การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่36

 

ในช่วงสี่สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ทารกจะมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 3 ขีด แต่น้ำหนักคุณแม่ไม่ได้เพิ่มขึ้น น้ำหนักของทารกอาจจะหนักถึง 3.5 กิโลกรัม และยาวประมาณ 36 เซนติเมตร (14 นิ้ว) เมื่อครบกำหนด 40 สัปดาห์พอดีทารกอาจยาวถึง50ซม หรือมากกว่านี้เล็กน้อย เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ ทารกจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายเกือบร้อยเปอร์เซนต์แล้ว และจะสามารถมีชีวิตรอดได้หากมีการคลอดก่อนกำหนด

และมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังจะทำให้ทารกดูอ้วน แก้มยุ้ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการรองรับแรงกดที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการคลอดนั่นเอง

ขนและไขมันที่ปกคลุมทารกที่อยู่ในน้ำคร่ำที่เรียกว่า lanugo และ vernix caseosa จะเริ่มหายไป

แขนและขาจะอยู่ในท่างอ นิ้วมือและนิ้วเท้ามีความสมบูรณ์เต็มที่ และนิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆนั้นจะมีเล็บที่บาง และคมซึ่งอาจทำให้ข่วนตัวเองได้ซึ่งคุณอาจจะเห็นรอยข่วนนั้นได้เมื่อทารกคลอดออกมา

ลูกอัณฑะจะเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว สำหรับทารกเพศหญิงจะมีเนื้อเยื้อของเต้านมและหัวนมได้เคลื่อนขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว

ทารกจะกลืนน้ำค่ำที่มีไขมันและเซลล์ที่สลายทำให้อุจาระของทารกที่ออกมาครั้งแรกจะมีสีออกเขียวที่เรียกว่า meconium หรือขี้เทา

ทารกจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่อคุณใกล้คลอด แต่ทารกที่อยู่ในสภาวะที่ไม่ดีนักก็จะเคลื่อนไหวน้อยลงเช่นกันเพื่อเก็บพลังงานเอาไว้ ดังนั้นเมื่อคุณตื่นนอนขึ้นในตอนเช้าและก่อนเข้านอน นั่งอยู่บนเตียงสักสามสิบนาทีและนับจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวของทารก หากคุณนับได้จำนวน 5 – 6 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแล้วและคุณก็สบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยภายในโลกส่วนตัวเล็กๆนั้น ทารกเคลื่อนไหว 10 ครั้งต่อวันถือว่าปกติดี

ปอดของทารกนั้นมีการพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มที่ ทำให้เมื่อคลอดปอดเด็กทารกทำงานได้ดี  หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 110-150 ครั้งต่อนาที เมื่อทารกคลอดออกมาปอดมีการขยายตัวออก ทำให้เลือดมีการไหลผ่านไปยังปอด และเกิดระบบไหลเวียนเลือดที่สมบูรณ

รกซึ่งให้อาหารและออกซิเจนแก่ทารกมาเป็นเวลานานจะมีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพลง เมื่อมีการคลอดรกออกมา รกจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 6 ของน้ำหนักของทารก

ระยะนี้หัวเด็กควรจะลงช่องเชิงกราน หากไม่ลงก็ไม่ต้องตกใจให้รออีกสัปดาห์ หากไม่ลงให้ปรึกษาแพทย์

การเปลี่ยนแปลงสำหรับคุณแม่

อาการ หายใจไม่พอ อาหารไม่ย่อย Heartburn จะลดลงเนื่องจากหัวของทารกทารกเคลื่อนตัวลงสู้ช่องเชิงกราน แต่ก็จะทำให้คุณเคลื่อนไหวหรือเดินได้ลำบากมากขึ้นปวดจุกบริเวณหัวเหน่า

จะมีอาการเจ็บท้องเตือนที่เรียกว่า  Braxton Hicks คือการหดตัวเตือนของมดลูกเป็นซ้อมให้มดลูกแข็งแรง คุณแม่ต้องเรียนรู้อาการเตือนว่าจะคลอดเพื่อที่จะไปโรงพยาบาลทันเวลา

ระยะนี้คุณแม่ไม่ควรเดินทางไกลหรือเดินทางโดยเครื่องบินเพราะว่าอาจจะคลอดเมื่อไรก็ได้

เรื่องอาหารอาจจะต้องรับประทานอาหารสำเร็จรูปเนื่องจากความอุ้ยอ้ายของคุณแม่

ทาครีมให้ผิวหนังชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องเต้านม สะโพกและต้นขา รอยแตกนี้อาจจางลงได้บ้างหลังคลอด

พักให้มากขึ้น ลดกิจกรรมต่างๆลง ผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะมีทฤษฎีที่พบว่าฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่มีความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัวทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

ในหญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้จะคลอดจะมีของเหลวสะสมอยู่ตามเข่า เท้า ขาส่วนล่าง ทำให้อวัยวะเหล่านั้นบวมขึ้น การยกขาสูง หรือการแช่ขาในอ่างน้ำเย็น จะช่วยให้อาการบวมดีขึ้น

คุณแม่บางท่านอาจมักจะหงุดหงิดรำคาญ ในช่วงนี้สิ่งที่มากระทบเล็กๆน้อยๆมักทำให้คุณแม่หงุดหงิดอยู่เสมอ ความอดทนของคุณแม่จะลดลง คุณแม่อาจจะหงุดหงิดกับการที่ต้องเดินเข้าห้องน้ำบ่อยมากนับครั้งไม่ถ้วนในตอนกลางคืน หรืออารมณ์เสียที่ไม่สามารถก้มลงไปผูกเชือกรองเท้าของตัวเองได้

ความกลัวจะทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ อย่าเก็บความกลัวความกังวลเอาไว้กับตัว ลองพูดคุยกับคนอื่นจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และจะทำให้คุณแม่หายกลัวได้หากถามถูกคน

เมื่อมาถึงขั้นที่ทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว บางทีคุณแม่จะย้อนกับไปคิดถึงเรื่องราวในแปดเดือนที่ผ่านมา เรื่องราวบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้คุณกังวลใจในอดีตอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ขบขันได้ในตอนนี้

และเหมือนเป็นสัญชาติญาณของการทำรัง คุณแม่จะลุกขึ้นมาทำความสะอาดและตระเตรียมพื้นที่สำหรับต้อนรับสมาชิกใหม่ แต่ขอให้มีคนช่วยทำ และอย่าหักโหมเกินไปเพราะมันอาจทำให้คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลก่อนกำหนด

บริเวณท้องส่วนล่างจะรู้สึกหน่วงมากขึ้น เนื่องมาจากศีรษะของทารกที่เคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมพร้อมต่อการคลอด จะมีน้ำหนักไปถ่วงบริเวณท้องส่วนล่างมากยิ่งขึ้น

น้ำหนักคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ส่วนทารก 38% ส่วนของเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้น 22% ส่วนของมดลูก เต้านม ก้นและขา ที่ขยายใหญ่ขึ้น 20% เป็นน้ำหนักของน้ำคร่ำ 11% และ อีก 9% เป็นน้ำหนักของรก ปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะขยายออก หรือเปิดออกให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมาได้ ช่องคลอดจะมีการขยายความยาวออกด้วยเช่นกัน เส้นเลือดดำจะมีเลือดมาคั่งอยู่ทำให้บริเวณช่องคลอดมีสีออกม่วงๆ และคุณแม่ก็จะมีตกขาวออกมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปากมดลูกมีการผลิตเยื่อเมือกออกมามากขึ้น คุณแม่ต้องระมัดระวังในการทรงตัวให้มากยิ่งขึ้น เพราะน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นจะทำให้เสียสมดุลย์ของการทรงตัว เป็นสาเหตุให้ปวดหลัง

สิ่งที่ต้องทำในสัปดาห์นี้

ปรึกษาผู้รู้หรือมีประสบการณ์เตรีมกระเป๋าเพื่อจะไปโรงพยาบาล

อุปกรณ์สำหรับคุณแม่

  • สำหรับผู้ที่มีประกันก็เตรียมหลักฐานไปด้วย
  • ยกทรงสำหรับแม่
  • ชุดสำหรับใส่กลับบ้านโดยเตรียมชุดที่ใส่ขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน
  • ผ้าอนามัย

อุปกรณ์สำหรับทารก

  • สำหรับเด็กทารกควรจะมี car seat สำหรับทารก
  • ชุดสำหรับทารกใส่กลับ
  • ผ้าอ้อม

การเตรียมการสำหรับทารก

แพทย์จะแนะนำเรื่อง

สัปดาห์ที่ 36

แม้ว่าจะเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการท้อง 8 เดือนและใกล้กำหนดคลอดมากขึ้น แต่ทารกก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความสูงของทารกในสัปดาห์นี้จะอยู่ประมาณ 47 เซนติเมตร โดยน้ำหนักตัวจะอยู่ที่ 2.6 กิโลกรัม ในช่วงนี้ร่างกายของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ แต่จะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งครบกำหนดคลอด

 

การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่35 การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่37

เพิ่มเพื่อน