต้องระวังเรื่องอุณหภูมิที่ไม่คงที่ การเรียนรู้วิธีใช้อย่างถูกต้องจะทำให้คุณได้อาหารที่อร่อยและปลอดภัย

เคล็ดการปรุงอาหารด้วย microwave

  • การเก็บหรือถนอมอาหารทำอย่างถูกต้อง
  • แกะหีบห่อก่อนละลายน้ำแข็ง
  • ให้ปรุงอาหารทันทีหลังละลายน้ำแข็ง
  • เรียงอาหารให้ชิ้นใหญ่อยู่ริม
  • ใช้ภาชนะสำหรับใน microwave
  • ภาชนะที่ครอบอาหารต้องสำหรับใช้ใน microwave
  • ระหว่างปรุงหรืออุ่นอาหาร
    • ให้คนอาหาร
    • เรียงอาหาร
    • วางตำแหน่งจานใหม่
  • หลังปรุงอาหารปล่อยไว้สักระยะหนึ่ง
  • วิธีทดสอบว่าอาหารสุก
    • เนื้อปลาไข่อุณหภูมิ 160 องศาฟาร์เรนไฮต
    • ไก่เป็ดอุณหภูมิ 170-180 องศาฟาร์เรนไฮต
    • น้ำจากเนื้อไม่เป็นสีเลือด
    • เนื้อปลาแกะได้ง่าย
    • ไข่จะสุกไม่เป็นวุ้น
  • อาหารที่จะเก็บไม่ควรทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเกิน 2 ชม.
  • การอุ่นให้อุณหภูมิ 160 องศาฟาร์เรนไฮต

วิธีการปรุงอาหารด้วย Microwave

การปรุงอาหารปกติไม่ว่าจะใช้เตาอบ หรือกะทะความร้อนจะผ่านไปยังอาหารอย่างสม่ำเสมอ แต่การทำอาหารด้วย Microwave ความร้อนเกิดจากการเสียดสีโมเลกุลคลื่น Microwave จะลงลึกได้ 1-2 นิ้ว ดังนั้นชิ้นเนื้อที่หนามากๆอาจจะไม่สุก นอกจากนั้นหลังจากครบเวลาครบเวลาอบด้วย Microwave แล้ว ต้องทิ้งไว้ประมาณ1/3ของเวลาที่ใช้อบเพื่อให้ความร้อนยังขึ้นสูงสุด

การละลายน้ำแข็ง

อย่างกล่าวในเบื้อต้นว่าอาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแช่แข็ง การละลายน้ำแข็งให้ละลายในตู้ Microwave แกะวัสดุที่ใช้ห่อออกปรึกษากับบริษัทว่าจะต้องความร้อนเท่าใด และนานเท่าใด ระหว่าละลายต้องหมั่นเรีองอาหารใหม่ หมั่นพลิกอาหาร เมื่อละลายเสร็จให้รีบปรุงอาหาร เพราะยังมีความร้อนเหลือในอาหาร

การปรุงอาหาร

ก่อนปรุงอาหารต้องล้างมือ ภาชนะ อาหารให้สะอาด อาหารที่กลิ่นไม่ดีก็ไม่ควรจะนำมาปรุง ภาชนะที่ใช้ปรุงต้องระบุว่าใช้ใน Microwave ได้ หันอาหารให้มีขนาดเท่าๆกัน เรีองอาหารให้อาหารที่ชิ้นหนาอยู่ขอบเนื่องจากจะได้รับคลื่นมากกว่าส่วนกลาง ครอบด้วยภาชนะที่ทนเพื่อที่อาการรอบอาหารจะร้อนทำให้อาหารสุกเร็วขึ้น ให้คลุกอาหารและเรียงอาหารใหม่ชิ้นใหญ่อยู่ขอบจนครบกำหนดเวลา

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารสุก

เมื่อปรุงอาหารครบเวลาที่กำหนดแล้วให้รอเวลาอีก1/3ของเวลาที่ปรุงอาหาร วิธีสังเกตว่าอาหารสุขหรือไม่ดังนี้

  • น้ำจากเนื้อสัตว์ไม่ควรเป็นน้ำเลือด ข้อต่อของไก่ควรจะเคลื่อนไหวได้ดี เนื้อปลาควรจะแกะได้ง่าย
  • ใช้ปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิ เนื้อปลา ไข่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 106 องศาฟาร์เรนไฮต์ เนื้อเป็ดไก่ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 170 องศาฟาร์เรนไฮต

การวัดอุณหภูมิอาหารสำคัญมากสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะหากอาหารไม่สุกจะทำให้ผู้ป่วยท้องร่วง

การเก็บอาหารที่เหลือ

แม้ว่าการเก็บอาหารที่เหลือจะไม่ปลอดภัยสำหรับรับประทาน แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และการซื้ออาหารสำเร็จรูปไว้รับประทานอาหารทำให้ต้องเก็บอาหารที่เหลือไว้รับประทานมื้อต่อไป หลักการเก็บมีดังนี้

  • อาหารที่อยู่ในอุณหภูมิห้องเกิน 2 ชั่วโมงไม่ควรจะเก็บไว้
  • อาหารที่เก็บไม่ควรเกิน 3-4 วัน
  • เมื่ออาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ ให้แบ่งใส่ภาชนะตื้นๆหลายๆใบเพื่อให้อาหารเย็นเร็ว แล้วจึงเก็บในตู้เย็น

การอุ่นอาหารด้วย microwave

ก่อนการอุ่นอาหารด้วย microwave ต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นสะอาด ผ่านการเก็บอาหารอย่างถูกต้อง

  • ความร้อนจากการอุ่นอาหารไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ความร้อนจากการอุ่นอาหารไม่สามารถทำลาย toxin หรือสารพิษในอาหาร
  • อาหารเหลวต้องหมั่นคนอาหาร
  • อุณหภูมิสำหรับการอุ่นอาหารประมาณ 165 องศาฟาร์เรนไฮต หรือตรงกลางภาชนะร้อน