เมื่อโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง

  1. โพแทสเซี่ยม
  2. โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง
  3. โพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ
  4. ปริมาณโพแทสเซี่ยมในอาหาร
  5. ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ
  6. ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง
  7. โพแทสเซี่ยมและความดันโลหิต

 

โพแทสเซี่ยมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารทั่วๆไป โพแทสเซี่ยมจะช่วยทำให้หัวใจเต้นปกติ กล้ามเนื้อทำงานปกติ ไตมีหน้าที่ควบคุมปริมาณโพแทสเซี่ยมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อเกิดภาวะไตเสื่อมทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจะต้องลดปริมาณอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมลง เนื่องจากหากดพแตสเซี่ยมในเลือดสูงจะมีอาการอ่อนเพลีย ชา และอาจจะเกิดหัวใจเต้นผิดปกติ

ค่าปกติของโพแทสเซี่ยมในเลือด

  • ค่าปกติของโพแทสเซี่ยมในเลือดคืออยู่ระหว่าง 3.5- 5.0
  • หากค่าโพแทสเซี่ยมอยู่ระหว่าง 5.1-6.0 ต้องระวัง
  • หากค่าโพแทสเซี่ยมมากกว่า 6 เป้นค่าที่อาจจะเกิดอันตราย

สาเหตุที่ค่าโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง Hyperkalemia

ภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดสูง( Hyperkalemia) มักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน ทว่าอาจมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากสาเหตุข้างต้นได้เช่นกัน ดังนี้

  • โรคความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมหรือระบบเผาผลาญพลังงาน
  • โรคทางพันธุกรรมบางชนิด
  • โรคแอดดิสัน (Addison's Disease) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมหมวกไต
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัวเนื่องจากโรคหรือการรักษาบางชนิด
  • ภาวะเซลล์กล้ามเนื้อเกิดการสลายตัวเนื่องจากโรคหรือการรักษาบางชนิด
  • การรับประทานยาบางชนิด ได้แก่ ยาต้านความดันโลหิตสูง เช่น กลุ่มยาขับปัสสาวะโพแทสเซียมสแปริ่ง ยากลุ่ม AceI ยา beta- blocker เป็นต้น รวมถึงยา NSAIDs ต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาซักซินิลโคลีน ยาเฮพาริน ยาดิจิทาลิส และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพแทสเซียม
  • การเจาะเลือดที่ไม่ถูกวิธี เช่น สายยางรัดแขนแน่นจนเกินไป หรือระยะเวลาการเจาะนานเกินไป

ยาที่หากใช้ร่วมกันอาจจะทำให้เกลือแร่โพแทสเซี่ยมสูงขึ้น

  • ยาแก้ปวดกลุ่ม Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs):เช่น diclofenac ,ibuprofen,piroxicam,ยาในกลุ่ม COX2 หากผู้ป่วยมีโรคไตอยู่เก่า และรับยาในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อเกลือโพแทสเซี่ยมสูง
  • ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors: ใช้รักษาความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย หากผู้ป่วยมีโรคไตอยู่จะทำให้ระดับเกลือแร่สูงขึ้น
  • Heparin (used for blood clots)
  • Cyclosporine (used to suppress the immune system)
  • Trimethoprimand sulfamethoxazole,
  • Beta-blockers: ใช้รักษาความดันโลหิตสูง

ระดับโพแทสเซียมสูงมักจะค่อยๆพัฒนาขึ้น ผู้ที่มีโพแทสเซียมในระดับสูงจะมีอาการ

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ความมึนงง
  • การรู้สึกเสียวซ่า
  • ความเกลียดชัง

หากระดับโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและรวดเร็วบุคคลอาจประสบปัญหาต่อไปนี้:

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เจ็บหน้าอก
  • หัวใจวาย
  • หายใจถี่

อาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ี

วิธีป้องกันมิให้โพแทสเซี่ยมในเลือดสูงเกินไป

  • ให้จำกัดอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูง
  • รับประทานอาหารให้ครบหมู่ แต่ลดปริมาณพอควร
  • หากต้องการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงจะต้องทำการชะล้างเอาโพแทสเซี่ยมบางส่วนออกก่อน
  • งดเครื่องดิ่มบรรจุกระป๋องหรือกล่อง เช่นน้ำผลไม้ ผัก น้ำซุปจากการต้มเนื้อ
  • แม้ว่าอาหารที่รับประทานจะมีปริมาณโพแทสเซี่ยมต่ำ แต่หากเรารับประทานมากก็จะได้รับปริมาณโพแทสเซี่ยมสูง

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงควรหลีกเลี่ยง

ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ที่มีโพแทสเซี่ยมในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารกลุ่มนี้

  • ถั่ว
  • ถั่วและพืชตระกูลถั่ว
  • มันฝรั่ง
  • กล้วย
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • อะโวคาโด
  • อาหารรสเค็ม
  • อาหารจานด่วน
  • เนื้อสัตว์แปรรูปเช่นเนื้ออาหารกลางวันและhot dog
  • ผักขม
  • แคนตาลูปและน้ำเกรวี่
  • มะเขือเทศ
  • น้ำผัก
  • ทุเรียน
  • ลำไย
  • ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
  • แครอท
  • มะเขือเทศ
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • คะน้า
  • หัวปลี
  • ผักชี

อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง 

ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) 

ได้แก่

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อมตามที่ American Kidney Foundation โดยรับประทานโพแทสเซียมเป็นประจำทุกวัน 2, 000 มิลลิกรัม แต่ต้องระวังหากรับประทานอาหารหลายชนิดหรือปริมาณมากก็ทำให้โพแทสเซี่ยมสูงได้

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำประกอบด้วย:

  • แอปเปิ้ลน้ำแอปเปิ้ลและแอปเปิ้ล
  • ผลเบอร์รี่มากที่สุด ได้แก่ blackberries, blueberries, สตรอเบอร์รี่และราสเบอร์รี่
  • องุ่นและน้ำองุ่น
  • สับปะรดและน้ำสับปะรด
  • แตงโม
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • บร็อคโคลี
  • แครอท
  • ผักคะน้า
  • กะหล่ำปลี
  • แตงกวา
  • ข้าวขาวก๋วยเตี๋ยวและขนมปัง (ไม่ใช่ธัญพืช)
  • บวบและสควอชสีเหลือง
  • ชมพู่
  • องุ่นเขียว
  • แตงโม 
  • บวบเหลี่ยม
  • เห็ดหูหนู
  • ฟักเขียว
  • แฟง
  • ผักกาดขาว
  • กะหล่ำปลี
  • แตงกวา

เรามาพิจารณากันดีกว่าว่าอาหาร 10 อันดับที่มีปริมาณโปแทสเซียมสูงมีอะไรบ้าง

อันดับ ชนิดอาหาร (ขนาดบริโภค 100 กรัม ) ปริมาณโปแทสเซียม (มิลลิกรัม)
1 ผงโกโก้ 1.5 กรัม
2 ลูกพรุน (อบแห้ง) 1.1 กรัม
3 ลูกเกด 892
4 เมล็ดทานตะวัน 850
5 อินทผาลัม 696
6 ปลาแซลมอน 628
7 ผักโขม (สด) 558
8 เห็ด 484
ผลไม้(ขนาดบริโภค 100 กรัม )
9 ทุเรียนชะนี 406
10 กล้วยหอม 374
11 กล้วยไข่ 310
12 ทุเรียนหมอนทอง 292
13 แก้วมังกร 271
14 ส้มสายน้ำผึ้ง 229
15 น้อยหน่าหนัง 214
16 ฝรั่งแป้นสีทอง 210
17 ขนุน 207
18 กล้วยน้ำว้า 204
19 มะละกอแขกดำ 199
20 ลองกอง 192
21 ลิ้นจี่จักรพรรดิ 165
22 สตรอเบอรี่ 132
23 ลิ้นจี่ฮงฮวย 131
24 องุ่นเขียว 130
25 แตงโจินตราแดง 120
26 สละ 114

วิธีการชะล้างโพแทสเซี่ยมออกจากอาหาร

หากผู้ป่วยดรคไตเสื่อมอยากจะรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงซึ่งไม่ควรจะรับประทานบ่อยหรือในปริมาณมาก ก่อนนำมาปรุงอาหารให้ชะล้างโพแทสเซี่ยมบางส่วนออกโดยการทำดังนี้

สำหรับมันฝรั่ง แครอท บีท

  1. ปลอกเปลือกผลไม้และนำไปแช่น้ำเย็นเพื่อไม่ให้ผิวผลไม้ดำ
  2. หั่นผลไม้เป็นชิ้นหนาประมาณ 1/8นิ้ว
  3. ใช้น้ำอุ่นไหลผ่านผลไม้.
  4. ใช้น้ำอุ่นปริมาณประมาณ10เท่าของผลไม้แช่ผลไม้ที่หั่นไว้ แช่ไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง
  5. รินน้ำอุ่นผ่านผลไม้ 4-5วินาที
  6. เวลาปรุ่งอาหารใช้ปริมาณน้ำประมาณห้าเท่าของปริมาตรผัก

(References: Bowes & Church Food Values of Portions Commonly Used, 17th Ed., Pennington, JA, Lippincott, 1998. Diet Guide for Patients with Kidney Disease, Renal Interest Group-Kansas City Dietetic Association, 1990.)

ทั้งนี้ การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ความรุนแรงของอาการ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการใช้ยาบางชนิด ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ ควรจำกัดปริมาณโพแทสเซียมที่ได้รับไม่เกิน 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • งดใช้ยาที่ส่งผลให้ปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น
  • รับประทานยาที่มีสรรพคุณช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมในเลือด ได้แก่ ยาขับปัสสาวะเพื่อขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายทางการปัสสาวะ ยาโซเดียมพอลิสไตรีนซัลโฟเนตเพื่อขับโพแทสเซียมออกจากทางเดินอาหาร หรือยาแพทไทโรมเมอร์เพื่อลดปริมาณโพแทสเซียมในเลือด
  • ฉีดกลูโคสและฮอร์โมนอินซูลินเข้าเส้นเลือดเพื่อช่วยพาโพแทสเซียมจากภายนอกเซลล์กลับเข้าสู่ภายในเซลล์ ในกรณีที่โพแทสเซี่ยมจนเกิดความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ
  • เข้ารับการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เช่น โรคไต เป็นต้น

นอกจากนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือด เพื่อป้องกันหัวใจและกล้ามเนื้อจากการได้รับผลกระทบจากภาวะนี้ด้วย

ตารางแสดงผักและผลไม้(1000 กรัม)ที่มีปริมาณโพแทสเซี่ยมสูงมาก

    ปริมาณโฑแตสเซี่ยม
ผัก เห็ดกระดุม เห็ดโคน ผักชี ผักโขม ชะอม หัวปลี ต้นกระเทียม ใบขี้เหล็ก ใบชะพลู ผักกระโดน ผักกระถิน เห็ดเป๋าฮื้อ 447-540 มิลิกรัม
ผลไม้ ทุเรียนทุกชนิด ขนุน แห้ว 437-442

ตารางแสดงผักและผลไม้(1000 กรัม)ที่มีปริมาณโพแทสเซี่ยมมาก

    ปริมาณโฑแตสเซี่ยม
ผัก ยอดขี้เหล็ก แขนงกะหล่ำ ผักหวาน ฟักทอง ยอดฟักทอง ยอกกระถิน กำหล่ำดอก กะหล่ำปลี ดอกและใบกุยช่าย คะน้า ขึ้นฉ่าย บร็อคโดลี่ แครอท ตับเต่า เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดหอม ถั่วฝักยาว ผักกะเฉด ผักกาดหอม ผักกวางตุ้ง มะเขือพวง ผักบุ้ง 200-400 มิลิกรัม
ผลไม้ กล้วยไข กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า มะละกอ ลำไย น้อยหน่า 200-300

ตารางแสดงผักและผลไม้(1000 กรัม)ที่มีปริมาณโพแทสเซี่ยมปานกลาง

    ปริมาณโฑแตสเซี่ยม
ผัก เห็ดนางฟ้า เห็ดเผาะ แตงกวา ฝักเขียว พริกหวาน มะระจีน หัวผักกาดขาว มะเขือยาว มะละกอดิบ มะเขือเทศ มะเขือเทศสีดา ตำลึง ผักกาดขาวใบเขียว ต้นหอม ถั่วงอก ถั่งลันเตา บวบ 100-200มิลิกรัม
ผลไม้ ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ฝรั่ง ชมพู่ มะม่วง ละมุด ลิ้นจี่ เงาะ สัปรด องุ่น แอปเปิล สาลี่ 100-200

ตารางแสดงผักและผลไม้(1000 กรัม)ที่มีปริมาณโพแทสเซี่ยมน้อย

    ปริมาณโฑแตสเซี่ยม
ผัก บวบเหลี่ยม ถั่วพู หอมหัวใหญ่ <100
ผลไม้ แตงโม ลูกท้อสด <100

ผลไม้ที่มีโพแทสเซี่ยมสูง

 

กลับหน้าที่ 1 การให้โพแทสเซี่ยมในการรักษาความดันโลหิต โพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง

Google