การตั้งครรภ์เดือนที่ 5

การเจริญและการพัฒนาของทารก

เด็กทารกช่วงนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะทำงานได้เต็มที่ เด็กเริ่มมีลายนิ้วมือ กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมากขึ้น ตับจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดีเริ่มสร้างน้ำดี ฟันน้ำนมเริ่มโตใต้เหงือก ผม ขนคิ้ว ขนตายาวขึ้น

เด็กจะมีการตื่นและนอนเป็นเวลาคุณแม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นเด็กดูุดนิ้วมือเป็น

การวัดความยาวของเด็กทารกจะทำได้ยากเนื่องจากทารกจะขดตัว การวัดจะวัดจากศีรษะถึงนิ้วหัวแม่เท้าเด็กระยะนี้จะยาว 10-12 นิ้วหนักครึ่งกิโลกรัม ทารกจะเริ่มมีการกลืนน้ำคร่ำซึ่งเป็นผลดีสำหรับระบบย่อยของทารก เมื่อเมื่อถ่ายออกมาจะเป็นน้ำขี้เถ้าสีออกดำดำ


การคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนดคือการคลอดเมื่ออายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนดคลอด ยังไม่ทราบสาเหตุ มักจะเกิดเมื่อครรภ์อายุ 20-36  สัปดาห์ หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้โทรปรึกษาแพทย์

  • มดลูกมีการหดตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง
  • มีอาการปวดตึงหรือปวดหนักบริเวณหลังเป็นๆหายๆ
  • ปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อยหน่วงๆเหมือนเด็กจะหลุดออกมา
  • ปวดลำไส้มวนๆแต่ไม่มีอาการท้องเสีย
  • มีการเปลี่ยนแปลงของการตกขาว
  • มีน้ำคร่ำไหลออกมา

อาการคลอดก่อนกำหนด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

  • ผู้ที่ไม่ได้ฝากครรภ์
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • เคยตกเลือด
  • เคยคลอดก่อนกำหนด
  • ครรภ์แผด
  • อายุแม่น้อยกว่า 18 หรือมากกว่า 35 ปี
  • การติดเชื้อบางชนิด

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์

เมื่อไปพบแพทย์จะตรวจเหมือนกับเดือนที่ 4 อย่าลืมจดปัญหาเพื่อไปปรึกษากับแพทย์ อาการของผู้ป่วยจะคล้ายกับเดือนที่ 4แต่จะมีอาการมากขึ้น เช่นการเคลื่อนไหวของเด็กเพิ่มขึ้นตกขาวเพิ่มขึ้น ปวดท้องน้อยเนื่องจากเอ็นที่ท้องตึงขึ้น ท้องผูก ท้องผูก ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร ปวดหลัง ผิวจะมีสีคล้ำขึ้น การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ช่วงนี้คุณแม่จะมี

  • การนอนกรนเนื่องจากฮอร์โมน estrogen ทำให้เยื่อบุจมูกบวม การแก้ไขให้คุณแม่นอนตะแคงหรือนอนศีรษะสูง
  • ปัญหาต่อมาจะมีอาการจุกแน่นท้องเนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นกดดันกระเพาะอาหาร การแก้ไขให้รับประทานอาหารครั้งละไม่มาก และนอนยกศีรษะสูง
  • ปัญหาต่อมาได้แก่การเกิดตระคิวของเท้า การแก้ไขให้คุณแม่ยึดกล้ามเนื้อบ่อยๆ และหากมีอาการก็ให้คุณพ่อนวดกล้ามเนื้อเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมากขึ้น
  • คุณแม่เวลานอนกลางคืนอาจจะรู้สึกร้อนปกติหากมีเครื่องปรับอากาศก็ตามผมเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากฮอร์โมนของคุณแม่ และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
  • การลุกขึ้นจากเตียงต้องระวังเนื่องจากมดลูกมีขนาดโตกคุณแม่กับเพื่อนวันลำบากต้องระวังการหกล้ม
  • อารมณ์คนท้องจะดีขึ้น พ่อบ้านก็จะมีอารมณ์ดีขึ้น

สัปดาห์ที่ 17 18 19 20

เดือนที่4 เดือนที่6