โรคกระเพาะอาหาร Pectic ulcer

Peptic ulcer หมายถึงแผลหรือการอักเสบเนื่องจากกรด แผลกระเพาะอาหารโรคกระเพาะอาหารหมายถึง ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะหรือลำไส้ถูกทำลาย ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึก muscularis mucosa เรียก ulcer

โรคที่พบบ่อยได้แก่

  1. ถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcer
  2. ถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียก duodenal ulcer

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกระเพาะอาหาร

Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร



อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์

  • เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน ปวดมาก
  • กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งเกร็ง เมื่อคลำจะรู้สึกว่าแข็ง กดท้องจะทำให้เกิดอาการปวดทั่วทั้งท้อง
  • ปวดท้องร่วมกับมีอาการของความดันโลหิตต่ำ เช่น หน้ามืดเป็นลม(ระยะแรกจะหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนจากท่านอนมายืน) เหงื่อออก มือเท้าเย็น สับสน
  • อาเจียนเป็นเลือดสดหรือออกสีดำ
  • ถ่ายอุจาระเป็นเลือดหรือถ่ายดำ

การป้องกันโรคกระเพาะอาหาร

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS
    • หากจำเป็นต้องรับประทานอาจจะต้องรับประทานยา PPIs สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะ
    • ตรวจว่ามีการติดเชื้อ H. pylori ก่อนรับประทานยาแก้ปวด
    • รับประทานยา   misoprostol
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มสุรา

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

Tag:

โรคกระเพาะอาหาร อาการโรคกระเพาะอาหาร การรักษาโรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ เลือดออกทางเดินอาหาร

เอกสารอ้างอิง

  1. Chan FKL, Lau JYW. Peptic ulcer disease. In: Feldman M, Friedman LS, Brandt LJ, eds. Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal and Liver Disease. 9th ed. Philadelphia, PA: Elsevier Saunders; 2010:chap 53.
  2. Chey WD, Wong BC. American College of Gastroenterology guideline on the management of Helicobacter pylori infection. Am J Gastroenterol. 2007;102:1808-25. PMID: 17608775www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17608775.
  3. Kuipers EJ, Blaser MJ. Acid peptic disease. In: Goldman L, Schafer AI, eds. Goldman's Cecil Medicine. 24th ed. Philadelphia, PA: Elsevier Saunders; 2011:chap 141.
  4. Laine L, Jensen DM. Management of patients with ulcer bleeding. Am J Gastroenterol. 2012 Mar;107(3):345-60. PMID: 22310222 www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22310222.
  5. Lanza FL, Chan FK, Quigley EM; Practice Parameters Committee of the American College of Gastroenterology. Guidelines for prevention of NSAID-related ulcer complications. Am J Gastroenterol. 2009 Mar;104(3):728-38.
  6. McColl KEL. Helicobacter pylori infection. NEJM. 2010;362:1597-1604. PMID: 20427808www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20427808.

Update Date 2/14/2016