การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่35

 

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่

ยอดของมดลูกอยู่ใกล้ชายโครง มดลูกได้เบียนอวัยวะภายในช่องท้องทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย จุกเสียดแน่นท้อง ช่วงนี้คุณหมอจะนัดตรวจบ่อย แพทย์อาจจะตรวจภายใน และเพาะเชื้อจากช่องคลอดและทางทวารเพื่อตรวจหาเชื้อ  Group B streptococci (GBS). เชื้อนี้ไม่เป็นอันตรายในผู้ใหญ่ แต่หากเกิดในทารกอาจจะทำให้เกิดปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ดังนั้นหากตรวจพบเชื้อในมารดาจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะในระหว่างคลอด เพื่อลดการติดเชื้อ

ในช่วงนี้หัวเด็กจะเคลื่อนลงช่องเชิงกรานที่เรียกว่า lightening จะทำให้คุณแม่มีอาการจุกเสียดในช่องเชิงกราน และปัสสาวะบ่อย

การเปลี่ยนแปลงทารก

ทารกจะมีขนาด 43-45 เซ็นติเมตรหนัก 2.2-2.7 กิโลกรัม อวัยวะต่างๆมีการพัฒนาสมบูรณืขึ้นมาก

  • ไตมีการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว
  • ตับเริ่มมีการทำลายของเสีย

สัปดาห์นี้จะต้องทำอะไรบ้าง

การตั้งครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 35-36 เจ้าหน้าที่อาจจะนัดตรวจทุกสัปดาห์จนกระทั่งคลอด เจ้าหน้าที่จะให้คุณแม่จับเวลาของทารกที่ดิ้นหรือเตะครบ 10 ครั้ง สมาคมสูติแพทย์ของอเมริกาได้แนะนำดังนี้

  • ปกติเด็กดิ้นครบ 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง
  • การนับอาจจะใช้กระดาษบันทึกเวลาที่เริ่มจับและขีดหนึ่งครั้งเวลาเด็กดิ้น เมื่อครบ 10 ครั้งให้จดเวลาที่ดิ้นครบ 10ครั้ง
  • หากนับแล้วเกิน 2 ชั่วโมง ให้รอ2-3ชั่วโมงแล้วนับอีกครั้ง
  • หากยังเป็นเช่นเดิมให้ปรึกษาแพทย์

การเตรียมการสำหรับทารก

การวางแผนไปโรงพยาบาล

ในสภาพการจราจรของเมืองไทยคุณแม่ต้องเตรียมตัวเดินทางเสียแต่เนินๆสิ่งที่ต้องพิจารณาในการวางแผนคือ

  • ระยะทางจากบ้านไปโรงพยาบาล
  • สภาพการจราจร
  • สภาพรถ เบอร์โทรศัพท์ของร่วมด้วยช่วยกันหรือ จส.100 เพื่อยามฉุกเฉิน
  • คนขับรถ เบอร์โทรศัพท์ของคนขับสำรองพร้อมรถ
  • มีคนเฝ้าบ้าน ดูแลเด็กหรือยัง
  • อุปกรณ์สำหรับทารกเมื่อกลับบ้าน
  • อุปกรณ์สำหรับคุณแม่

แพทย์จะแนะนำเรื่อง

สัปดาห์ที่ 35

ทารกจะมีความสูงประมาณ 46 เซนติเมตรและมีน้ำหนักตัวราว 2.4 กิโลกรัม ในสัปดาห์ที่ 35 การได้ยินของทารกจะพัฒนาสมบูรณ์ ลูกน้อยจึงอาจเริ่มตอบสนองต่อเสียงต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเสียงสูง หากเป็นทารกเพศชาย ลูกอัณฑะของทารกจะตกลงมาในถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นพัฒนาการทางเพศรูปแบบหนึ่ง

 

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่34 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่36

 

เพิ่มเพื่อน