หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ภาวะกรดไหลย้อนและความผิดปกติในระบบหู คอ จมูก

อาการทางคลินิกที่พบได้แก่

เสียงแหบ

อาการหลักของที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือเสียงแหบ ซึ่งพบได้ 92% ผู้ป่วยเสียงแหบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาพื้นฐาน ลักษณะของผู้ป่วยคือกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุของเสียงแหบ เมื่อตรวจหาสาเหตุจะพบว่าเป็นกรดหลย้อนสูงถึงร้อยละ 50

ไอเรื้อรัง

สาเหตุของไอเรื้อรังได้แก่ พบว่าสาเหตุเกิดจาก rhinosinustis 60%, โรคหอบหืด 26%, ภาวะกรดไหลย้อน 9%, การไอภายหลังการติดเชื้อ 8%, bronchiectasis 5% ตามลำดับ มีรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ร้อยละ 20 มีปัญหาเรื่องการไอเรื้อรัง ทั้งจากการศึกษาในระยะหลังพบว่ามีความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างการไอเรื้อรังและภาวะกรดไหลย้อน โดยที่ไม่มีอาการของกรดไหลย้อน เช่น เรอเปรี้ยว หรือแน่หน้าอก

หลักการรักษาการไอเรื้อรังที่เหมาะสมคือ

รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอGlobus Sensation

เป็นความรู้สึกจุกแน่นในลำคอ จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ยากที่สุดในการศึกษา เพราะเป็นการวัดถึงความรู้สึกของผู้ป่วยเอง ว่ามีแน่นหรือติดขัดในลำคอหรือไม่ ยังไม่มีการตรวจเพื่อยืนยันอาการนี้ได้ชัดเจน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการในช่วงระหว่างมื้ออาหาร และมักไม่เป็นในช่วงกลางคืน อย่างไรก็ตามการวัดความเป็นกรดในหลอดอาหารเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกจุกแน่นในลำคอ กับภาวะกรดไหลย้อนในหลอดอาหารยังให้ผลที่มีความแปรปรวนสูง โดยพบความสัมพันธ์กันได้ตั้งแต่ 14-64%

มะเร็งกล่องเสียง

ตำแหน่งที่พบเซลล์มะเร็งชนิด squamous cell มากที่สุดในระบบหู คอ จมูก คือ กล่องเสียง มะเร็งในช่องปาก และมะเร็งหลอดอาหารและมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และพบว่าผู้ป่วย 6 ใน 20 ราย ที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงโดยไม่มีประวัติการดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ พบภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วยในระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก ภาวะกรดไหลย้อนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งดังกล่าว โดยไม่ขึ้นกับอายุ เพศ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา

Chronic Sinusitis

โดยนิยาม ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หมายถึงมีอาการอักเสบของโพรงจมูกนานเกิน 12 สัปดาห์ สาเหตุหลัก ได้แก่ การติดเชื้อ และภูมิแพ้ นอกเหนือจากนั้น ภาวะกรดไหลย้อนในหลอดอาหารก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้รองลงไป ผู้ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรงเท่ากลุ่มที่เป็นเฉียบพลัน อาการนำที่ผู้ป่วยมารับการรักษามักเป็นความรู้สึกแน่นหรืออุดตันในโพรงจมูก มีเสมหะไหลลงคอหรือไอเรื้อรัง เมื่อตรวจร่างกายผู้ป่วยจะพบการบวมของโพรงเยื่อจมูก หรือมีน้ำมูกที่มีลักษณะเหนียวข้น พบว่าอุบัติการณ์ของภาวะกรดไหลย้อนสูงขึ้นในผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

กล่องเสียงและหลอดคอตีบ(Laryngeal and tracheal stenosis)

มีรายงานว่ากล่องเสียงของผู้ป่วยตีบจากภาวะกรดไหลย้อนี้จึงสรุปไว้ว่า สารคัดหลั่งจากกระเพาะอาจมีสารที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเยื่อบุหลอดลมได้นอกเหนือไปจากกรด และแม้ว่าปริมาณสิ่งคัดหลั่งนั้นจะมีปริมาณเพียงน้อยนิด อาจทำให้มีทำลายของเยื่อบุผิวในวงกว้างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า pH ต่ำ นอกจากนี้ สารคัดหลั่งจากกระเพาะอาจมีส่วนผสมบางอย่างที่ทำให้การอักเสบที่เกิดขึ้นหายช้ากว่าปกติ

Laryngospasm

Laryngospasm เป็นการหดตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรงของหูรูดกล่องเสียง ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดกล่องเสียงปิดตัวลงทันที และพยายามไอเพื่อขับสิ่งกระตุ้นนั้นออกมา โดยเส้นประสาทที่ควบคุม คือ superior laryngeal nerve ในด้านขาเข้า และ recurrent laryngeal nerve ในขาออก ตามลำดับ
มีการศึกษาแบบย้อนหลังของ Maceri และคณะ ที่รายงานผู้ป่วย 8 ราย ที่มี Laryngospasm พบว่า ในบางรายอาการเป็นมากจนถึงขั้นหมดสติไป ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้เคยมีประวัติที่บ่งถึงภาวะกรดไหลย้อนมาก่อน ร่วมกับมีประวัติการติดเชื้อในคอที่กระตุ้นให้เกิดการไออย่างแรง พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ตอบสนองดีต่อการให้ยาลดกรดในขนาดที่สูง สามารถควบคุมอาการได้เร็วการเกิดซ้ำเป็นได้น้อย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง และประชาการที่นำมาศึกษาค่อนข้างน้อย อาจต้องอาศัยการศึกษาที่ใหญ่ขึ้นเพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์นี้
นอกจากนี้ ยังมีอาการที่อาจพบได้ เช่น เจ็บในปาก เจ็บคอ ลิ้นไม่รู้รสชาติ แต่อาการทั้งหมดมักเป็นความรู้สึกที่วัดได้ยาก อีกทั้งยังไม่มีแนวคิดที่ใช้อธิบายกลไกการเกิดความผิดปกติของอาการดังกล่าว รวมถึงยังไม่มีการศึกษาที่ใหญ่พอที่จะอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดไหลย้อนได้

การตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยปัญหาทางระบบหู คอ จมูก ที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อน

โดยปกติ ข้อบ่งชี้ในการตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง ได้แก่

มีหลายการศึกษาที่เสนอว่า dual pH probe อาจเป็นการตรวจที่มีความไวมากที่สุดในการวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อนที่เป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติในระบบหู คอ จมูก อย่างไรก็ตาม ความไวในการตรวจยังไม่สูงเพียงพอที่จะตรวจพบปริมาณกรดเพียงหนึ่งถึงสองหยดต่อวันได้ การวัดความเป็นกรดที่บริเวณคอหอยอาจสามาถตรวจพบภาวะกรดไหลย้อนได้เพิ่มเติมประมาณ 40% ของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล่องเสียงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในการศึกษาของผู้ปก่วยเสียงแหบ พบว่าการไอเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บต่อเยื่อบุผิวบริเวณดังกล่าว เมื่อเกิดภาวะกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณคอหอยอาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้ง่ายกว่าคนปกติ

Gastroesophageal scintigraphy

การทำ gastroesophageal scintigraphy สามารถตรวจหาการเกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ โดยให้ผู้ป่วยกลืนสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารกัมมันตรังสี แล้วติดตามการเคลื่อนไหวของสารที่กลืนเข้าไปว่าเกิดมีการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารหรือไม่โดยวิธี scintigraphy แต่เนื่องจากการเกิดภาวะกรดไหลย้อนในผู้ป่วยแต่ละรายไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงทำให้ความไวของการตรวจวิธีนี้ต่ำและไม่นิยมใช้กัน

การรักษา

หลังให้การรักษาภาวะกรดไหลย้อนเช่นเดียวกับการศึกษาในระยะหลังที่ใช้ยาในกลุ่ม Proton pump inhibitor ที่แสดงให้เห็นว่ายิ่งสามารถลดความเป็นกรดได้มากและนานเท่าไร อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นตามลำดับ โดยทั่วไป อาการทางกล่องเสียงจะตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่อาจต้องใช้วลาในการรักษานานกว่า

ในกลุ่มผู้ป่วยไซนัสอักเสบ การให้ยาลดกรดก็ทำให้อาการทางไซนัสดีขึ้นเช่นกัน โดยอาการที่ดีขึ้นมักเกิดในช่วง 8 สัปดาห์ที่ได้รับยา ได้แก่ อาการปวดและแน่นในโพรงไซนัส อาการที่ดีขึ้นปานกลางได้แก่ คัดจมูก และมีน้ำมูกมาก อาการที่ดีขึ้นน้อย ได้แก่ อ่อนเพลีย อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวมักไม่หายสนิทด้วยยาลดกรดเพียงอย่างเดียว ส่วนมากมักต้องการยาที่ควบคุมอาการของไซนัสร่วมด้วย เพื่อคุมอาการให้หายสนิท
จากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน ในบางสถาบัน จึงแนะนำให้ยาในกลุ่ม proton pump inhibitor เช่น omeprazole 20 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 2-3 เดือนแก่ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบหู คอ จมูก ที่สงสัยว่าจะเป็นจากภาวะกรดไหลย้อนก่อนการตรวจเพิ่มเติม ถ้าผู้ป่วยตอบสนองแสดงว่าอาการที่เกิดขึ้นน่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดไหลย้อนจริง สามารถให้ยาต่อจนครบตามที่กำหนดไว้ ส่วนในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา จึงแนะนำให้มาตรวจความเป็นกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง เพื่อดูว่าอาการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับภาวะกรดไหลย้อนหรือไม่ รวมทั้งระดับยาสามารถลด pH ในกระเพาะลงได้เพียงพอหรือไม่


กรดไหลย้อน อาการทางระบบหูคอจมูก อาการหอบหืด อาการแน่นหน้าอก อาการนอนกรน

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน