การตั้งครรภ์นอกมดลูก

 

เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิก็จะเคลื่อนตัวไปตามท่อรังไข่ (fallopian tubes) และไปฝังตัวที่มดลูก อ่านเรื่องการปฏสนธิิแต่หากมีปัญหา ทำให้ไข่ฝังตัวที่ท่อรังไข่ก็จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ เพราะจะทำอัตรายต่ออวัยวะของแม่ หากไม่แก้ไขก็อาจจะทำให้เลือดออกมากจนกระทั่งเสียชีวิต

อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีอะไรบ้าง

อาการก็เหมือนคนตั้งครรภ์ทั่วไปกล่าวคือ

  • ขาดประจำเดือน
  • คัดเต้านม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • หากตรวจปัสสาวะจะให้ผลบวกแสดงว่าตั้งครรภ์

แต่มีอาการเตือนว่า อาจจะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้แก่

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดท้องบิดๆข้างที่ตั้งครรภ์นอกมดลูก

 

หากมีอาการเลือดออกจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดท้องมากทันที อาจจะปวดทั่วทั้งท้องและร้าวไปไหล่
  • มึนศีรษะ
  • หน้ามืดจะเป็นลม
  • ใจสั่น
  • ซีด

ควรจะรีบไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีการขาดประจำเดือนและหรืออาจจะตรวจปัสสาวะพบว่าตั้งครรภ์
  • มีการตกเลือด
  • ปวดท้องอาจจะร้าวไปไหล่
  • ปวดแบ่งถ่ายแต่ไม่มีอะไรออก
  • มีอาการหน้ามืดเป็นลม

ทั้งหมดที่กล่าวเป็นอาการของคนที่ตั้งครรภ์นอกมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดตั้งครรภ์นอกมดลูกได้แก่

  • เคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อนข้างหนึ่ง
  • เคยมีการอักเสบของช่องเชิงกรานมาก่อน เช่น ปีกมดลูก มดลูกอักเสบ หนองในทั้งแท้และเทียมเป็นต้น
  • เคยได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง โดยเฉพาะการผ่าตัดมดลูก ท่อรังไข่ หรืออวัยวะช่องท้อง
  • มีบุตรยากและได้ยากระตุ้นการตกไข่
  • มีปัญหาท่อรังไข่ผิดปกติ
  • การใส่ห่วงคุมกำเนิด

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ การตกเลือดในท้องเนื่องจากท่อรังไข่ที่มีตัวอ่อนแตก และมีเลือดออกซึ่งอาจจะอันตรายถึงกับเสียชีวิต

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง

  • หากท่านมีอาการปวดท้องรุนแรง และมีเลือดประจำเดือนอกมาก แพทย์จะรีบให้น้ำเกลือ
  • แพทย์จะทำการตรวจภายใน
  • แพทย์จะนัดตรวจ Ultrasound เพื่อดูว่าตั้งครรภ์หรือเปล่า และดูตำแหน่งว่าตั้งครรภ์อยู่ที่ใด นอกจากนั้นยังตรวจว่ามีเลือดอยู่ในช่องท้องหรือไม่
  • ในรายที่มีความดันโลหิตต่ำและซีด แพทย์อาจจะนำเข้าห้องผ่าตัดแุกเฉินทันที
  • ในรายที่ไม่ซีดมากและอาการไม่รุนแรง แพทย์จะเจาะเลือดตรวจว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่

การรักษา

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค

  • หากตั้งครรภ์อ่อนๆและตัวอ่อนอยู่ที่ท่อรังไข่ แพทย์อาจจะฉีดยาเพื่อไม่มห้ตัวอ่อนเจริญเติบโต หลังฉีดจะมีอาการปวดท้องบิดบิด และมีเลือดออก
  • ในรายที่เด็กตัวใหญ่ และมีตกเลือดในช่องท้องแพทย์จะผ่าตัดเอาเด็กออก

การป้องกันโรคตั้งครรภ์นอกมดลูก

  1. ไม่สำส่อนทางเพศ
  2. หากเป็นโรคช่องเชิงกรานอักเสบให้รักษาด้วยยาให้ครบกำหนด
  3. หากท่านใส่ห่วงคุมกำเนิด และต้องการตั้งครรภ์ให้ปรึกษากับแพทย์ประจำตัวท่าน
  4. การเคยผ่าตัดมดลูก ท่อรังไข่หรือช่องท้องอาจจะเกิดผังผืดในช่องท้องซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
การตั้งครรภ์ โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์