การใช้ความร้อนในการรักษาโรค


การใช้ความร้อนในการรักษาโรค ได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคทั้งยุคใหม่และโรคยุคเก่า เช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์ ส่วนโรคโบราญที่ใช้ความร้อนในการรักษาได้แก่ หวัด ปวดท้องประจำเดือน บางท่านก็ใช้ความร้อนในการขับสารพิษออกจากร่างกาย

วิธีการรักษา

การทำให้อุณหภูมิของอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกิน 98.5 องศาฟาเรนต์ไฮเราเรียก Hyperthermia การทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอาจจะใช้เครื่องมือเช่น การใช้ microwave,ultrasonic waves,ไฟฟ้า ทำให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งมีอุณหภูมิสูง เช่นในการรักษาข้ออักเสบ

ยังมีวิธีรักษาโดยการนำเลือดออกมาทำให้อุ่นและให้ไหลเวียนกลับเข้าไปในร่างกายซึ่งกำลังทดลองใช้ในการรักษาโรคเอดส์

การเข้าห้องอบ sauna หรืออ่างอาบน้ำร้อน หรือห้องอบไอน้ำ ก็สามารถอบให้ร่างกายร้อนเพื่อใช้ในการรักษาโรค

การแช่ในแงน้ำร้อนโดยทั่วไปจะให้อุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ 101-108 องศาฟาร์เรนไฮต์โดยจุดประสงค์ที่จะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิอยู่ที่ 102-104องศาเป็นเวลา 30 นาที

นอกจากนั้นก็มีการใช้ความร้อนในการรักษาข้ออักเสบหรือแผล บางแห่งความร้อนและความเย็นในการรักษาโรคปวดศีรษะซึ่งมีวิธีต่างๆกันดังนี้


  • เท้าแช่ในอ่างน้ำอุ่นประคบเย็นที่ศีรษะ
  • เท้าแช่ในอ่างน้ำร้อน 3 นาที สลับกับแช่ในอ่างน้ำแข็งเย็น 30 วินาที และมีการประคบเย็นที่ศีรษะ
  • ประคบร้อนที่ท้ายทอย ประคบน้ำแข็งเย็นที่หน้า หู หลังจาก 3 นาทีให้สลับร้อนเย็น

ไม่ควรใช่ความร้อนในการรักษาคนประเภทใด

  • คนท้องเพราะอาจจะมีอันตรายต่อเด็กในท้อง
  • โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ
  • ชาที่เท้าเพราะอาจจะทำให้ไหม้
  • คนแก่หรือเด็กเพราะความสามารถในการควบคุมความร้อนไม่สมบูรญ์
  • โรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
  • โลหิตจาง
  • ลมชัก
  • วัณโรคปอด

ผลข้างเคียงของการใช้ความร้อน

  • ในเด็กเล็กอาจจะทำให้ชัก
  • ในคนแก่หรือมีโรคหัวใจอาจจะทำให้เกิดหัวใจวาย
  • หากอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 106 องศาอาจจะทำให้อวัยวะในร่างกายล้มเหลว เช่นตับวาย ไตวาย

เรียบเรียง 10/08/2545

 

เพิ่มเพื่อน