การตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์

 

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

น้ำหนักตัวก็น่าจะเพิ่มขึ้นมาสัก 5-6 กิโลกรัมแล้ว ตอนนี้ท้องเราจะเริ่มแอ่นไปข้างหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายของคุณแม่ขณะนี้จะขยายใหญ่ขึ้น ไม่เพียงแต่หน้าท้องเท่านั้น แต่ต้นขาและน่องก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

มดลูกดันหน้าท้องออกมา ยอดมดลูกจะมาอยู่ที่ตำแหน่งต่ำจากสะดือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มดลูกจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆและมีขนาดโตขึ้นสัปดาห์ละประมาณ 1 เซนติเมตร ขณะที่มดลูกขยายจนเข้าไปเบียดพื้นที่ในช่องปอด ท้อง และไต เป็นผลให้คุณแม่จะหายใจได้ไม่ค่อยสะดวกนัก สะดือโปนออกมา และปรากฏเส้นลายบนหน้าท้อง

  • อาหารที่ทานเข้าไปจะย่อยได้ไม่ค่อยดี ช่วงนี้คุณจึงอาจมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นริดสีดวงทวาร
  • คุณแม่ยังคงต้องเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะบ่อยๆ (คุณแม่จะปัสสาวะถี่ขึ้นอีกครั้งเมื่อถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะทำให้ไปกดกระเพาะปัสสาวะ) ปัสสาวะบ่อยครั้งมากขึ้นระวังเรื่องการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • เต้านมยังคงขยายใหญ่ขึ้นไปอีก และสีผิวบริเวณหัวนมจะเข้มขึ้น คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 6 ปอนด์แล้วในตอนนี้
  • คุณแม่อาจพบว่ามีสีผิวเข้มขึ้นเป็นบางจุดบนใบหน้าด้วย
  • ช่วงนี้เล็บจะแข็งแรงขึ้น ผมดกมากขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมรเพิ่มมากขึ้น
  • คุณแม่อาจวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาการอ่อนเพลีย กังวล หรือแม้แต่ความหิวก็อาจเป็นสาเหตุ หากคุณแม่มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแบบไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ อย่าใช้ยาเองโดยเฉพาะแอสไพริน
  • งดอาหารจำพวกแป้งของหวานและ ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพื่อให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือด และช่วยในการ เจริญเติบโตของทารก แนะนำว่าเนื้อสัตว์เป็นแหล่งรวมธาตุเหล็กที่ดีที่คนท้องควร จะกิน หรือไม่ก็พวกเป็ดไก่และสัตว์น้ำที่มีเปลือกอย่างกุ้ง หอย ก็เต็มไปด้วยธาตุเหล็กเช่นกัน นอกจากนั้นธาตุเหล็กยังมีมากในผักตำลึง ผักโขม น้ำลูกพรุนลูกเกดด้วย

การเปลี่ยนแปลงของทารก

ตอนนี้ลูกมีความสูงประมาณ 22 ซม. จากหัวถึงเท้า น้ำหนักของเจ้าตัวเล็กตอนนี้หนักถึง 294 กรัม

  • ร่างกายของทารกในเดือนนี้จะดูอ้วนขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องจากได้มีการสร้างเนื้อเยื่อชั้นไขมันขึ้นมา ไขมันชนิดที่มีสีออกน้ำตาล เรียกว่า Brown fat จะพบบริเวณต้นคอ ไต และใต้กระดูกทรวงอก ในขณะที่เนื้อเยื่อชั้นไขมันชนิดปกติ White fat นั้นจะปกคลุมพื้นที่ทั่วร่างกาย
  • ผิวหนังของทารกหนาขึ้น และพัฒนาเป็น 4 ชั้น มีต่อมพิเศษในร่างกายหลั่งไขเคลือบผิวที่เรียกว่า vernix caseosa ซึ่งมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องผิวจากน้ำคร่ำ ขนอ่อนจะทำหน้าที่ยึดไขเคลือบผิวไว้ โดยเฉพาะที่คิ้วจะมีไขเคลือบผิวหนามากผิวหนังยังคงมองเห็นทะลุผ่านเข้าไป สามารถมองเห็นเส้นเลือดเป็นเครือข่ายโยงใยอยู่ทั่วร่างกาย ผิวหนังมีขนอ่อนๆ ที่เรียกว่า Lanugo ปกคลุมอยู่ทั่วร่างกาย และมีไขสีขาวขุ่นเคลือบผิวอีกที ไขนี้มีหน้าที่ปกป้องผิวจากน้ำคร่ำนั่นเอง่
  • ผมที่หนังศีรษะ และเล็บนิ้วเท้าเริ่มเจริญขึ้น
  • เปลือกตาทั้งสองข้างยังคงปิดสนิทเช่นเดิม แต่กล้ามเนื้อกลอกตาได้พัฒนาไปอย่างมาก และมีความแข็งแรงพอที่ทารกจะเริ่มกลอกตาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้
  • ทารกหัดกลืนได้มากขึ้น และยังเป็นช่วงที่เขาจะเริ่มขับถ่ายเป็นครั้งแรก เพราะในลำไส้จะมีการรวมตัวกัน ของเซลล์ที่ตายแล้ว น้ำย่อยและน่ำคร่ำต่างๆ ที่เจ้าตัวเล็กกลืนลงไปท้อง อึก่อนแรกของเขาจะ ออกมาเป็นสีดำๆเหนียวๆ เรียก meconium ซึ่งเกิดจากเซลล์ที่ตายแล้ว และน้ำคร่ำที่เกิดกลืนเข้าไป
  • ส่วนหนึ่งของสมองลูกที่ควบคุมความรู้สึกกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • สามารถตรวจการเต้นของหัวใจได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกัน
  • การได้ยินของเด็กจะดีขึ้น เสียงจากโลกภายนอกสามารถทำให้ทารกได้ยิน ทารกจะสามารถจำเสียงของคุณแม่ได้ เสียงของการหายใจ เสียงที่เกิดจากการย่อยอาหาร เสียงหัวใจคุณแม่เต้น สามารถได้ยินอย่างชัดเจนจากภายใน ทารกมีการตอบสนองต่อเสียงจากภายนอก เช่น เมื่อได้ยินเสียงดนตรี
  • แขนและขาสมบูรณ์มากขึ้น กระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้น และตอนนี้ทารกสามารถกำมือเพื่อหยิบจับอะไรต่ออะไรได้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นช่วงนี้เด็กจะเคลื่อนไหวถี่ขึ้นทั้งบิดตัว การแตะ การตี ทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้นและระบบประสาทมีการพัฒนาไปมาก การเคลื่อนไหวจึงสัมพันธ์กันมากขึ้น ในเดือนนี้คุณแม่จะสามารถรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงนั้น

ถึงเวลาที่คุณแม่จะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์แบบละเอียดในสัปดาห์ที่ 20 และคุณอาจจะได้เห็นลูกบนหน้าจอเป็นครั้งแรกแล้ว

การตรวจในสัปดาห์ที่ 20 นั้นจะเป็นการตรวจหาความผิดปกติ และจุดประสงค์ของการตรวจก็คือเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างราบรื่นดีและลูกมีพัฒนาการตามปกติ แพทย์จะตรวจสอบตำแหน่งของรก หาความผิดปกติของการเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารก การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 15 -20 นาทีในช่วงสัปดาห์ที่ 20 แพทย์จะสามารถบอกเพศของลูกได้

ในช่วงการตรวจครรภ์ หากมีประเด็นปัญหาที่สงสัย แพทย์จะแจ้งให้คุณแม่ทราบทันทีและอาจต้องมีการตรวจอัลตราซาวนด์อีกครั้ง บางครั้งจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำแต่ไม่ได้หมายความว่ามีปัญหาร้ายแรงกับลูกของคุณเสมอไป

 การปฏิบัติตัวของคุณแม่

  • ระยะการตั้งครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่18-20 สัปดาห์เป็นระยะที่ต้องตรวจ ultrasound ดังกล่าวข้างต้น
  • ระยะนี้คุณแม่ต้องการธาตุเหล็กประมาณวันละ 27-30 มกเพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งจะป้องกันภาวะโลหิตจางในทารก น้ำหนักตัวทารกน้อย และคลอดก่อนกำหนด อาหารที่มีธาตุเหล็กมากได้แก่
    • เนื้อแดง
    • เนื้อหมู
    • อาหารพวกถั่ว
    • ผักใบเขียว
    • ข้าวโอ๊ต
    • ธัญพืช
  • อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นที่บริเวณท้อง ทำให้กล้ามเนื้อต้องรับน้ำหนักมากขึ้น หรือท่าเดิน ยืน นั่ง ที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากการที่กระดูกสันหลังส่วนล่างโก่งงอออกเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก กระดูกสันหลังจะบิดตัวเองซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังได ป้องกันโรคปวดหลังโดย อย่ายืนนาน นั่งเก้าอี้ให้ถูกท่า เวลานอนให้มีหมอน เมื่อยกของให้ใช้กล้ามเนื้อขาแทนกล้ามเนื้อหลัง 
  • เมื่อทารกมีการเคลื่อนไหวคุณแม่ก็มักจะรู้สึกได้ แต่บางครั้งที่กำลังยุ่งอาจไม่ทันได้สังเกตการเคลื่อนไหวที่เบาๆนั้น แต่เมื่ออายุครรภ์ได้ 24 – 32 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทารกมักจะชัดเจน แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่นับจำนวนครั้งที่ทารกมีการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน คุณแม่อาจจะนับได้มากกว่าสิบครั้งต่อวันก็ถือว่าใช้ได้แล้ว หากคุณสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อให้เห็นว่าทารกมีการเคลื่อนไหวดีเป็นปกติ

อาการที่พบบ่อยของคนตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์

  • จุกเสียดแน่ท้อง แก้ไขโดยเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลเพื่อเพิ่มน้ำลาย
  • ตกขาวเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำความรำคาญ แต่การตกขาวจะมีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด
  • ปวดศีรษะซึ่งมักจะเกิดเมื่อมีอากาศร้อน ให้เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย และไม่อยู่ในที่อับ
  • ตะคริวที่น่องเชื่อว่าเกิดจากน้ำหนักตัวมากขึ้นกดเส้นเลือด แก้ไขโดยการนอนและยกเท้าสูง และให้ดื่มน้ำมากๆ
  • บวมหลังเท้าซึ่งพบได้ อย่ารองเท้าที่คับ เมื่อถึงบ้านก็เปลี่ยนรองเท้า และไม่ใส่ถุงน่องที่รัด
  • คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแปลบที่บริเวณท้องด้านล่าง เป็นอาการที่ปกติเนื่องจากเมื่อมดลูกขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วกล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกเอาไว้ก็จะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และถูกดึงรั้งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อคุณแม่หมุนตัวหรือเคลื่อนไหวเร็วๆ กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่นี้ก็จะถูกดึงให้ยืดออกอีกโดยเร็วทำให้รู้สึกเจ็บแปลบๆได้ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บพยายามงอตัวไปด้านที่รู้สึกเจ็บก็จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น
  • เล็บมือและเล็บเท้าของคุณแม่จะอ่อนและเปราะมากขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มมากขึ้นของฮอร์โมน ดังนั้นในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่จำเป็นที่จะต้องมีการดูแลเล็บให้ดีกว่าปกติ
  •  เส้นผมของคุณแม่ก็จะมีความมันมากยิ่งขึ้น บางทีคุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าผมหนามากขึ้นแต่ไม่ได้เป็นเพราะมีการผลิตเส้นผมใหม่มากขึ้น สาเหตุเพราะว่าฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผมร่วงน้อยลง คุณจึงจำเป็นต้องดูแลเส้นผมให้มากขึ้น ต้องสระผมให้บ่อยขึ้น เวลาใช้ครีมนวดผม conditioner หรือ treatment ต่างๆ ควรใส่เฉพาะบริเวณปลายผมเท่านั้น
  •  ผิวหนังของคุณแม่ก็จะผลิตน้ำมันออกมามากขึ้นด้วยเช่นกัน ผิวหน้าจะมันมากขึ้น เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนมากขึ้นนั่นเอง การที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะไปกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้าขึ้นได้ ในผู้หญิงที่มีสีผิวเข้มอยู่แล้วจะพบเป็นรอยจางๆ แต่หากมีผิวสีขาวก็จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น แต่มันก็จะจางหายไปหลังจากการคลอด ดังนั้น อย่าไปกังวลกับมันมากนัก เวลาออกนอกบ้านเพียงแต่ใช้ครีมกันแดด และกางร่มก็จะช่วยให้เกิดฝ้าน้อยลง เพราะแสงแดดก็จะเป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นการผลิตเม็ดสีให้เพิ่มมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

อาการนอนไม่หลับ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

การตรวจต่างๆ

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่19 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่21

 

เพิ่มเพื่อน