การให้นมเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน


การให้นมเมื่อคุณแม่ต้องทำงาน

คุณแม่เมื่อสามารถทำทั้งงานและสามารถให้นมลูกได้ โดยการเตรียมน้ำนมไว้สำหรับเมื่อคุณแม่ทำงาน เมื่อกลับถึงบ้านก็เลี้ยงด้วยนมจากคุณแม่ วิธีการที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถเลี้ยงลูกน้อยด้วยนมคุณแม่เอง

  • ลาพักหลังคลอดให้นานขึ้น
  • หากสถานที่ทำงานมีแผนกเลี้ยงเด็กอ่อน ก็ไปให้นมลูกวันละ 1-2 ครั้ง
  • นำงานมาทำที่บ้าน
  • ให้นมก่อนไปทำงาน และเมื่อกลับบ้านก็ให้นมแก่ลูก
  • ปั๊มนมเก็บไว้ในขณะทำงาน เพื่อใช้เลี้ยงเด็กตอนที่คุณไม่ได้อยู่กับเด็ก
  • เลี้ยงลูกด้วยนมคุณแม่เมื่อเวลาอยู่กับเด็ก แต่เมื่อทำงานก็ใช้นมผง

การเก็บรักษาน้ำนมปั๊ม

  • ล้างมือและเต้านมให้สะอาดก่อนการปั๊มนม
  • ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนมควรทำความสะอาดอย่างดี ควรจะมีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรใช้ขวดนมเป็นที่เก็บน้ำนม
  • ควรใช้ให้หมดใน 24 ชั่วโมง และทิ้งให้หมดหากเก็บไว้เกิน 72 ชั่วโมง
  • หากยังไม่ต้องใช้นมใน 24 ชั่วโมงให้เก็บนมในช่องแช่แข็ง และควรจะวางไว้ลึกสุด และจดวันที่แช่แข็ง การใช้ควรจะใช้นมที่แช่แข็งนานที่สุดเป็นอันดับแรก
  • ปริมาณที่แช่ ให้แช่ 60-120 ซมเพราะเหมาะสำหรับป้อนในแต่ละครั้ง
  • ไม่ควรเติมนมใหม่ในนมที่แช่แข็งไว้เรียบร้อยแล้ว
  • เมื่อจะใช้นมอาจจะนำออกจากช่องแช่แข็งไว้ในตู้เย็น หรือแกว่งในน้ำอุ่น
  • ไม่ควรใช้ microwave ในการสะอาดขวดนมเพราะความร้อนที่ใช้ไม่เท่ากันทั้งขวด หากทิ้งขวดไว้นานเกินไปอาจจะเกิดระเบิดได้ นอกจากนั้นสารอาหารในนมอาจจะถูกทำลายโดยความร้อนที่มากเกินไป
  • นมแช่แข็งที่ละลายในตู้เย็นควรจะใช้ให้หมดใน 24 ชั่วโมง หากใช้ไม่หมดไม่ควรนำไปแช่แข็งใหม่
  • ไม่ควรเก็บนมที่เหลือจากการรับประทาน เพื่อไว้ใช้ครั้งต่อไป

การเก็บน้ำนม

คุณแม่ที่ปั๊มน้ำนมเพื่อให้ลูกดื่มเมื่อแม่จะไปทำงาน จะต้องรู้วิธีถนอมน้ำนม ภาชนะที่ใส่จะต้องล้างให้สะอาด ไม่ควรใส่น้ำนมจนเต็มภาชนะเพราะเมื่อแช่แข็งน้ำนมจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้น ให้จดวันที่ปั๊มน้ำนมไว้ที่ข้างขวด

  • อุณหภูมิ 60 องศาฟาเรนไฮต์เก็บนมไว้ได้นาน 24 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิ 66-72 องศาฟาเรนไฮต์เก็บนมไว้ได้นาน 10 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิ 79 องศาฟาเรนไฮต์เก็บนมไว้ได้นาน 4-6 ชั่วโมง
  • เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 32-39 องศาฟาเรนไฮต์เก็บนมไว้ได้นาน 8 วัน
  • ในช่องแช่แข็งเก็บได้นาน 2 สัปดาห์

อุปกรณ์ที่ใช้เก็บน้ำนมอาจจะเป็นขวดหรือถุงที่ติดมากับเครื่องปั๊มน้ำนม ปริมาณที่เก็บไม่ควรจะเกิน 4 ออนซ์เพราะเด็กดื่มแต่ละครั้งมักจะเกิน 4 ออนซ์

การอุ่นนม สำหรับน้ำนมที่แช่แข็งก็ละลายในตู้เย็น แล้วจึงใช้น้ำอุ่นไหลผ่าขวดที่เก็บน้ำนม ห้ามใช้ microwave ในการอุ่นนมเพราะให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ

การปั๊มน้ำนม

คุณแม่ที่มีอาการคัดเต้านมเนื่องจากเกิดการคั่งของน้ำนม หรือคุณแม่ต้องไปทำงานแต่อยากให้ลูกได้รับน้ำนมก็สามารถปั๊มนมไว้ให้ลูกกิน วิธีการปั๊มมีได้หลายวิธีตั้งแต่การใช้มือจนกระทั่งการใช้เครื่องปั๊ม

การปั๊มด้วยมือ

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
  • เตรียมถ้วยสำหรับรองน้ำนม ล้างให้สะอาด
  • นวดเต้านมด้วยมือ โดยบีบจากฐานเต้านมไปหัวนม
  • ให้รีดนมเหมือนการรีดนมวัว โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือจับตรงตำแหน่งหนึ่งนิ้วห่างจากหัวนม นิ้วชี้อยู่ด้านตรงข้าม  ให้ถอยนิ้วไปด้านหลังและบีบมาทางหัวนม นมก็จะไหล
  • เปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วมือรอบหัวนม
  • เทนมใส่ขวด และนำไปแช่ตู้เย็น

เครื่องปั๊มด้วยมือ

  • การเลือกเครื่องมือควรจะเลือกชนิดที่สามารถทำความสะอาดได้ดี หากไม่สามารถทำความสะอาดได้ดี อาจจะทำให้เกิดนมบูดและเด็กก็จะท้องเสีย
  • ประกอบด้วยกระบอกสองอันสวมกัน เพื่อสร้างแรงดูด และมีขวดสำหรับเก็บนม

เครื่องปั๊มใช้ไฟฟ้า

การใช้เครื่องจะกระตุ้นการหลั่งน้ำนมได้ดีกว่าการใช้มือ เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกเป็นเวลาหลายวัน คุณแม่สามารถจะเช่าเครื่องจากร้านหรือโรงพยาบาลก็ได้

การให้นมบุตร  

 

เพิ่มเพื่อน