ยาลดความดันโลหิต Metoprolol

Metoprolol

ชื่อสามัญทางยา   Metoprolol (เมโทโพรลอล)

คำเตือน

การหยุดยาปิดกั้นเบต้า Beta-blocker อาจจะทำให้อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบกำเริบ และอาจจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย สำหรับผู้ที่รับประทานยานี้เป็นเวลานานจะต้องลดขนาดของยาลง และใช้เวลา 2 สัปดาห์จึงจะหยุดยาได้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกจะต้องรับประทานยา

อีกประการหนึ่งผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง มักจะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยดังนั้นการหยุดยากลุ่มเบต้าจะต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์แม้ว่าจะไม่มีอาการโรคหัวใจ

ระหว่างการใช้ยาหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและพบแพทย์

  • หัวใจเต้นเร็ว หรือช้า หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • รู้สึกเวียนศีรษะ หน้ามืด
  • เหนื่อยง่าย หายใจหอบ
  • บวมข้อเท้า น้ำหนักขึ้น
  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ดีซ่าน

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา

ใช้ยานี้อย่างไร     

  • ขนาดรับประทานตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปรับประทานวันละหนึ่งถึงสามครั้งหลังอาหาร
  • ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกาแพทย์ เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม
  • ยานี้มีขายในรูปยาเม็ดขนาด 100 มก.

ขนาดของยาที่ใช้

ความดันโลหิตสูง

  • ขนาดยาเริ่มต้น 25-100 มก โดยให้ยาวันละครั้งให้ปรับยาทุกสัปดาห์จนกระทั่งได้ความดันที่ต้องการ ขนาดสูงสุดไม่เกิน 400 มก

เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • ขนาดของยาให้ 100 มก วันละครั้งให้ปรับยาทุกสัปดาห์จนถึงเป้าหมาย

หัวใจวาย

  • ขนาดของยาจะต้องปรับให้เหมาะสมกับแต่ละท่าน โดยผู้ที่เป็นหัวใจวายรุนแรงจะเริ่มให้ขนาด 12.5 มก และปรับยาทุกสองสัปดาห์

ผลข้างเคียงของยา

หัวใจและหลอดเลือด

  • มือเท้าเย็น หลอดเลือดแขนขาตีบ ใจสั่น หน้ามือ เป็นลม บวม

ระบบสมอง

  • ฝันร้าย ความจำเสื่อม สับสน

ทางเดินอาหาร

  • ปากแห้ง คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง

ข้อควรระวังในการใช้ยา

  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือคหรือความดันโลหิตสูงหากใช้ยาปิดกั้นเบต้าเป็นเวลานานอย่าหยุดยาทันที ให้หยุดยาภายใน 2 สัปดาห์โดยลดยาลงครั้งละน้อย
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจวายจะต้องเริ่มยาครั้งละน้อย และปรับยาตามอาการคนไข้
  • โรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง ยานี้อาจจะทำให้โรคปอดกำเริบ
  • การผ่าตัด หากใช้ยานี้ในขนาดสูงอาจจะทำให้ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นช้า
  • ผู้ป่วยเบาหวาน ยาปิดกั้นเบต้าอาจจะทำให้อาการน้ำตาลต่ำไม่แสดงออกทำให้เสี่ยงต่อการขาดน้ำตาล
  • จะต้องเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำสำหรับผู้ป่วยโรคตับ
  • ยานี้อาจจะทำให้โรคหลอดเลือดขาตีบกำเริบ

คำแนะนำพิเศษ  

  • ควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา และอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • ปฏิบัติตนตามแพทย์แนะนำ เช่น ลดอาหารที่มีรสเค็ม ไขมันสูง และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรแน่ใจว่ามียาเพียงพอเมื่อไปพักผ่อน ท่องเที่ยว

ทำอย่างไรถ้าลืมรับประทานยา

โดยทั่วไปให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ให้รับประทานยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร

ไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงจากยานี้ แต่ก็เกิดได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว ท้องเสีย ท้องผูก มือเท้าเย็น เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ สับสน ฝันร้าย หากเป็นนาน ควรพบแพทย์หากมีอาการหายใจขัด หายใจมีเสียงหวีด เท้าหรือขาบวม เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นช้าหรือไม่ปกติ ให้พบแพทย์ทันที

ข้อควรระวัง

ควรบอกแพทย์หากตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร มีประวัติเป็นโรคหืด หลอดลมอักเสบ โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไตหรือต่อมไทรอยด์ หรือกำลังรับประทานยาอื่นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยายับยั้งการหลั่งกรด cimetidine ยารักษาความดันโลหิตสูง verapamil, diltiazem และยารักษาโรคหัวใจอื่น ๆ

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์

สำหรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท c

เก็บยาอย่างไร     

เก็บยาในภาชนะที่บรรจุมา ปิดให้สนิท และพ้นมือเด็ก เก็บที่อุณหภูมิห้องในที่แห้ง ไม่ถูกความร้อนและแสงโดยตรง

atenolol | bisoprolol | metoprolol | propanolol |