การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบแบบปฐมภูมิ

การป้องกันแบบนี้จะป้องกันมิให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก โดยจะเน้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง

  1. รักษาความดันโลหิตสสูงให้ดีและสม่ำเสมอโดยควบคุมระดับความดันโลหิตให้ถึงเป้าหมาย โดยให้ความดันโลหิตควรต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
  2. สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ โรคไตวายเรื้อรังควรจะควบคุมความดันโลหิตประมาณ 130/80 มม.ปรอท โดยการใช้ยา angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors หรือ angiotensin receptor blockers (ARBs)
  3. ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มไม่เกินวันละสองหน่วยสุรา อ่านที่นี่
  4. งดสูบบหรี่ เมื่อหยุดสูบบุหรี่ 1 ปี สามารถลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองลมากกว่าครึ่ง อ่านที่นี่
  5. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องคุมระดับน้ำตาลตอนเช้าให้ต่ำกว่า 140 มก./เดซิลิตร และน้ำตาลเฉลี่ยหรือสะสม (hemoglobin A1C : HbA1C) < 7 mg%
  6. คุมระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายซึ่งขึ้นกับโรคพื้นฐานของแต่ละคน อ่านที่นี่ โดยทั่วไปจะดูไขมันที่ไม่ดี (low dencity lipoprotein cholesterol : LDL-chol )ให้ต่ำลงถึงเป้าหมาย และระดับไขมันที่ดี(high dencity lipoprotein cholesterol : HDL-chol )ให้สูง ในผู้ชายควรสูงกว่า 40 มก./เดซิลิตร และในผู้หญิงควรสูงกว่า 50 มก./เดซิลิตร 
  7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อ่านที่นี่
  8. ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดัชนี้มวลกายไม่ให้เกิน 25 อ่านเรื่องอ้วนที่นี่ อ่านเรื่องดัชนีมวลกายที่นี่
  9. หากเป็นโรคหัวใจหรือลิ้นหัวใจผิดปกติ โดยเฉพาะในรายที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกตโดยเฉพาะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้ยาป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ 
  10. ควรให้แพทย์ตรวจดูหลอดเลือดที่คอเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในรายที่ทราบว่าเริ่มมีการตีบแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดหลอดเลือดสมอง 
  11. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อ่านที่นี่
  12. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หลอดเลือดขาตีบ กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นประมาณ 1.73 เท่าจึงต้องให้ยาต้านเกล็ดเลือดเช่น aspirin
  13. ผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดควรงดสูบบุหรี่
  14. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดเป็นระยะเวลานาน
  15. สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบและเกิดอาการ แนะนำให้ผ่าตัดเอาคราบออก Carotid endarterectomy

การป้องกัน

การป้องกันเป็นความสำคัญลำดับแรกของเราในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด ปัจจุบันนี้มียาสองชนิดที่สามารถป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดได้

กลับไปหน้าโรคหลอดเลือดสมอง | สาเหตุของโรคสมองขาดเลือด | อาการสมองขาดเลือด | การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด | การรักษาโรคสมองขาดเลือด | การป้องกันโรคสมองขาดเลือด | การดูแลหลังเกิดโรคสมองขาดเลือด

เพิ่มเพื่อน