หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ฟอสฟอรัสคืออะไร


ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน หน้าที่อื่นๆ เช่น กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปกติเมื่อฟอสฟอรัสเข้าสู่ร่างกาย ส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึม อีกส่วนหนึ่งที่เหลือในเลือดจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังประสิทธิภาพในการขับฟอสฟอรัส จะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือด  

อาหารและฟอสฟอรัสสำคัญอย่างไร

ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มักมีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง  ร่างกายจะรักษาระดับฟอสฟอรัสให้อยู่ในระดับปกติ โดยมีตัวช่วย คือ แคลเซียมและฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (เมื่อเกิดภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง จะกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์มากขึ้น เพื่อผลิตฮอร์โมนเร่งการสลายแคลเซียมในกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้กระดูกบาง) ฟอสฟอรัสที่สะสมมากน้อยมักขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคจากอาหารด้วย การควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการควบคุมอาหารร่วมกับการฟอกเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาหารที่มีฟอสเฟตสูง อยู่ที่ไหนบ้าง



หมายเหตุ เมื่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดอยู่ที่ 5.0- 5.4 mEq/L ต้องเริ่มระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เนื่องจากระดับฟอสฟอรัสจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

รู้ไว้ใช่ว่า